หนุนโรงเรียนแกนนำเศรษฐกิจพอเพียงทำวิจัย...ขยายผลเด็กไทย "พอเพียง"


เติมเต็มทักษะ และความรู้ด้านการทำวิจัยเศรษฐกิจพอเพียงที่สอดคล้องกับหัวข้อการวิจัยของแต่ละโรงเรียนมากขึ้น

 

 

 

 

    มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)โดยโครงการพัฒนาเยาวชนตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง หนึ่งในภาคีขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงของกระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้การสนับสนุนสาขาประชากรศึกษา ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนการวิจัยในโรงเรียนขึ้นโดยมีผู้บริหารและครูแกนนำในสถานศึกษาพอเพียงในเครือข่าย ๑๗ แห่งเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้

 

           

   เป้าหมายการประชุมนี้ เพื่อให้ผู้บริหารและครูแกนนำขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนได้ใช้งานวิจัยเป็นเครื่องมือพัฒนาการทำงานและเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ...

 

                    

 

     รศ.ดร.เนาวรัตน์ พลายน้อย หัวหน้าภาควิชาศึกษาศาสตร์ และหัวหน้าคณะวิทยากรจัดกระบวนการเรียนรู้ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ว่า ...

 

   .. ให้ความรู้ คำปรึกษา ตลอดจนคำแนะนำเพื่อต่อยอดการทำวิจัยในขั้นตอนต่อไปแก่คณะครูพอเพียง

 

   .. เติมเต็มทักษะ และความรู้ด้านการทำวิจัยเศรษฐกิจพอเพียงที่สอดคล้องกับหัวข้อการวิจัยของแต่ละโรงเรียนมากขึ้น อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือวิจัย การวัดผลความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะ และพฤติกรรมด้านความพอเพียงในตัวนักเรียน วิธีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรตัวอย่าง

 

  .. ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการตั้งสมมติฐาน และที่ขาดไม่ได้คือเรื่องจริยธรรมของการวิจัยเพื่อให้ได้ผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์และมีคุณภาพ ฯลฯ

 

                     

 

     ภราดาประภาส ศรีเจริญ ผู้อำนวยการโรงเรียนลาซาลจันทบุรี หนึ่งในคณะวิจัยกล่าวว่า..

 

   .. ได้เลือกหัวข้อการวิจัย “บทบาทของครอบครัวในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนลาซาลจันทบุรี (มารดาพิทักษ์)”

 

  .. ผลที่คาดว่าจะได้รับจะทำให้ผู้บริหารและคณะครูพอเพียงโรงเรียนลาซาลจันทบุรี (มารดาพิทักษ์) ทราบถึงอิทธิพลของครอบครัวที่มีต่อการน้อมนำหลักปรัชญาฯ ไปใช้ในชีวิตของนักเรียน ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดการปรับกระบวนการขับเคลื่อนฯ ในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ

 

   ..“นักเรียนบางคนพ่อแม่มีเงินให้ แต่ไม่มีเวลาเลี้ยงดูเอาใจใส่ลูก ก็ให้ลูกมาอยู่หอพัก พอเด็กมาอยู่หอพัก พฤติกรรมเขาก็เปลี่ยน เที่ยวเตร่ ควบคุมตัวเองไม่ได้ มีผลกระทบต่อการเรียน ขาดเรียนบ่อย พอพบกับผู้ปกครอง พ่อแม่ก็แก้ตัวให้ลูก เพราะกลัวลูกจะโดนดุ ถูกครูทำโทษ และกลัวลูกโกรธ จากตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่าผู้ปกครองมีส่วนสำคัญต่อพฤติกรรมของลูกหลานมาก โรงเรียนจึงเห็นความสำคัญและอยากศึกษาเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งเพื่อนำผลที่ได้สะท้อนให้สังคมได้ตระหนักและร่วมกันแก้ไข”  


 

    .. การเข้าร่วมการทำวิจัยครั้งนี้มีประโยชน์ทำให้โรงเรียนลาซาลจันท์ฯ เกิดการรวมกลุ่มของครูที่สมัครเข้าร่วมการวิจัย โดยเป็นครูจากช่วงชั้นต่างๆ ทั้งแผนกปฐมวัย ประถม และมัธยมศึกษา อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

 

  .. คำแนะนำจากทีมงานวิทยากรยังทำให้โรงเรียนได้โจทย์การวิจัยที่แหลมคม ชัดเจน รัดกุม และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัยมากขึ้น ตนเองรู้สึกดีใจที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม และในฐานะที่เป็นผู้บริหารจึงให้การสนับสนุนเต็มที่ เพื่อให้เกิดงานวิจัยที่มีคุณภาพและขยายผลให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

                                 

 

        อาจารย์กัณพิมา เชื่อมชิต ผู้อำนวยการโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี หัวหน้าคณะวิจัย “ระดับการปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย” มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางหนุนเสริมให้นักเรียนที่มีความรู้ความเข้าใจแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงแล้วแต่ยังไม่น้อมนำไปปฏิบัติเกิดการตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แสดงความคิดเห็นว่า ...

 

   .. การมาร่วมการประชุมครั้งนี้ได้รับประโยชน์มาก เนื่องจากคณะวิทยากรให้ความรู้การวิจัยอย่างเจาะลึก ทำให้รู้จักการวิจัยมากขึ้น ซึ่งตรงกับความต้องการของโรงเรียนที่ต้องการทำการวิจัยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาอย่างเต็มความสามารถ แม้ในครั้งแรกนี้อาจจะไม่ใช่งานวิจัยที่สมบูรณ์แบบ แต่ก็ตั้งใจว่าจะทำให้ดียิ่งๆ ขึ้นในการวิจัยครั้งต่อๆ ไป

 

   .. “กับตัวเองแล้ว คาดหวังว่าการวิจัยครั้งนี้จะทำให้เราสามารถทำงานวิจัยได้ดีขึ้น เข้าใจงานวิจัยมากขึ้นกว่าที่เคยทำมา และน่าจะกลับไปต่อยอดทำงานวิจัยอื่นๆ มากขึ้น ทั้งการวิจัยเรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และอื่นๆ และจะยินดียิ่งขึ้นไปอีกหากผลวิจัยที่ได้จะเป็นประโยชน์แก่โรงเรียนอื่นๆ สามารถนำไปปรับใช้ได้ด้วย” 

 

                              

 

      อาจารย์ดุษิต พรหมชนะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการแผนกมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ได้ให้ความเห็นว่า

 

   .. เลือกทำวิจัย “การพัฒนารูปแบบกระบวนการคิดระดับสูงเพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยพอเพียงแก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่” ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเสาะหากระบวนการพัฒนาทักษะการคิดให้แก่นักเรียนให้เป็นผู้มีอุปนิสัยรู้คิด

 

 ..จากการที่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัยมีนโยบายส่งเสริมครูให้ทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอนในห้องเรียนมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ ทำให้มีความคุ้นชินกับการทำวิจัยมาระดับหนึ่ง ทว่ายังเป็นการวิจัยระดับเล็ก ไม่เน้นระเบียบวิธีวิจัยเคร่งครัดนัก การเข้าร่วมเวิร์คช็อปครั้งนี้จึงเป็นการนำร่องการวิจัยระดับที่ใหญ่และเน้นความถูกต้องมากขึ้น ทั้งยังทำให้ได้รู้จักกับเครื่องมือวิจัยใหม่ๆส่งผลทำให้การทำวิจัยของโรงเรียนมีคุณภาพมากขึ้น

 

                                  

 

          อาจารย์พัทธนันท์ นิลพัฒน์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งเกราะ จ.นครศรีธรรมราช ทำวิจัยในหัวข้อ “การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนในกิจกรรมการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาของโรงเรียนบ้านทุ่งเกราะ” เพื่อวิเคราะห์อุปสรรคปัญหา โอกาส และความต้องการของชุมชนในการขับเคลื่อนฯ แบบมีส่วนร่วมสะท้อนว่า

 

.. การมาร่วมประชุมนี้ทำให้ตนได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำวิจัยชัดเจนจากเดิมพอมีพื้นฐานมาบ้าง ถือเป็นโอกาสที่ดีเพราะปกติ ครูในสถานศึกษาจะมีโอกาสเติมเต็มความรู้ด้านการวิจัยน้อยมาก เมื่อมูลนิธิฯ จัดมีการทำวิจัยจึงตอบรับโดยไม่รีรอ



..“การเข้ามาร่วมกิจกรรมครั้งนี้เป็นเหมือนการมารับความรู้ ได้รับประสบการณ์และแนวคิดใหม่ๆ ถ้าเราไม่ได้มาตรงนี้ก็ยากที่จะมีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาให้คำแนะนำด้านการทำงานวิจัย มาแล้วตัวเราเองได้ประโยชน์ ทำงานวิจัยแล้วโรงเรียนก็ได้ประโยชน์

 .. ที่ดีใจมากๆ คือเราได้มาเติมเต็มความรู้ของเราให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น”

                              

 

       

   อาจารย์ชนันศิริ โคตรุฉิน รองผู้อำนวยการโรงเรียนโพนทองวิทยายน จ.ร้อยเอ็ด เลือกทำวิจัยในหัวข้อ “การประยุกต์ใช้หลักการและเครื่องมือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรสถานศึกษาในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษากรณีศึกษาโรงเรียนโพนทองวิทยายน อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด” วัตถุประสงค์เพื่อให้เห็นเครื่องมือการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการขับเคลื่อนความพอเพียง กล่าวว่า

 

 .. รู้สึกขอบคุณมูลนิธิฯ ที่ให้โอกาสโรงเรียนได้เข้าร่วมทำการวิจัยในครั้งนี้ ซึ่งมีคุณค่าเป็นการขยับขยายบทบาทของสถาบันโรงเรียนในฐานะผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยมาเป็นผู้สร้างผลิตงานวิจัยเองบ้าง

 

.. “ตลอด 2 วันนี้ทำให้คณะครูของเราได้รู้จักเครื่องมือวิจัยมากขึ้น และจากการที่ได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด ทำให้ตอนนี้สามารถกำหนดวิธีวิจัยตลอดจนเครื่องมือวิจัยได้แล้วกว่า ๙๐% เมื่อกลับไปถึงโรงเรียน เราก็จะเริ่มดำเนินการวิจัยได้ทันที”

 

  โดยอีกราว ๓ เดือนข้างหน้า จะมีการนำเสนองานวิจัยเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ เป็นงานวิจัยที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาต่างๆ ในภาพกว้าง เพื่อปลูกสำนึกความพอเพียงลงในเนื้อในตัวของเยาวชนไทยสมดังที่ภาครัฐมุ่งหวังต่อไป...

 

ที่มา: http://www.scbfoundation.com/news_info_detail_th.php?cat_id=1&nid=444

 

                     

คำสำคัญ (Tags): #ภราดาประภาส ศรีเจริญ ผู้อำนวยการโรงเรียนลาซาลจันทบุรี#มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)#รศ.ดร.เนาวรัตน์ พลายน้อย หัวหน้าภาควิชาศึกษาศาสตร์#สาขาประชากรศึกษา ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล#อาจารย์กัณพิมา เชื่อมชิต ผู้อำนวยการโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี#อาจารย์ชนันศิริ โคตรุฉิน รองผู้อำนวยการโรงเรียนโพนทองวิทยายน จ.ร้อยเอ็ด#อาจารย์ดุษิต พรหมชนะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการแผนกมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่#อาจารย์พัทธนันท์ นิลพัฒน์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งเกราะ จ.นครศรีธรรมราช#r2r#ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนการวิจัยในโรงเรียนแกนนำเศรษฐกิจพอเพียง
หมายเลขบันทึก: 339902เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2010 15:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักคิด หลักชีวิต คิดได้และทำเป็น ชีวิตก็จะมีความสมดุล ซึ่งให้ดอกผลเป็นความสุขครับ

น้องเซ้ง ขอบคุณมากค่ะที่มาให้ความเห็นดีๆในเรื่องคุณค่าของความสมดุล..ที่พี่ใหญ่เห็นๆน้องเซ้งทุกวันนี้ในการใช้ชีวิตในวิถีพอเพียง ก็แอบชื่นชมอยู่นะจ้า..(อิอิ..ปลื้มกันเองซะนี่)

 

                  

สวัสดี ครับ พี่ใหญ่

แทบทุกครั้งที่มาอ่านบันทึกของพี่ใหญ่ ก็จะได้อะไรกลับมาคิดต่อทุกครั้ง

ครั้งนี้ก็เช่นกัน

ขอบพระคุณ ครับ

คุณแสงแห่งความดี ขอบคุณมากค่ะที่มาให้กำลังใจพี่ใหญ่เสมอ ขอให้มีความธรรมสุขในวันมาฆะบูชานะคะ..

                         

ขอขอบคุณ นาง นงนาท สนธิสุวรรณ

 ที่เข้ามาเป็นกำลังใจให้

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

ว่างๆอย่าลืมเข้ามาทักทายอีกนะครับ

ขอบคุณครับ

ดีจังเลยครับ ครูจะได้ทำวิจัยโดยใช้บริบทของโรงเรียนเป็นฐาน ตอนนี้อยู่โรงเรียน ตชด ที่พิษณุโลกครับ มีอะไรพอช่วยได้เรื่องการวิจัยยินดีครับพี่ใหญ่...

ดีจัง....พอเพียงและเพียงพอ

*คุณพันผา ขอบคุณค่ะที่มาฝากภาพสวยๆ..ขอให้มีธรรมสุขในวันมาฆะบูชาค่ะ

*คุณย่า ขอบคุณมากค่ะที่แวะมาเยี่ยมโครงการของเราพร้อมภาพจัดโต๊ะด้วยผลไม้สวยงาม

 

 

 

*อ.ขจิต ขอบคุณค่ะที่แวะมาส่งข่าวไปกิจสังคมที่รร.ตชด.จ.พิษณุโลก..คอยอ่านเรื่องเล่าดีๆนะคะ..

..เรื่องงานวิจัย รร.เศรษฐกิจพอเพียงที่ อ.ขจิต สนใจถามถึงนั้น..ต่อจากครั้งนี้ ....จะมีการดำเนินการตามกำหนดการข้างล่างนี้ค่ะ..

 กำหนดการประชุมเพื่อพัฒนาศักยภาพการดำเนินการวิจัยของโรงเรียนในโครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนและชุมชนครั้งที่ 3

จัดโดยมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) และสาขาวิชาประชากรศึกษา ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 17-18 มีนาคม 2553

ณ โรงแรมที เค พาเลซ กรุงเทพฯ

วันที่ 17 มีนาคม 2553

08.30 – 09.00 . ลงทะเบียน – รับเอกสาร

09.00 – 09.15 . กิจกรรมเตรียมความพร้อม

09.15 – 09.45 . ทบทวนโครงการ เราทำอะไรที่ผ่านมา และจะดำเนินการสิ่งใดต่อจากนี้

(รศ.ดร.เนาวรัตน์ พลายน้อย)

09.45 – 10.30 . การวิเคราะห์และตีความข้อมูลงานวิจัยเชิงทดลอง

(ผศ.ดร.ธีรเดช ฉายอรุณ)

10.30 – 10.45 . พัก-อาหารว่าง

10.45 – 11.30 . การวิเคราะห์และตีความข้อมูลงานวิจัยเชิงปริมาณ

(ผศ.ดร.อุทัยทิพย์ เจี่ยวิวรรธน์กุล)

11.30-12.00 . การวิเคราะห์และตีความข้อมูลงานเชิงคุณภาพ

(ดร.สมศรี ศิริขวัญชัย)

12.00 – 13.00 . พัก-อาหารกลางวัน

13.00 – 16.00 . ฝึกปฏิบัติ (workshop) และแนะนำเป็นรายโรงเรียน

16.00 – 16.30 . สรุปองค์ความรู้ที่คาดว่าจะได้รับจากงานวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง (ดร.อริศรา เล็กสรรเสริญ)

(บริการอาหารว่างในที่ประชุม)

วันที่ 18 มีนาคม 2553

08.30 – 09.00 . ธุรการ – การเงิน

09.00 – 09.15 . กิจกรรมเตรียมความพร้อม

09.15 – 09.45 . ทบทวนการเขียนรายงานการวิจัย

(ดร.พรธิดา วิเศษศิลปานนท์)

09.45 – 10.30 . การเขียนบทคัดย่อ บทสรุปสำหรับผู้บริหาร การอ้างอิงบรรณานุกรม(รศ.ดร.ประภาพรรณ อุ่นอบ)

10.30 – 10.45 . พัก-อาหารว่าง

10.45 – 11.15 . การเผยแพร่ใช้ประโยชน์จากการวิจัย และจรรยาบรรณในการวิจัย

(รศ.ดร.ศุภวัลย์ พลายน้อย)

11.15 – 12.00 . ฝึกปฏิบัติ (workshop) และแนะนำเป็นรายโรงเรียน

12.00 – 13.00 . พัก-อาหารกลางวัน

13.00 – 15.00 . ฝึกปฏิบัติ (workshop) และแนะนำเป็นรายโรงเรียน (ต่อ)

(บริการอาหารว่างในห้องประชุม)

15.00 – 15.30 . โรงเรียนนำเสนอประเด็นการทำวิจัยต่อเนื่อง
15.30 – 16.30
. สรุปการประชุม

นัดแนะสืบเนื่อง

ประเมินผลการประชุม

ปิดการประชุมและเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

                     

สวัสดีค่ะพี่ใหญ่

มาชมกิจกรรมดี ๆ ค่ะ

ขอบคุณพี่ใหญ่นะคะ

(^___^)

คุณคนไม่มีราก ขอบคุณมากค่ะที่แวะมาเยี่ยมโครงการวิจัยของเรา ขอให้มีธรรมสุขในวันมาฆะบูชานะคะ..

               

ขอบคุณครับกับการเยี่ยมชม

สำหรับกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่สามารถสเรียนสะท้อนปัญหาในด้านสังคม ความเป็นอยู่ที่เกิดขึ้น เรื่องหนึ่งที่น่าสนใจกับปัญหาเด็กนักเรียนทุกวัน กับสื่อ และอย่างควรมองที่ครูด้วยครับอย่างให้ได้มองเห็นว่าเทคโนโลยีที่ก้าวไปไกล ครูต้องขยับไปตามให้ทันเด็ก ทันเทคโนโลยี เพื่อจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันและแก้ปัญหาต่างๆได้พร้อมกันครับ

คุณทางสายใหม่ ขอบคุณมากค่ะที่มาให้ข้อคิดดีๆในเรื่องการพัฒนาครูให้ก้าวทันเทคโนโลยี่ เพื่อปรับใช้ในการการเรียนการสอนแก่เยาวชน ให้เกิดประสิทธิภาพ เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ..

                 

มาชม

เดินหน้าทำดีกันต่อไปนะครับผม...

เห็นภาพกิจกรรมทำดีมีสาระน่าสนใจครับ...

อ.Umi ขอบคุณมากค่ะที่มาสนับสนุนโครงการวิจัยของเรา จะได้นำมาเล่าอย่างต่อเนื่องนะคะ..

 

 

                     

เรื่อง "วิจัย" นี่ จะว่าไม่ยาก ก็ไม่ยาก
จะว่ายาก ก็ยังยาก ๆ อยู่นะครับ

คุณเอกชัย กศน.ผักไห่ ขอบคุณที่ให้ความสนใจค่ะ เท่าที่ได้รับทราบมา..งานวิจัยนั้น..ความยากน่าจะอยู่ที่ผู้วิจัย ต้องเข้าใจปัญหาที่ตนเองต้องการพัฒนาให้ชัดเจน เปรียบเหมือนหมอรักษาคนไข้ ก่อนให้ยาต้องรู้สมุหฐานของโรคให้กระจ่างแจ้ง.. ส่วนกระบวนการวิจัยนั้น น่าจะเรียนรู้กันได้ในเชิงวิชาการ เพื่อนำผลวิจัยไปพัฒนางานในเชิงประจักษ์ต่อไป..

 

                     

๘๐ พรรษามหาราช ผมตั้งใจทำโครงการ ปิดทองหลังพระ ทำความดีถวายพ่อหลวง

แต่หลวงพี่ถามว่า คุณเป็นใคร มาจากหน่วยงานใหน มีเงินมาเท่าไร ชาวบ้านเขาไม่เอาด้วยหรอก

ขอบคุณท่านมากนะครับที่ช่วยเตือนสติ

เพราะเรามันก็แค่คนมีใจ แต่ไร้เงิน

ก็ยังทำโครงการต่อครับ

คุณขอทานน้อย ขอบคุณค่ะที่แวะมาอ่าน ..ขอให้กำลังใจในการทำความดีที่ไม่เอาหน้า..สังคมจะดีได้ก็เพราะคนมีจิตอาสาที่เข้มแข็งเช่นคุณนะคะ..

              

  • เยี่ยมมากๆค่ะ
  • ขอสนับสนุน
  • ในการทำวิจัย
  • เพื่อพัฒนาคน
  • พัฒนางานค่ะ.

ครูแป๋ม ขอบคุณค่ะที่แวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยของครูเพื่อพัฒนางานค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท