ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน..บนความขาดแคลน


บริหารความขาดแคลนอย่างพอเพียง

 

 

 

 

                                         2 

 

 

 

 

     หนังสือถอดบทเรียนเศรษฐกิจพอเพียง เล่มที่ ๑๒ เป็นของโรงเรียนร่มเกล้าปางตอง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งจัดทำโดย สรส.ด้วยความสนับสนุนของมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ของการเป็น โรงเรียนแห่งการพึ่งพาตนเอง เป็นที่บ่มเพาะต้นกล้าแห่งความพอเพียง ท่ามกลางทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ด้วยความเป็นอยู่ของชาวเขาตามแนวตะเข็บชายแดน ที่แตกต่างจากคนเมือง ทุกชีวิตที่เป็นเด็กชนเผ่าไทยปะปนไปกับเด็กชนเผ่าลีซอ กะเหรี่ยง มูเซอ เป็นต้น จึงต้องเรียนรู้ที่จะดูแลตนเอง รู้จักพอใจในสิ่งที่มีอยู่ และใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า....

       หลักคิดวิเคราะห์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนร่มเกล้าปางตอง ที่นำลงสู่การปฏิบัติจริงจนประสบความสำเร็จ เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในวิชา การงานอาชีพอีกแห่งหนึ่ง ที่เด็กๆสามารถนำไปเผยแพร่ต่อที่บ้าน ซึ่งมีอาชีพทำไร่ทำนา เป็นส่วนใหญ่ หรือนำความรู้ไปประกอบอาชีพต่อไป โดยไม่ต้องไปหางานทำในเมือง ซึ่งมีความยากลำบาก เพราะปัญหาทางสัญชาติและทะเบียนราษฎร์ สำหรับแนวปฏิบัติดังกล่าว อาจจำแนกให้เห็นเด่นชัด ดังนี้ 

 

            * พึ่งตนเอง..คาถาการบริหาร..โปรด อย่าเข้าใจผิดว่า การพึ่งตนเองคือไม่ต้องการพึ่งพารัฐ หรือไม่ต้องการความช่วยเหลือจากใครเลย ในความเป็นจริงคือ ต้องรู้จักเชื่อมประสานและเปิดรับความช่วยเหลือในลักษณะ การให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างสมเหตุสมผล เพื่อต่อยอดจากพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองที่ดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว คือการบริหารความขาดแคลนให้อยู่รอดได้ เช่น

 

                 โครงการเกษตรครบวงจร ..หนึ่งฐานชีวิตและการเรียนรู้  จากแนวคิดการพึ่งตนเองให้เกิดความพอมีพอกิน ด้วยความพอประมาณ คำนึงถึงความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัว โดยตระหนักถึงการพัฒนาอย่างเป็นลำดับขั้นตอนที่ใช้ความรู้ คู่คุณธรรมของ การสร้างความเพียรในการปฏิบัติเพื่อความมั่นคงของการดำรงชีวิต ได้ปรากฏให้เห็นเป็นผลงานด้านเกษตรอย่างครบวงจรของนักเรียนที่ กระจายภายในบริเวณโรงเรียน หน้าบ้านพัก หรือหน้าหอพัก ซึ่งก่อดอกออกผลใช้เป็นอาหารเลี้ยงตนเองอย่างอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งมีเหลือไปขายหารายได้ ในแนวทางของ โครงการธนาคารอาหารชุมชน ( Food Bank ) ที่ให้ความรู้แก่นักเรียน โดยจัดเป็น กลุ่มงานเกษตรกลาง ในการหมุนเวียนการฝึกงานและช่วยกันรับผิดชอบงานเกษตร ในช่วงก่อนเข้าเรียน ตั้งแต่เวลา ๖.๐๐-๗.๐๐น. ตลอดปีการศึกษา รวมทั้งในระยะปิดเทอมที่เด็กอาสาจะดำเนินการงานเกษตรในโครงการนี้ เพื่อหารายได้เสริมอีกด้วย กิจกรรมนี้ ได้แก่

 

                   --- กลุ่มแปลงเกษตรแบบขั้นบันได

 

                   --- กลุ่มฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หลากหลายประเภท เช่น ฟาร์มไก่บนบ่อปลา ฟาร์มหมูหลุม/หมูบ้าน ฟาร์มกระต่าย เป็นต้น

 

                   --- กลุ่มยุวหมอดิน ดูแลพัฒนาเรื่องดิน รวมถึงการทำปุ๋ยบำรุงดินตามรายวิชา โดยเฉพาะในบางฤดูกาล เช่น ฤดูฝน ที่ไม่สามารถปลูกพืชได้เลย เพราะมีปัญหาเรื่องความเข้มของแสง และรากเน่าเพราะฝนตกชุกเกินไป ทั้งนี้ได้รับความรู้และสนับสนุนจากโครงการปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาหน้าดินจากกรมพัฒนาที่ดิน

 

                   ---  กลุ่มยุวเกษตรกร ดูแลแปลงเกษตรรวมในช่วงเย็นหลังเลิกเรียน โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรพื้นที่สูง

 

                  ---- สหกรณ์รับซื้อผลผลิตทางเกษตร เพื่อจัดการเรื่องการจำหน่ายแก่สมาชิก และบริหารรายได้ และรณรงค์การออมทรัพย์ของสมาชิก

 

         * การแบ่งปันความรู้..ครู-นักเรียน นอกห้องเรียน ครูไม่ได้รู้ทุกอย่าง :

 

                ครูปุรเชษฐ์ มธุรส ครูสอนการงานอาชีพ เล่าว่า " เราไม่ใช่คนที่นี่ ความรู้บางอย่างได้จากนักเรียนที่เรียนรู้มาจากพ่อแม่ และชุมชน เช่น สมุนไพรบางอย่าง พืชผักแปลกๆ เมื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครูจะได้ความรู้เพิ่มขึ้น ส่วนนักเรียนก็ได้เนื้อหาสาระจากครู "

โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

http://www.scbfoundation.com/news_publish_detail.php?cat_id=6&nid=325

 

                                ----------------------------------

 

        

 

หมายเลขบันทึก: 247944เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2009 13:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ พี่นงนาท

ในแต่ละท้องถิ่น ก็จะมีการขาดแคลนไม่เหมือนกัน

สิ่งขาดแคลน  ก็เป็นประหนึ่ง วงจรขาดไป  เหมือน โซ่  ขาด ไป ค่ะ

ล้วนต้องอาศัยเวลา.....

ขอให้กำลังใจ  สู้ๆๆๆ  นะคะ  ถ้ารุ่นเก่าไม่ทัน ก็เป็นประโยชน์ สำหรับรุ่นใหม่ๆ ค่ะ  สำคัญที่ความต่อเนื่อง และ มุ่งมั่นพัฒนาสิ่งใหม่ๆ เติมเต็มสิ่งเก่าที่ยังขาดแคลนอยู่  แม้จะไม่ได้เดินทางด้วยวิธีเดิมๆ  เดินทางแบบใหม่ไหนๆ ด้วยใจ และปัญญา ก็แก้ปัญหาได้เหมือนกันค่ะ.....

 

*ขอบคุณน้องใบไม้ค่ะ...น้องๆโรงเรียนนี้ใจสู้เต็มร้อยค่ะ...

*ผอ.ธนา อ่อนเกิด เล่าว่า.." เจ้านายคนหนึ่งพูดว่า อย่าอ้างความขาดแคลนในการปฏิบัติหน้าที่ เพราะไม่มีที่ไหนสมบูรณ์แบบ..ทุกที่ขาดแคลนทั้งนั้น..แต่อยากเห็นคุณรู้จักแก้ปัญหาบนความขาดแคลนมากกว่า "...

                                nongnarts

ประทับใจความหมายของคาถาการบริหารนี้ค่ะ

พึ่งตนเอง..คาถาการบริหาร..รู้จักเชื่อมประสานและเปิดรับความช่วยเหลือในลักษณะ การให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างสมเหตุสมผล เพื่อต่อยอดจากพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองที่ดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว คือการบริหารความขาดแคลนให้อยู่รอดได้

ได้ข้อคิดหลังจากอ่านบันทึกนี้แล้วด้วยค่ะ ปรับสำหรับงานที่ทำอยู่ทุกวันนี้ คือ การแก้ตัวไม่ช่วยอะไร และเวลาก็สูญเสียไปทุกขณะ ลงมือทำเลยนั้นดีกว่า ทำผิดก็เป็นครู และทุกคนไม่ได้รู้ทั้งหมด ขอบพระคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะ..คุณดาวลูกไก่ที่เห็นประโยชน์..ขอให้กำลังใจนะคะ

                            nongnarts

สวัสดีค่ะคุณพี่

  • ถึงชาวบ้านจะช่วยตนเอง  พึ่งพาตนเองได้  แต่ก็ต้องมีหน่วยงานเข้าไปเจือจาน ช่วยเหลือ  เพื่อให้คนไทย  มีความสุขมากยิ่งขึ้น 
  • มีศักยภาพในการดำรงชีพ  ก็ต้องตั้งอยู่บนรากฐานของชีวิตที่สมบูรณ์แข็งแรงด้วย

ครูอ้อยเป็นกำลังใจให้คุณพี่ และคนไทยทุกคนค่ะ

ขอบคุณครูอ้อยนะคะ...คนไทยร่วมด้วยช่วยกันมีอยู่มากค่ะ..

                                nongnarts

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท