ไม่เชื่ออย่าลบหลู่


ยอมรับได้กับคำว่า เป็นความเชื่อส่วนบุคคล เพราะนั่นยังให้โอกาสให้เรา ได้ใช้สมอง ได้ใช้ความคิด ว่าเรา จะเชื่อก็ได้ จะไม่เชื่อก็ได้

เมื่อขุดเจอต้นตะเคียนจมน้ำจมดินอยู่

สังคมเราก็ไปกราบไหว้บูชา ขอเลขขอหวย.....ไม่เชื่ออย่าลบหลู่

เมื่อ หมู หมา กา ไก่ ออกลูก ออกไข่ มีสามหัวแปดกร

สังคมเราก็ไปกราบไหว้บูชา ขอเลขขอหวย.....ไม่เชื่ออย่าลบหลู่

เมื่อมีข่าวเจอ ศพเด็กที่เกิดจากการ ทำแท้ง 1000 กว่าราย

สังคมเราทำได้อย่างดี ก็เพียง ทำบุญใหญ่.....ไม่เชื่ออย่าลบหลู่

ผู้เขียนรู้สึก หดหู่ กับสำนวน ไม่เชื่ออย่าลบหลู่

ผู้เขียนยอมรับได้กับคำว่า เป็นความเชื่อส่วนบุคคล

เพราะนั่นยังให้โอกาสให้เรา ได้ใช้สมอง ได้ใช้ความคิด ว่าเรา จะเชื่อก็ได้ จะไม่เชื่อก็ได้

แต่การปิดกั้นไม่ให้เราได้ใช้ความคิด เพราะต้องเชื่อเท่านั้น หากไม่เชื่อก็ห้ามลบหลู่

หากสังคมไทยเรายังมีคำว่า ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ ใช้แพร่หลาย ก็อย่าหมายสังคมเราจะหลุดพ้นไปจากความงมงายทั้งปวง

มองอีกด้านหนึ่ง คงเป็นความพยายามที่จะให้คนไทยเรา โง่ ไปตลอด

เพราะ คนโง่ นั้นปกครองง่ายกว่า

เด็กไทยเรามันถึง โง่ อยู่ทุกวันนี้

 เอ หรือเป็นเพราะว่า

เรามันอยากโง่เอง


คำสำคัญ (Tags): #ลบหลู่
หมายเลขบันทึก: 409749เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2010 21:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เป็นอุดมการณ์คู่สังคมไทยมาตั้งแต่สมัยสังคมบุพกาลแล้วครับ

Ico32 คุณวัฒนา ครับ

หลังจากเขียนแล้วจึงไป search ดู พบว่า

อจ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ บอกไว้ว่า คติโบราณ เรื่องนี้ หมายความถึง อย่าไปลบหลู่ความเชื่อของคนอื่น คือ ให้เสรีภาพของความเชื่อของบุคคล

ท่าน ว.วชิรเมธี บอกว่า คนไทยต้องเปลี่ยนจากท่าที ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ มาเป็น

ไม่เชื่อต้องศึกษา ไม่มีปัญญาต้องเรียนรู้


อ่านแล้วได้กลับมาคิดและทบทวนความเป็นคนไทยได้หลายอย่างเลยครับ ชอบครับแล้วจะติดตามเวอร์ชั่นใหม่อีกนะครับ

คิดว่า "ไม่เชื่ออย่าลบหลู่" เนี่ยน่าจะหมายถึง ถ้าไม่เชื่อในสิ่งที่เขาเชื่อ ก็อย่ามาเย้ยเยาะในสิ่งที่เขาเชื่อ  ไม่เช่นนั้น เดี๋ยวมีเรื่อง........

ในความคิดตนเอง ..ไม่เชื่ออย่าลบหลู่..เป็นการเตือนไม่ให้บุคคลมีความประมาท.. แต่สอนให้รู้จัก... ใช้ความคิด.... พิจารณาให้ดีเสียก่อน...แล้วค่อยตัดสินใจ..... แต่คำพูด/ปรากฏการณ์นั้นๆ อาจเป็นสิ่งที่สูงเกินกว่าภูมิปัญญาของคนทั่วไปจะทราบได้ เพราะบางความเชื่อ เช่นคำสอนทางศาสนา ถ้าบุคคลไม่มีความเชื่อ อาจพูด/ตอบโต้โดยไม่ทันยั้งคิด อาจเป็นการปรามาสโดยไม่รู้ตัว จะเป็นบาปกรรมต่อบุคคลนั้นเสียเปล่า ดังนั้น เราไม่ควรเหมารวมทุกปรากฏการณ์ว่าเป็นสิ่งที่...ไม่เชื่ออย่าลบหลู่...ไปเสียหมด เราควรพิจารณา...แยกแยะ..ให้ดีเสียก่อน...ถ้าเป็นสิ่งที่เป็นสัจจธรรม..ก็ย่อมปฏิเสธไม่ได้... แต่ถ้าพิจารณาแล้วไม่เป็นจริง...เป็นอกุศล..เบียดเบียนผู้อื่น....เราย่อมคัดค้านได้...............

ได้อ่านถ้อยแถลงการณ์ข้างบน ขอแสดงความคิดเห็นหน่อยนะท่าน..สังคมไทยมันเวียนว่ายอยู่กับคำว่า โง่ เจ็บ จน มาช้านาน

ในมุมมองพุทธศาสนา ก็คิดว่าเกิดมามีกรรม ทำบุญมาน้อย แต่ในเชิงบริหารผู้ที่มีอำนาจ(ไม่ระบุกระทรวง กรม กอง การเมือง ธุรกิจ) ผู้มีความรู้การศึกษา โอกาส ที่ดีมีส่วนทำให้เด็กไทยโง่หรือไม่..โจทย์..1

คิดว่าน่าจะเป็นในเรื่องของจิตวิทยาด้วย

เพราะ คนโง่ นั้นปกครองง่ายกว่า ---> จริงๆ แล้วในกรณีพวกต้นตะเคียน หรือ ไก่หัวเยอะ ไม่น่าเกี่ยวกับการปกครองรึป่าวครับ น่าจะเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงปัญหามากกว่ารึป่าว ประมาณถ้าไม่เชื่อก็เงียบๆ ไว้ เดี๋ยวจะไปมีเรื่องกับคนที่เค้าเชื่อเค้านับถือ

เชื่อก็ต้องใช้ปัญญาตัดสิน การใช้ปัญญาก็ต้องมีสติคอยควบคุม ถ้าใช้แต่ปัญญาอย่างเดียวก็อาจไม่ถูกไม่ต้องไม่เหมาะไม่ควร ดังมีตัวอย่างคนใหญ่คนโตในบ้านเมืองเรา(บางคน)กำลังทำกันอยู่..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท