ข้อคิดในการทำวิจัยจากปัญหา..


การสนับสนุนในส่วนของ " แนวคิด" มีความสำคัญยิ่งกว่าการสนับสนุนงบประมาณ

                  

 

                     

 

 

       

  สืบเนื่องจากเรื่องเล่าในblogของดิฉันจากการประชุมระดมความเห็นแนวทางการทำวิจัย (RtoR)ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฏาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ..

    วันนี้ (๒๔ กค.) ดิฉันได้อ่านเอกสารข่าวโครงการผู้บริหารโรงเรียนทำวิจัย(ในพื้นที่ ๕ จังหวัด คือ นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล พัทลุง และ สงขลา) ฉบับที่ ๒ ประจำเดือนกรกฏาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ของ สกว. น่าสนใจอย่างยิ่ง ..อ่านแล้ว "โดนใจ" คนที่ต้องการชิ้นงานวิจัยเอาไปใช้ได้จริง..จึงขอนำข้อคิดเรื่องการทำวิจัยจากปัญหาที่ปรากฏในเอกสารนี้มาเล่าต่อค่ะ..

                               

     -- การบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อเป้าหมายการใช้ประโยชน์นั้น การสนับสนุนในส่วนของ " แนวคิด" มีความสำคัญยิ่งกว่าการสนับสนุนงบประมาณ หากแนวคิดไม่ถูกต้อง งบประมาณที่ให้ไปก็ได้ประโยชน์ไม่เต็มที่ คืออาจช่วยได้เพียงให้นักวิจัย "ฝึกทำวิจัย" อีกชิ้นหนึ่งเท่านั้น...

                                 

     --  เราเห็นได้ชัดจากงานวิจัยหลายชิ้นว่า นักวิจัยถนัดที่จะทำวิจัยแบบ  เอาเทคนิคนำทาง ( technique oriented ) คือใช้เทคนิคเป็นเครื่องมือ ( tool )

         งานประเภทนี้ มักจะปรากฏเป็นวิทยานิพนธ์ คือฝึกให้คนทำวิจัยเป็น..งานจึงซ้ำๆๆ ในวิธีเดิมๆๆ (ที่ตนเองหรือคนอื่นเคยทำไว้แล้ว เพียงแต่เปลี่ยนตัวอย่างไปเท่านั้น)...

         เหมือนคนมีค้อนแล้วไล่ตอกตะปูไปทุกที่ นานไปก็ตอกได้แม่น รู้น้ำหนักและจังหวะค้อน ที่จะทำให้ตะปูเข้าเนื้อไม้โดยไม่งอพับ คนที่ทำวิจัยแบบนี้จะเก่งในวิธีการ แต่เปลืองตะปูโดยไม่ได้เก้าอี้ที่อยากได้....

                                  

    ---  งานวิจัยที่จะใช้ประโยชน์ได้จริง ต้องมีเป้าหมายในการทำวิจัย เป้าหมายที่เห็นชัดเจนที่สุด คือการทำวิจัยแบบ "เอาปัญหาเป็นฐานความต้องการทำ" (problem based) และมีเป้าหมายให้ได้คำตอบ ( solution-targeted)..

       โจทย์วิจัยที่มีเจ้าของเป็นสิ่งที่มีบริบท คือ จะตอกตะปูก็รู้ว่ามีปัญหาจากการไม่มีเก้าอี้นั่ง ( problem)จึงตอกตะปู เพื่อให้ชิ้นไม้ยึดติดกันเป็นเก้าอี้ (solution)

        หากเราต้องการสร้างคนวิจัย ให้สอดคล้องกับความต้องการในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เราต้องสร้างคนวิจัยที่ผลิตผลงานที่ใช้การได้จริง เปรียบเทียบได้กับ ต้องสร้างช่างเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตเก้าอี้นั่งได้...

                                    

หมายเลขบันทึก: 279820เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2009 19:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ผมเห็นด้วยในกระบวนคิด กระบวนความในบันทึกนี้ทุกประเด็นครับ
ผมเองก็กำลังชวนทีมทำงานเปลี่ยนวิธีคิดเดิมๆ มาสู่การทำงานสู่การวิจัย
หลายอย่าง ให้นำปัญหามาเป็นตัวตั้งเพื่อนำไปสู่การค้นหาคำตอบ

โดยเฉพาะการลงพื้นที่ของนิสิตในแต่ละครั้งนั้นสำคัญมาก เพราะนั่นไม่ใช่แค่การเรียนรู้เท่านั้น แต่ยังหมายถึงการชวนให้ชาวบ้านได้ร่วมเรียนตัวเองไปในตัว

บางที เรื่องทักษะการลงพื้นที่จึงเป็นเรื่องใหญ่ที่ควรสอนสร้างให้เกิดขึ้นกับนิสิตมากที่สุดอีกด้วยเช่นกัน  เพราะผลึกความรู้ที่ได้รับจาการลงพื้นที่นั้น  จะเป็นกลไกสำคัญของการเป็นทุนในการใช้ชีวิตในสังคม

 ขอบคุณคุณแผ่นดินที่ร่วมให้ความเห็นที่มีคุณค่าค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • พยายามมาเรียนรู้
  • เพื่อนำไปพัฒนางานของครูบ้างค่ะ
  • ขอขอบพระคุณค่ะ

  ขอบคุณค่ะ ครูคิม..พี่จะมาเล่าอีก..พี่เรียนรู้ไปด้วยค่ะ..

สวัสดีค่ะ

  • ตอนนี้กำลังเขียนอยู่ ๓ เรื่องค่ะ
  • การจัดกิจกรรมนักเรียนจิตสาธารณะในโรงเรียน
  • การอบรมด้วยสื่อหนังสือสมบัติผู้ดี
  • กระบวนการใช้วินัยเชิงบวก
  • ไม่ทราบจะสำเร็จไหม  จะพยายามค่ะ
  • ส่วนเรื่องการเรียนรู้เป็นบันทึกสั้น ๆ ตามวิธีการที่มองเห็นว่านักเรียนเกิดคุณลักษณะ
  • ขอขอบพระคุณค่

 

ขอบคุณค่ะ ครูคิม ดีใจด้วยกับความตั้งใจ ขอให้สำเร็จค่ะ

สวัสดีครับคุณนงนาท

                อ่านแล้วเข้าใจมากขึ้นครับ...ทุกงานที่เราทำทุกวันสามารถทำวิจัยเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้ พัฒนาในงานได้

                                               ขอบคุณครับ

  • สวัสดีคะ
  • แวะมารับความรู้ดีๆ
  • เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูล
  • ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ นะเจ้าคะ

ขอบคุณค่ะคุณนายช่างใหญ่และคุณRattanaporn ที่มาเยี่ยมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ...ขอให้มีความสุขนะคะ...

สวัสดีค่ะ พี่นงนาจ

  • ขอบคุณค่ะที่ไปแนะนำบันทึกนี้ที่นี่
  • http://gotoknow.org/blog/jrpkpp
  • ขอบคุณค่ะ

ยินดีค่ะ ครูแป๋ม ที่เห็นประโยชน์...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท