Preventive Medicine เวชศาสตร์ป้องกัน คืออะไร


Preventive Medicine เวชศาสตร์ป้องกัน

Preventive medicine

Preventive medicine = เวชศาสตร์ป้องกัน
(เวชศาสตร์ป้องกัน คือชื่อวิชา ด้านการป้องกันโรค)

          อว. หมายถึง หนังสืออนุมัติ เพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขานั้น ๆ จากแพทยสภา หรือแพทยสภารับรอง

          วว. หมายถึง วุฒิบัตร เพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขานั้น ๆ จากแพทยสภา หรือแพทยสภารับรอง

เกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม แพทยสภา พ.ศ.2545

สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน คือ

          -   สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงระบาดวิทยา)
          -   สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงเวชศาสตร์การบิน)
          -   สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงเวชศาสตร์ป้องกันคลินิก)
          -   สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงสาธารณสุขศาสตร์)
          -   สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงสุขภาพจิตชุมชน)
          -   สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน (แขนงอาชีวเวชศาสตร์)

เวชศาศาสตรป้องกัน คือการป้องกันโรค (Disease prevention) หรือป้องกันการบาดเจ็บ (Injury prevention) แทนที่จะเป็นการรักษาโรค (Cure diseases) แตกต่างกับวิธีการรักษาให้หายป่วย บำบัดรักษาตามอาการเจ็บป่วย (Treating thair symptoms) ถ้าไม่สามารถจะบำบัดรักษาให้หายป่วยได้ ก็จะใช้วิธีรักษาแบบประคับประคอง (Paliative medicine)

ถ้าเกี่ยวข้องกับด้านสาธารณสุข (Public Health Methods) จะเป็นการดำเนินการ ในระดับประชากร (Population health) แทนที่จะดำเนินการให้บุคคลเดี่ยวๆ ทีละคน (Individual health)

"Preventive medicine or preventive care refers to measures taken to prevent diseases,[1] (or injuries) rather than curing them or treating their symptoms. The term contrasts in method with curative and palliative medicine, and in scope with public health methods (which work at the level of population health rather than individual health)."

 References

1) เกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม แพทยสภา พ.ศ.2545
http://www.tmc.or.th/
สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม พ.ศ.2553

2) Wikipedia, the free encyclopedia 
http://en.wikipedia.org/wiki/Preventive_medicine
สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม พ.ศ.2553

3) John Snow, From Wikipedia, the free encyclopedia
http://en.wikipedia.org/wiki/John_Snow_(physician)
สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม พ.ศ.2553

ตอนต่อไปนี้ ก็จะเป็น ความคิดเห็นของผม เป็นการสะท้อนความคิดเห็น  Reflection

การป้องกันโรค โดยทั่วๆไป ผู้คนก็จะเห็นความสำคัญน้อยกว่าการรักษา
หมอที่รักษาโรคได้หาย เช่น "หายเป็นปลิดทิ้ง" เช่น หมอผ่าตัด 
จะได้รับความนิยมมากกว่าหมอที่เก่งด้านการป้องกันโรค 

แต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีเสียเลย ที่พูดถึงด้านป้องกันก็มี เช่น
มีคำว่า  "Prevention is Better than Cure" 
สุภาสิตจีน หมอที่รักษาโรคหายคือหมอที่เก่ง 

แต่หมอที่เก่งกว่าคือหมอที่ป้องกันโรค

ถ้ามีการป่วย เช่น มีโรคระบาด ก็จะมีเงินจากส่วนกลาง เพิ่มมา

ให้ความช่วยเหลือไม่เช่นนั้น จะมีเสียชีวิตจำนวนมากได้

เมื่อ 40 ปีก่อน ถ้าฟันผุ ปวดฟันไม่สามารถจะรักษาได้แล้วก็จะใช้วิธีถอนฟันอย่างเดียว แต่ปัจจุบัน
หมอฟัน ใช้ การป้องกันฟันผุ เช่น ให้ฟลูออไรด์ เคลือบหลุมร่องฟัน ทำความคุ้นเคยกัยเด็กเล็ก ๆ
เพื่อให้เด็กไม่กลัวหมอฟัน สอนนักเรียนอนุบาลและนักเรียนชั้นประถมแปรงฟัน
นัดตรวจฟันในงานอนามัยโรงเรียน รักษาคลองรากฟัน ฝังรากฟันเทียม ทำฟันปลอม
ซึ่งการรักษาเมื่อฟันหลุดไปแล้วจะสิ้นเปลืองมากกว่า การป้องกันไม่ให้ฟันผุ
จะประหยัดเงินโดยรวมของประเทศได้มาก

Jonh Snow 1854  หยุดการระบาดของโรคอหิวาต์ โดยที่ยังไม่เคยรู้ว่าโรคอหิวาต์เกิดจากติดเชื้อเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร ตอนนั้นทุกคนเช้าใจว่าโรคท้องเดินเกิดจากอากาศเสีย (Bad Air) แต่จากภาพวาดด้วยดินสอ Plot จุดแทนผู้เสียชีวิต (Figure 1, Cholera Death) ลงในแผนที่ Time, Place, Person พบว่าผู้ป่วยที่เสียชีวิตใช้น้ำจากปั๊มน้ำถนน Broad Street เมื่อสั่งปิดปั๊มน้ำ ก็หยุดการระบาดของโรคได่ ในเวลาต่อมาแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ ท่านอื่นๆ ได้ค้นพบแบคทีเรีย พบเชื้ออหิวาต์

ตัวอย่างการศึกษาด้านระบาดวิทยา การค้นพบวิตามินซีป้องกันโรคลักปิดลักเปิด
การค้นพบเชื้อไทฟอยด์ ในแม่ครัว ที่ชื่อ Mary (Bloody Mary)

รัฐบาลไทยให้สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ให้เบิกค่ารักษาได้
แต่ค่าป้องกัน ไม่ได้คิดไว้ก่อน และยังคงไม่คิดจะจ่ายเงินเพื่อการนี้ หรือหาเงินสมทบเพิ่มเข้ากองทุน
(ยุโรป สวิเดน นอร์เวย์ ประชาชนเสียภาษี 50 % ของเงินได้
การศึกษา และ การสาธารณสุข รัฐจัดให้ เป็นแบบ Public Goods)

สำหรับข้าราชการ "ค่าตรวจพิเคราะห์โรค" สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ (Re-imburst)
ค่าตรวจ LAB เพื่อวินิจฉัยว่าใช่โรคนั้นๆ ก็เบิกค่ารักษาพยาบาลได้
แต่ถ้าเป็น เพื่อป้องกันโรค เจ้าหน้าที่การเงิน ตอบว่าเบิกไม่ได้
เพราะให้ พนักงานวิเคราห์คำสั่งการของกระทรวงการคลัง ตาม Logics ตามตัวอักษรและประโยค
ซึ่งก็คงจะตรงตามนั้น เพราะเมื่อตอนนั้น ผู้ขอกำหนดในการเบิกจ่ายเงิน อาจจะยังไม่ได้คิดถึงการป้องกัน? หรืออาจเป็นว่าทรัพยากรคงจะไม่พอ? คงจะได้เพียงแค่นีก่อน?

เช่น ค่าตรวจ Lab เพื่อตรวจหาวิตามิน B1,B2 ..ในเลือด เฟื่อให้ได้ Definit Diagnosis จะเป็นเงินหลายพันบาท  แต่ถ้าพิเคราะห์โรค เพียงแค่วินิจฉัยว่า "อาจจะ" ป่วยด้วยโรคนั้นๆ  เป็น Probable Case หรือ Suspected Case, แล้วทดลองรักษาโดยให้ ยาชนิดกิน คือ วิตามิน B1, B2 เม็ดละ 10 -20 สตางค์ ก็จะหายจากโรคได้  อาจจะจดบันทึกรวมกลุ่มที่ป่วยด้วยอาการเหล่านี้ไว้  แล้วส่งตรวจ Lab เพียงแค่ Confirm เพียงบางราย ก็จะสามารถประหยัดเก็บเงินส่วนที่เหลือไว้ใช้  ส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู  ของโรคอื่นๆได้ 

แพทย์ระบาดวิทยา ต้องการ ป้องกัน ควบคุมโรค

แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ ก็ต้องการ ป้องกัน ควบคุมโรค เช่นกัน 

บางโรคเช่น Silicosis อีกหลายปีจึงจะป่วย และหายใจลำบาก อาการป่วย เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ
ไม่มีวิธีรักษาให้หายได้ มีแต่เพียง Paliative treatment เท่านั้น

แพทย์ Family Medicine (ที่อังกฤษ และ ออสเตรเลียยังคงใช้คำว่า General Practice)
จะรักษาโรคแบบ Complehensive Care หรือ Integrated Care

อาจไม่ใช่นโยบาย "สร้างนำซ่อม" อย่างเดียวเท่านั้น
ในระหว่างที่ซ่อมก็หาโอกาสในการ ส่งเสริมสุขภาพได้ ป้องกันโรคได้

ข้อ. 6 คือ Explore other preventive opportunities ของ Prof. John Murtagh
ซึ่งเคยไปดูงาน ที East Benthley, Melbourne, Australia.  ตั้งแต่ พ.ศ.2536
http://somed1.tripod.com/gp/

http://somed1.tripod.com/gp/gp.htm

MANAGEMENT INTERVIEW: THE SEQUENCE

  1. Tell patient the diagnosis
  2. Establish patient’s knowledge
  3. Establish patient’s attitude
  4. Educate the patient
  5. Develop a management plan for
    the presenting problem:
    (immediate, long term & preventive)
  6. Explore other preventive opportunities
  7. Reinforce, involving the patient
  8. Provide take away information
  9. Evaluate the consultation
  10. Arrange follow up

การประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพ 26 มิย 2552 โรงแรมมณเทียร กทม.
วิทยากรท่านต่อไป คือ  รศ.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์
ส่งเสริมสุขภาพเป็นทั้งเป้าหมายและเครืองมือ
ส่งเสริมสุขภาพสำหรับทุกคนทั้งยังไม่ป่วยและป่วยแล้ว

Efficacy ได้ผลในห้องทดลอง โดยควบคุมปัจจัยอื่นๆได้ทั้งกลุ่ม Exposed และกลุ่ม Control

Effective ได้ผลในภาคสนาม (Field)

Efficiency ได้ผลคุ้มค่า เมื่อเทียบกับต้นทุน

Equity เท่าเทียม

(เปิด PCU ทุกตำบล โดยที่ทรัพยากรไม่พอ จะได้ผลดีหรือไม่ 

ผลได้จะคุ้มค่าหรือไม่)

http://gotoknow.org/blog/nopadol/271179

ส่วนนี้เป็นเรื่องของวิชาระบาดวิทยาและเศรษฐศาสตร์สาธารณสุช

การป้องกันโรคแล้วจะทำให้ลดค่าใช้จ่ายได้เท่าไร อยู่ในเรื่อง Artritbutable Fraction, Artributable Risk เช่น ถ้าคนที่กำลังสูบบุหรี่สามารถหยุดบุหรี่ได้ตลอด 1 ปี  3-5% ของคนที่มาเข้าร่วมโครงการคลินิกงดบุหรี่  คือ "ส่งเสริมการไม่สูบบุหรี่" ไม่ใช่ "ต่อต้านการสูบบุหรี่" วิธีจะที่ใช้ในการพูดการโฆษณาในสิ่งดีๆ เช่น กลุ่มงานสุขศึกษา จะเก่งในด้านนี้ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ถ้าฉีดวัดซีนโรคหัดให้กับเด็กอายุ 9 เดือน จะป้องกันได้เท่าไร จะไม่ป่วยกี่คนแล้ววัคซีนหัดเยอรมันถ้าฉีดเฉพาะเด็กหญิง จะป้องกันได้เท่าไร จะลดค่าใช้จ่ายเท่าไร แล้วถ้าฉีดในเข็มเดียวกันได้ รวมป้องกัน หัดเยอรมัน คางทูม ด้วย เช่น MMR จะดีกว่าอย่างไร ค่าใช้จ่ายในการป้องกันจะเป็นเท่าไร

เลือกฉีดเฉพาะเด็กหญิง หรือฉีดทั้งเด็กชายเด็กหญิง จะดีกว่าอย่างไร 

การประเมินทางเศรษฐศาสตร์
ค่าเสื่อมราคา (Depleciation Cost) ค่าเสื่อมสิ้น (Amortization) 
ค่าเสียโอกาส (Opportunity  Cost) ก็คือ Best Alternative Choice that Forgone
Tangible Cost, Intangible Cost
Medical Cost (Direct, Indirect), Non Medical Cost 

ค่าใช้จ่ายคือ Cost ซึ่งการประเมินทางเศรษฐศาสตร์ เรื่อง Cost คือ

Cost Minimization (มีข้อตกลงเบื้องต้นว่าผลได้ต้องเท่ากัน) 

Cost Benefit Analysis (CBA) ผลได้เป็น $ 

Cost Effective Analysis (CEA) ผลได้เมื่อเทียบกับต้นทุน 

Cost Utility ผลได้เป็น DALY (Disability Adjusted Life Year)

การบัญชี

ลองเทียบกับการประหยัดพลังงานดูบ้าง การบัญชี เช่น จุดคุ้มทุน (Break Event, Figure 2)

การเปลี่ยนหลอดไฟทั้งตึกของอาคารนั้นเป็นหลอด Fluorescent และ Ballast Electronic (ถ้าเปลี่ยนหลอดผอมอย่างเดียว 32 วัตต์ แต่ใช้บาลาสต์แผ่นเหล็กพันด้วยลวดทองแดง 40 วัตต์อันเดิม หลอดจะสว่างขึ้น แต่กินไฟ 40 วัตต์ และหลอดจะอายุสั้น)ทีนีก็ประหัยดค่าใช้จ่ายได้ เดือนละ 10,000 บาท จากที่เคยจ่ายค่าไฟเดือนละ 20,000 บาท ถ้าลงทุนเปลี่ยนหลอดไฟ ทั้งตึกเป็นเงิน 60,000 บาท
ก็จะใช้ ระยะเวลาคืนทุน (Break Event) ประมาณ 6 เดือน
(ต้องหาเงินมาลงทุนคือเปลี่ยนหลอดไฟ เทียบเท่าจ่ายเงินค่าไฟล่วงหน้าไปก่อน 6 เดือน)

การเงินการบัญชี

Linkto: http://ACC63.tripod.com/acc02.htm

Linkto: http://mse4x.tripod.com/wbi.htm

ใน Primary Care Unit มีทีมงานจำนวนน้อยคน (แพทย์ พยาบาล นักวิชาการ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข) ทำงานแทนกันได้ (Small and Polyvalent team) ในประเทศไทย ควรจะมีทันตแพทย์และเภสัชกร (0.5 คนต่อ 1 PCU) เนื่องจาก ประเทศไทยรวมคลินิกทำฟันและห้องจ่ายยาใว้ใน PCU ด้วยเลย ต่างกันกับประเทศอังกฤษและออสเตรเลีย ในเบลเยียม มีกฏหมายห้ามคลินิกเภสัชกร (Chemist) อยู่ในอาคารเดียวกันหรือชายคาเดียวกัน (Under the same roof) กับ PCU แต่ห้ามห่างจาก PCU เกินกว่าระยะทางที่กำหนด
และในประเทศอังกฤษ, ออสเตรเลีย และเบลเยียม หมอทีทำงาน Primary Care ก็จะทำงานที่ PCU อย่างเดียวเต็มวัน

ไม่ใช่ทำงานที่โรงพยาบาลอำเภอด้วยและก็ทำงานที่ PCU ด้วย
หรือทำงานที่โรงพยาบาลจังหวัดด้วยและทำงานที่ PCU อีกอย่างหนึ่งด้วย
(บางคนยังเปิดคลินิกส่วนตัวอีกอย่างด้วย)
พร้อมๆกันทั้งสองอย่าง สามอย่างแบบประเทศไทย

การประเมินศูนย์บริการสุขภาพชุมชน ในประเทศเบลเยียม
วารสารวชาการสาธารณสุข ปีที่ 12 ฉบับ 12 พ.ศ.2546
Linkto: http://somed1.tripod.com/gp/miscellary1.pdf

วิชาอาชีวเวชศาสตร์ (คนงาน นายจ้าง รัฐบาล และ Self Employed มีภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และภาคบริการ) ไม่ใช่มีแต่แพทย์อาชีวเวชกรรมอย่างเดียว แต่ยังมีทีมงาน คือ พยาบาลอาชีวอนามัย วิศวกร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยหรือ จป (Safety) นักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม นักจิตวิทยา นักการยศาตร์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ อีก

Figure 1 Cholera Dearh, Geographic Information System (GIS)  by John Snow 1854

http://en.wikipedia.org/wiki/John_Snow_(physician)

Figure 2 จุดคุ้มทุน (Beak Event)
http://ACC63.tripod.com/acc02.htm

ผศ.(พิเศษ)นพ.นภดล  สุชาติ พ.บ.
แพทย์อบรมอาชีวเวชศาสตร หลักสูตร์ 2 เดือน พ.ศ.2538
M.P.H. (ICHD #34) 2540
อว.เวชศาสตรครอบครัว 2444
อว.เวชศาสตรป้องกันแขนงระบาดวิทยา พ.ศ.2549

หมายเลขบันทึก: 330624เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2010 14:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2014 11:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท