การสาธารณสุขเขตเมือง


การสาธารณสุขเขตเมือง

การสาธารณสุขเขตเมือง

อ.เมือง จ.พิษณุโลก ประชากร พื้นที่ ประชากรต่อตารางกิโลเมตร จำนวน PCU ประชากรต่อ 1 PCU
เขตเทศบาล 90,386 18.6 4,950 4 22,000
นอกเขตเทศบาล 174,815 758.8 230 25 7,000

ทั้งเขตเทศบาลนครพิษณุโลก มี 50-60 ชุมชน แต่ขอบเขตครอบคลุมไม่ครบทั้งพื้นที่ เหมือน สอ.นอกเขตเทศบาล พื้นที่ที่เป็นชุมชนแล้วจะมี อสม. แต่บางพื้นที่ของเทศบาลยังไม่ได้จัดตั้งเป็นชุมชน จึงไม่มี อสม  ไม่มีข้อมูลประชากรที่จะได้ครบ เหมือนกับ สอ.นอกเขตเทศบาล ซึ่งได้ข้อมูลจากการเดินสำรวจ
คำว่า "ชุมชน" ไม่ได้มีอาคารที่ตั้งเหมือน สถานีอนามัย ไม่มีคนทำงานอยู่ประจำ ไม่มีคอมพิวเตอร์และ และ Internet เทศบาลอาจ มีข้อมูลประชากรย้ายมาเรียนหนังสือ แต่ประชากรเคลื่อนย้ายบอย บ้านเช่า เปลี่ยนผู้มาเช่าอยู่เสมอๆ ข้อมูลในบ้านเช่าหรือหอพักของนิสิต ชื่อผู้อยู่อาศัย บางที 2-3 เดือนก็เปลี่ยนเป็นคนใหม่แล้ว บางบ้านไม่มีคนอยู่ ที่ต่างกับชนบทคือแต่ละบ้านไม่รู้จักกัน

1 PCU ของเทศบาลมีประชากร มากกว่า 22,000 คน ยุค HFA 2543 จึงแบ่ง คปสอ.อำเภอเมือง เป็น 2 ชุด คือ ในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล ซึ่งตัวชี้วัดจะไม่เหมือนกัน

การพัฒนาระบบการแพทย์การสาธารณสุข จึงควรเป็นแบบ Public Private Mix

เช่น ผู้มีสิทธิประกันสังคมสามารถไปตรวจรักษาที่คลินิกเครือข่ายของ รพ.พุทธชินราชได้

เทศบาลนครพิษณุโลก และกลุ่มงานเวชกรรมสังคม 

โดย นพ.นภดล  สุชาติ รพ.พุทธชินราช

จ.พิษณุโลก เป็นจังหวัดแรกที่เทศบาลเป็นคู่สัญญากับ สปสช.
และนำงบประมาณของท้องถิ่นมาใช้สนับสนุนด้านสาธารณสุข

การจัดสรรเงิน

ประชาชนต้องการไปรักษาที่ รพ.พุทธชินราช หรือ โรงพยาบาลม.นเรศวร หรือ PCU ของเทศบาล ไม่ได้จำกัดสิทธิ เทศบาลจะตามจ่ายเงิน เทศบาลโอนเงินที่ได้จาก สปสช ให้ รพ.พุทธชินราช ซึ่งใช้เงินประมาณ 90% ของเงินที่ได้รับจัดสรร อีก 10% เป็นบริการ Primary Care ที่เทศบาลจัดบริการ เทศบาลจึงเป็นผู้ทำเรื่องเบิกเงินจาก รพ.พุทธชินราช แทน โดยวิธีเหมาจ่ายรายครั้ง

ที่ตั้ง

ริมน้ำน่านฝั่งตะวันตก

พื้นที่รับผิดชอบ

ฝั่งแม่น้ำด้านทิศตะวันตก ประมาณ 5.21 ต.ร.ก.ม.

ประชากร 17,799 คน
ครอบครัว 4,128  ครัวเรือน
ชุมชน 14 ชุมชน

ทีมสุขภาพ

นายแพทย์  1  คน
พยาบาลวิชาชีพ  3  คน
พยาบาลเทคนิค 1 คน
ทันตาภิบาล  1 คน
ธุรการ/บัญชี 2 คน

อสม. 112 คน

วิธีจัดบริการ

แพทย์จากกลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ.พุทธชินราช
ไปตรวจคนไข้ ที่ PCU ประชาอุทิศ ตั้งแต่ 2541 จนถึงปัจจุบัน 2551

ค่ารักษาที่ได้จาก สปสช ไม่พอ เทศบาลจึงจัดงบเพิ่มให้อีก
(50 ล้านบาท สำหรับ 4 PCU ในช่วงเวลาประมาณ 2-3 ปี)

ส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู

ทำ Pap Smear โดยแจกคูปองให้กลุ่มเป้าหมายไปตรวจที่คลินิกเอกชน
ฉีดวัคซีนเด็กนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล
ฉีดวัคซีนเด็กที่ PCU
ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
ตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง
ตรวจคัดกรองโรคไขมันในเลือดสูง
โรคท้องเดิน
โรคระบบหายใจ
โรคอื่นๆ
อาหารปลอดภ้ย
เต้นแอโรบิก ริมแม่น้ำน่าน

ประวัติ

PCU ประชาอุทิศ เป็น PCU แห่งแรก ในเขตเมือง ของเทศบาลนครพิษณุโลก สร้างด้วยงบประมาณของกระทรวงมหาดไทย เริ่มวางแผนก่อสร้าง เมือปี 2536
มีข้อตกลงระหว่างกระทรวงมหาดไทยและกระสรวงสาธารณสุข ประชุมที่ กาญจนบุรี
กำหนดให้กลุ่มงานเวชกรรมสังคม สนับสนุนงานสาธารณสุขเขตเมือง 
มีจังหวัดต้นแบบประมาณ 10 จังหวัด

นพ.นภดล สุชาติ หัวหน้ากลุมงานเวชกรรมสังคม รพ.พุทธชินราช 2536 ได้เสนอให้ใช้แบบแปลนของสถานีอนามัยขนาดใหญ่ ของกระทรวงสาธารณสุข

เมื่อสร้างเสร็จแล้ว เทศบาลได้มีแพทย์ประจำสังกัดเทศบาล (คือ นพ.วิสุทธ์ ล้ำเลิศธน 2537-2540)
หลังจากนั้นแพทย์ของเทศบาลไปเรียนต่อเป็นแพทย์เฉพาะทาง อายุรศาสตร์ โรคมะเร็ง โรคเลือด

นพ.นภดล สุชาติ หัวหน้ากลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ.พุทธชินราช
ซึ่งสอบ อว.เป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว จึงเป็นแพทย์ Primary Care
ของ PCU ประชาอุทิศ ตั้งแต่ 2541 จนถึงปัจจุบัน 2551

นิสิตแพทย์ ม.นเรศวรและ รพ.พุทธชินราช ไปดูงาน เทศบาล
และ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลพันปี  (PCU พันปี) พ.ศ.2550
ซึ่งได้กำหนดให้ศึกษาดูงานเรื่องต่างๆ คือ

1 ประวัติ 2 วิสัยทัศน์ 3 พันธกิจ 4 การแบ่งสายงาน
5 วิธีดำเนินงาน 6 ผลการดำเนินงาน
7 ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข 8 แนวโน้มในอนาคต
(บรรยายโดย นพ.สุธี ฮั่นตระกูล เทศมนตรีฝ่ายสาธารณสุข เทศบาลนคร พิษณุโลก)

ปัญหา
งบประมาณที่เทศบาลนครพิษณุโลก ได้รับการจัดสรรจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ถูกหักค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรร้อยละ 40.50  ด้วยความเข้าใจที่ว่า ท้องถิ่นเป็นหน่วยงานภาครัฐ
แนวทางการแก้ไข  
การจัดสรรงบประมาณจึงไม่ควรหักค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร เหมือนหน่วยงานภาครัฐอื่น เพื่อที่จะให้ท้องถิ่นสามารถ จัดการบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ปัญหา
ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรของท้องถิ่นถูกกำหนดให้ไม่เกินร้อยละ 40 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี
แนวทางการแก้ไข  
หากมีการถ่ายโอนภารกิจ และกำหนดให้งบประมาณจัดสรรนำมาคิดรวมกับ
งบประมาณรายจ่ายประจำ จะทำให้ท้องถิ่นมี ความคล่องตัวในการดำเนินงานมากยิ่งขึ้น

อ่านเพิ่มเติมที่

เพราะสาเหตุอะไรจึงสนใจเวชศาสตร์ครอบครัว 

http://somed1.tripod.com/gp/

 

 

แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กับการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน 

การประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ แห่งชาติ ครั้งที่  6 โรงแรมมณเทียร ริเวอร์ไซด์ 26 มิย. 2552

นพ.อมร นนทสุต

http://gotoknow.org/blog/nopadol/271179

หมายเลขบันทึก: 199696เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2008 09:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

http://www.itg.be/internet/courses0809/cips2008.pdf

M691. Suchat, Nopadol: A proposal to strenghten the urban health centre; Phitsanulok Province,

Thailand. 32 pp. (1998, 37E/B)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท