ประชุมวิชาการประจำปีเพื่อพัฒนางานเวชกรรมสังคม 2552


ประชุมวิชาการประจำปีเพื่อพัฒนางานเวชกรรมสังคม 2552

 

ประชุมวิชาการประจำปีเพื่อพัฒนางานเวชกรรมสังคม 2552
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
วันที่ 3-4 สิงหาคม 2552 โรงแรมมารวย กทม. 
 
ตอนสาย นายแพทย์ประทีป ธนกิจเจริญ สปสช
เสนอความคาดหวังต่องานเวชกรรมสังคม


1) ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
2) ระบบบริการด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์
3) ระบบสุขภาพชุมชน
4) ระบบบริการปฐมภูมิ
5) ระบบบริการผู้ป่วย DM/HT
6) ระบบบริการผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

 

ตอนบ่าย วรัตดา ภัทโรดม (คุณเหมียว) ไขสมการความสุข
จากที่เคย โกรธง่าย ท้าทาย ดื่มไวน์ ซื้อของ Brand Name
เงินเดือนหลายแสนบาท หลังจากที่ลองปฏิบัติธรรม ฝึกความคิด
เสนอว่าถ้าชาติหน้ามีจริงหรืออาจไม่มีจริง ถ้าคิดดีทำดีไว้ก่อนจะดีกว่าหรือไม่ 
เช่น ให้ทาน ช่วยเหลือผู้อื่น จะเป็นการจัดการที่ดีกว่าหรือไม่ และอื่นๆ อีกมาก

 

ตอนค่ำ  งานมุทิตาจิตผู้ที่จะเกษียณอายุตุลาคมปีนี้ จำนวน 12 ท่าน

 

 

ทีมกลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ.พุทธชินราช พิษณุโลก

คุณฐานา ธรรมคุณ จะนำเสนองานวิจัยเรื่อง ระบบ Refer ในระดับจังหวัด
ซึ่งกลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ.พุทธชินราช ได้เริ่มดำเนินการ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2550
โดยประสานกับ OPD, ER,  57 หอผู้ป่วย กลุ่มการพยาบาล

http://office.budhosp.go.th/refer/
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แบบ Webbased โดยศูนย์คอมพิวเตอร์ รพ.พุทธชินราช

Linkto: โครงสร้างใหม่กลุ่มงานเวชกรรมสังคม ที่กระทรวงได้เสนอไปและตอบกลับมาจาก กพ.
http://somed1.tripod.com

Linkto: Blog Nopadol

http://gotoknow.org/blog/nopadol

 

Linkto: Blog Epistat

http://gotoknow.org/blog/epistat

หมายเลขบันทึก: 282773เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2009 22:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ตามมาดูท่านอาจารย์หมอ มี slide humanized HC ใหม ท่าน

 

ขอบคุณครับ ท่านอาจารย์ JJ

ในการประชุมครั้งนี้ ชมรมเวชกรรมสังคม ได้เรียนเชิญ ท่านรัฐมนตรี ท่านปลัดกระทรวง

ชมรมเวชกรรมสังคม อยากทราบว่าภาคีเครือข่าย มีความคาดหวังว่า กลุ่มงานเวชกรรมสังคมน่าจะทำงานอะไร ทำได้ตรงกันแล้วหรือไม่

นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช.  นพ.เกษม เวชสุทธานนท์ สำนักงานบรหารการพัฒนาพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ นายสินธพ อินทวัฒน์ นายก อบต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ่ สงขลา  โดยผู้ดำเนินคือ นพ.จรัญ บุญฤทธิการ ผอก. รพ.ตราด ซึ่งเดิมเคยทำงานเวชกรรมสังคม ของ รพ.สระแก้ว ซึ่งได้พูดถึงว่า ท่านปลัดกระทรวงก็ได้เคยทำงานในกลุ่มงานเวชกรรมสังคม

จึงไม่ได้พูดลงในรายละเอียดของ Humanized Health Care มากนัก

 

============================================


ส่วนอันนี้ก็คือ
Humanized HC ของ
นายแพทย์ประเสริฐ  ผลิตผลการพิมพ์
Linkto:
http://gotoknow.org/blog/spiritualhealth/205584


โรงพยาบาลส่วนใหญ่ที่ดำเนินงานพัฒนาคุณภาพด้วยระบบ
Hospital Accreditation: HA ของ พรพ.ได้กำหนดให้การดูแลผู้ป่วยครบองค์รวมหรือที่เรียกว่า Holistic Care เป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์หรือพันธกิจหรือมาตรฐาน เมื่อโรงพยาบาลต่างๆได้ดำเนินงานพัฒนาคุณภาพไปแล้วระดับหนึ่ง   มีความสามารถที่จะประเมินและให้การดูแลผู้ป่วยด้านร่างกาย   จิตใจ และสังคมอย่างดีแล้ว   จึงพบว่าเริ่มติดขัดที่การประเมินและดูแลผู้ป่วยด้านจิตวิญญาณ  ดังที่เรียกว่า Spiritual Careนำไปสู่คำถามที่ว่า Holistic Care คืออะไร ...

เมื่อคนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจคำว่า Holistic Care จึงปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยครบองค์รวมไม่ได้   นายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ(สวสส.) ได้บัญญัติคำศัพท์ใหม่คือ Humanized Health Care หรือการแพทย์ที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์   .นพ.ประเวศ วะสี ได้ช่วยขยายความและปาฐกถาในหลายโอกาสและสถานที่ รวมทั้งผลักดันให้เครือข่ายสุขภาพขับเคลื่อนการแพทย์ที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์อย่างคึกคัก นำไปสู่คำถามว่าการแพทย์ที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์คืออะไร  รวมทั้ง Humanized Health Care แตกต่างจาก Holistic Care อย่างไรเป็นคำถามที่ผู้คนในระบบสุขภาพสามารถช่วยกันหาคำตอบได้ 

          Humanized Health Care ควรมีองค์ประกอบอย่างนอย 3 ข้อ ข้อแรกคือ ความสามารถในการมองเห็นองค์รวม   ข้อสองคือความสามารถในการมองเห็นมนุษย์ และข้อสามคือความสามารถในการมองเห็นความทุกข์ 

....     
คำศัพท์เช่น Humanized Health Care ช่วยให้เราเข้าใจ Holistic Care มากยิ่งขึ้น เห็นความสำคัญของสิ่งที่เรียกว่าองค์รวม เห็นความสำคัญของการมองผู้ป่วยเป็นคนทั้งคน   และเห็นความสำคัญของความสามารถที่จะสัมผัสทุกข์ผู้ป่วยรวมทั้งคิดเรื่องบำบัดทุกข์ผู้ป่วย


============================================         

 

สรุปว่า
Humanized Health Care = Holistic + มองเห็นมนุษย์ +มองเห็นความทุกข์

1) Holistic นพ.โกมาตร ยกตัวอย่างว่า  ดอกไม้ ประกอบด้วบ ก้านดอก กลีบดอก เกษร ... ถ้าแยกส่วนความสวยงามจะหายไป เมือรวมกันท้งหมดจึงมีความสวยงามเพิ่มมาอีกอย่างด้วย


2) มองเห็นมนุษย์  ถ้ายังไม่เห็น เช่น แพทย์ตั้งใจจะฟังเสียงหัวใจผู้ป่วย แต่ผู้ป่วยยังคงพูดต่อ อยากเล่าอาการป่วยต่อ หมอจึงบอกให้ผู้ป่วยหยุดพูดก่อน หมอตั้งใจจะฟังหัวใจอย่างเดียวก่อน  ตอนนี้จะยังไม่ฟังเสียงของคนทั้งคน

 

3) เห็นความทุกข์ เช่น ความทุกข๋ของพ่อแม่ของเด็กจากความพิการที่หลงเหลืออยู่จากโรคไข้สมองอักเสบของเด็ก เป็นต้น

 

 

ส่วนอันนั้เป็นเรืองที่ผมเคยเขียนถึง Holistic Care ครับ
Linkto: http://somed1.tripod.com

Linkto: http://somed1.tripod.com/gp/miscellary1.pdf

 

ตามมาเรียนรู้ต่อครับ สาธุ สาธุ

ใช้คำว่า Humanistic Heath Care หรือ Humanistic doctor ดูว่าจะตรงกว่า

ตรงกับที่ สมเด็จพระราชบิดา องค์บิดาแห่งการแพทย์และสาธารณสุข ตรัสให้โอวาทว่า

"I don't wont you to be only a doctor, I also want you to be a man"

Humanized แปลว่าทำให้คล้ายมนุษย์

เช่น Humanized Milk ก็คือนมวัว ที่พยายาม สกัดโปรตินที่ย่อยยากออก

ทำให้คล้ายนมแม่ แต่ยังไงก็ไม่ใช่นมแม่อยู่ดี

นิสิตแพทย์ ม.นเรศวร และ รพ.พุทธชินราช หลักสูตรใหม่ เรื่ม พ.ศ. 2549

การเรียนการสอนแบบ Outcome Based Curriculum

มี วัตถุประสงค์ปลายทาง 7 Outcomes คือ

1) Care Giver

2) Communicator

3) Community Leader

4) Decision Maker

5) Manager

6) Life Long Learner

7) Humanistic doctor

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท