First Line Health Services


First Line Health Services

ระบบบริการสาธารณสุข First Line Health Services ที่ประเทศเบลเบียม พ.ศ.2540

First line Health Services

กย.2540- มิย.2541 ได้รับทุนค่าเดินทางและที่พักจาก European Union (EU)
และ Health Care Reform Project (45%)
รับทุนค่า Tuition Fee (45%) จากมหาวิทยาลัยนเรศวร
และเงินทุนค่าซื้อตำราเรียน (10%) จาก รพ.พุทธชินราช
ทั้งโครงการต่อ 1 คน ใช้เงินประมาณ 880,000 บาท

แพทย์จากไทยไปเรียน International Course in Health Development (ICHD)
จากจังหวัดต่างๆ รวม 4 คน
ซึ่งถ้า Thesis ผ่าน ก็จะได้ปริญญาโท คือ M.P.H. ด้วย
แต่ถ้าสอบ Thesis ไม่ผ่าน จะใช้คำว่า Certificate of Attendance
ทั้งรุ่นมีนักเรียน 40 คน แยกเป็น 2 ห้องเรียนห้องละ 20 คน (East wing, West Wing )
วิชาเดียวกันอาจารย์ต้องสอน 2 รอบ เพื่อให้นักเรียนได้พูดแสดงความคิดเห็นได้ทั่วถึง

ระบบสาธารณสุขแบบ America
Health เป็นเรื่องของแต่ละคน
ให้เลือกประกันสุขภาพโดยเสรี
แม้ว่าจะไม่มีงานทำรัฐก็จ่ายเงินให้เพียงพอ
ที่จะนำไปจ่ายประกันสุขภาพ

ระบบสาธารณสุขแบบ Europe
Health เป็น Public Goods มี Market Failure in Health
จึงใช้กลไกตลาด (Market mechanism) ไม่ได้
รัฐจึงต้องดูแลจัดการ

อ่านเรื่อง ICHD (Internationnal Coarse in Health Development) ที่ http://gotoknow.org/blog/nopadol/199890

ICHD รุ่นที่ นพ.นภดล สุชาติ ไปเรียน เป็นรุ่นที่ 34 (ตุลาคม 2540- มิถุนายน 2541)
หลักสูตร ICHD จะสอนภาษาอังกฤษ 1 ปี สลับกับภาษาฝรั่งเศส 1 ปี
ประเทศไทยส่งไปแพทย์ไปเรียนปีละ 2-4 คนไป โดยไปเรียนรุ่นที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ

(จะเป็นปีที่มี โอลิมปิกหรือปีที่มีฟุตบอลโลก
ปีที่ผมไปมีฟตบอลโลกเดือนมิถุนายน 2541
ถ่ายทอดสดประมาณบ่าย 2 โมง ไม่ต้องอดนอนคอยดู)

ตอนนั้นส่ง Thesis แล้ว
เรื่อง A proposal to strenghten the urban health centre; Phitsanulok Province, Thailand

โครงการ Health Care Reform ต้องการให้มีแพทย์ รู้เรื่องระบบสาธารณสุขให้มากพอ
เรียกว่า “Critical Mass” แล้วจึงจะเปลี่ยนแปลงระบบสุขภาพ ไม่ใช่การ ”พัฒนาระบบสาธารณสุข”
แต่เป็น “จัดระบบใหม่” (Health Care Reform)
จังหวัดพิษณุโลกส่ง นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ ไปเรียน ICHD รุ่น 32
และ นพ.พินิจ ฟ้าอำนวยผล ไปเรียน ICHD รุ่น 36

Pre test ก่อนเริ่มเรียน

ถาม ถ้าท่านมี Health Team 40 คนท่านจะไม่ตั้งสถานบริการการแพทย์ 1 แห่ง
เพื่อดูแลผู้ป่วย แต่จะไปตั้งสถานบริการอยู่ใกล้บ้านผู้ป่วย ทีมละ 4 คน จำนวน 10 ทีม
(Yes, No, I don’t know) ถ้าตอบ No หรือ I don’t know หรือ จะไม่ได้คะแนน

คือต้องการให้สร้าง PCU ใกล้บ้านผู้ป่วย ให้มีแพทย์ Primary Care ด้วย
(ใกล้บ้านใกล้ใจ) ไม่ใช่มีแต่โรงพยาบาลขนาดใหญ่อย่างเดียว
เช่น การสร้างโรงพยาบาล Victoria เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ใน อาฟริกา
โดยที่ไม่มี PCU คนไข้จึงล้นโรงพยาบาล

First line Health Services

Quality of Services

  1. Decentralization = (Deconcentration, Devolution, Delegation)
  2. Polyvalent = จำนวนคนทำงานน้อยแต่ทำงานได้หลายหน้าที่ ทดแทนกันได้
  3. Permanent = เปิดทำงานอย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ ไม่ใช่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่

(Concept ของอเมริกาไม่ใช่ Polyvalent แต่เป็น Multi Disciplinary Team
เช่น มีแพทย์ มีนักโภชนากร มีเภสัช สังคมสงเคราะห์ นักกายภาพบำบัด)

Quality of Care

แบงเป็น Technical กับ Functional

Technical = มี CT, MRI
Functional = Holistic, Integrated, และ Continuous
(ของ Primary Care) มีได้หลายอย่างแต่อย่างน้อยต้องมี 3 อย่างนี้

  1. Holistic (มี Empathy)
  2. Integrated (ป้องกัน ส่งเสริม รักษา ฟื้นฟู ที่เดียวกันทำไปพร้อมๆกัน)
  3. Continuous (Intra episode, Inter Episode)

First Line Health Services

มีบุคลากร 3 คน แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่หน้าห้องตรวจ
ไม่มีเภสัชกรเพราะ ผู้ป่วยต้องไปรับยาที่ร้านเภสัชกร (Chemist)
ซึ่งจะตั้งร้านห่างออกไปไม่เกิน 50 เมตร
ไม่มีทำฟันเพราะทันตแพทย์จะเปิดร้านต่างหาก

แพทย์ตรวจคนไข้ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที วันละประมาณ 15 คน
ค่าตรวจโรค 600 BEF (600 บาท) ไม่รวมค่ายา
แต่ผู้ป่วยจะไปเบิกคืนจากเทศบาลได้ 480 ฺBEF (480 บาท)
(มีระบบ Co-Payment)

ถ้าแพทย์ไปเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน ค่าตรวจโรค 700 BEF
ผู้ป่วยเบิกคืนจากเทศบาลได้ 480 ฺBEF
(ซึ่งเทศบาลก็จะมาเก็บภาษีที่แพทย์ ค่าภาษีประมาณ 50% ของเงินได้)

ผู้ป่วยไปรับยาที่ร้านเภสัช ต้องจ่ายค่ายาต่างหาก แต่ค่ายาจะไม่แพง
เพราะรัฐจะสนับสนุนให้ยาที่จำเป็นมีราคาไม่แพง
เภสัชจะบันทึกรายการยาที่แพทย์สั่ง ส่งไปที่สมาคมเภสัช
ซึ่งจะส่งข้อมูลให้สมาคมแพทย์อีกทีหนึ่ง

แพทยที่ FLHS เป็นแพทย์เอกชน และไม่ได้ทำงานใน รพ.ของรัฐ เปิดคลินิกเช้าถึงเย็น
ไม่มีเงินเดือนจากรัฐบาล ค่าเช่าอาคาร ค่าจ้างผู้ช่วย ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า แพทย์เป็นผู้จ่าย

การประเมินศูนย์สุขภาพชุมชนในประเทศเบลเยี่ยม

วารสารวิชาการสาธารณสุข

Volume: 12 Number: 2 ประจำเดือน มีนาคม - เมษายน 2546
Title(Thai): การประเมินศูนย์สุขภาพชุมชนในประเทศเบลเยี่ยม
Author: นภดล สุชาติ

Download ได้จาก

http://somed1.tripod.com/gp/miscellary1.pdf

อ่านเพิ่มเติมที่

http://somed1.tripod.com/gp/

คำสำคัญ (Tags): #first line health services
หมายเลขบันทึก: 199690เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2008 09:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2015 11:03 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท