ศูนย์เรียนรู้ชาวดิน...รากฐานความเป็นมา...จนถึงวันนี้(๑)


เยาวชนในชุมชนได้ร่วมทำกิจกรรมดีๆ ที่เป็นการฝึกฝน พัฒนาตนเอง ให้เป็นคนดี มีสัมมาอาชีพ เลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้

                   

 

 

                                   20090601162058_135 

   

     สืบเนื่องจากเรื่องเล่าของน้องๆกล้าใหม่..ไฝ่รู้ ปี ๓ ที่นำประสบการณ์ที่ได้ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเยาวชนที่ศูนย์เรียนรู้ชาวดิน ที่ตำบลหว้าทอง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ ๒๕ -๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ 

       ผู้อ่านหลายท่านได้ แสดงความสนใจในความเป็นมาของศูนย์ชาวดินแห่งนี้ ดิฉันจึงขอสรุปเรื่องราว จากหนังสือเล่มเล็กแต่ชื่อยาว.. "เยาวชนคนรุ่นใหม่..เมล็ดพันธุ์แห่งการเรียนรู้ ผู้สืบทอดและสืบสานภูมิปัญญา วิถีชีวิตไทยไท" ที่แจกในงานเวทีระพีเสวนา เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๒ มาถ่ายทอด ดังนี้...

                     20090608181050_159

      ศูนย์เรียนรู้ชาวดิน กำเนิดมาจากลุงสำเนียง วงศ์พิมพ์ พระเอกหมอลำ แห่งบ้านโคกกลางของตำบลข้างต้น ซึ่งเป็นผู้มอบที่ดินประมาณ ๔ ไร่ บริเวณชายเขื่อนอุบลรัตน์ ให้เป็นพื้นที่เรียนรู้ และทำกิจกรรมร่วมกันของเยาวชนในชุมชน มาเป็นเวลากว่า ๓ ปีแล้ว

      ลุงสำเนียงเล่าว่า ไม่เพียงแต่มอบที่ดินให้เท่านั้น หากแต่เขายังทำหน้าที่เป็น "ครูเกษตร" สอนให้เยาวชนทำนา ปลูกผัก ขุดสระเลี้ยงปลา เพาะเห็ด เลี้ยงไก่ สร้างบ้านดิน และเป็น "พ่อบ้าน" คอยดูแลข้าวปลาอาหาร ความสะอาดเรียบร้อย ของศูนย์เรียนรู้ชาวดิน

          20090608181302_158

     นอกจากนั้น ลุงสำเนียงยังเป็น "ที่ปรึกษา" ของเยาวชนในอีกหลายๆเรื่อง โดยทั้งหมดนี้ เขาทำเพื่อให้เยาวชนในชุมชนได้ร่วมทำกิจกรรมดีๆ ที่เป็นการฝึกฝน พัฒนาตนเอง ให้เป็นคนดี มีสัมมาอาชีพ เลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้ บนฐานเกษตรกรรม ซึ่งสำหรับเขา คือ "ทุน" อันมีค่าของครอบครัวและชุมชน ที่สำคัญนั่นเอง 

    "ผมเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างศูนย์การเรียนรู้บ้านดิน จากการได้ไปเรียนรู้กับเสมสิกขาลัย และต่อมาได้นำกระบวนการเรียนรู้นั้น มาอบรมกับเยาวชน และได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่สวนลุงโชค เขาแผงม้า อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ที่นี่เขาทำเป็นศูนย์การเรียนรู้ เพื่อให้เยาวชนมาศึกษาหาความรู้เรื่องวนเกษตร ผมจึงเกิดความคิดว่า เราน่าจะนำมาทำบ้างเพื่อเยาวชนในหมู่บ้าน เพื่อให้ได้อ่านหนังสือ และเรียนรู้ด้านการปฏิบัติด้วยตนเอง"

         20090608181750_200

     ผ่านไป ๓ ปี ณ จุดเริ่มต้นของศูนย์เรียนรู้ชาวดิน ซึ่งมีแต่พื้นที่โล่งๆ ในวันนี้กลับกลายเป็นศูนย์เรียนรู้ที่มีชีวิต บ้านดินที่เกิดจากน้ำพักน้ำแรง และความเอื้อเฟื้อของผู้มีจิตอาสาทั้งหลาย ทำให้เด็กๆ ได้ใช้ที่นี่เป็นห้องสมุด และสถานที่ทำกิจกรรมร่วมกัน มีทั้งแปลงทดลองจากฝีมือปฏิบัติการของเด็กๆ และในปีนี้ได้ทดลองปลูกข้าวเป็นครั้งแรก เพื่อเก็บเกี่ยวผลได้ไว้กินในศูนย์ โดยไม่ต้องพึ่งพาข้าวจากลุงสำเนียงอีกต่อไป....

                  20090608182610_142

(โปรดติดตามตอน ๒ที่จะเป็นเรื่องบอกเล่าที่น่าสนใจของเด็กๆในศูนย์เรียนรู้ชาวดินค่ะ)

       

หมายเลขบันทึก: 266709เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2009 19:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

  • มีเรื่องดีๆ ในสังคมนี้อีกเยอะเลย ที่ไม่ได้เผนแพร่ออกสู่ภายนอก
  • จะตามอ่าน เล่ม 2 ครับ

 

810 

P ขอบคุณค่ะคุณหนุ่ม ร้อยเกาะ  ที่ให้ความสนใจเรื่องนี้ น้องๆกล้าใหม่.ไฝ่รู้ของเราประทับใจกับศูนย์เรียนรู้บ้านดินนี้มากเช่นกันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท