นพลักษณ์ (The Ennegeam) ศาสตร์เพื่อการรู้จักตนเองและผู้อื่น


นพลักษณ์ (The Ennegeam) ศาสตร์เพื่อการรู้จักตนเองและผู้อื่น

 

นพลักษณ์เป็นศาสตร์ใหม่แห่งการเรียนรู้มนุษย์ แม้จะยังไม่ได้จัดเข้าหลักสูตรสาขาวิชาจิตวิทยาอย่างเป็นทางการ แต่นักจิตวิทยารุ่นใหม่ กำลังศึกษาให้ถึงแก่นแท้ นพลักษณ์ ไม่ใช่ศาสนา หากมีมรรควิธีในการจัดกรอบและทฤษฎีที่ปรากฏในหลักความเชื่อทางศาสนาสำคัญๆ ของโลก ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ ปัจจุบัน นักจิตวิทยาจากหลายสำนัก พบว่า นพลักษณ์สอดคล้องอย่างน่าประหลาดกับหลักการอธิบายบุคลิกภาพสมัยใหม่ ด้วยความง่าย แม่นยำ หากลึกซึ้ง และสามารถเชื่อมโยง อธิบาย และชี้ให้เห็นถึงโครงสร้างของความแตกต่างกันในความเป็น "ตัวฉัน" และ "ของคนอื่น" ในขณะที่กระบวนการวิเคราะห์ตามหลักจิตวิทยาทั่วไป ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะเข้าใจ หากนพลักษณ์สามารถชี้ชัด อธิบาย เดินเรื่อง อย่างกระจ่างแจ้ง...


A circular diagram on which personality types numbered one through nine are symbolically represented at nine equidistant points on the circumference. Each human personality is said to fall into one of these nine types. This number is said to reveal the hidden motivation for everything a person does. A person\\'s "true self " is always hidden beneath a "false self ".
 

Personality
Number

Personality Type

Related Animal

1

Perfectionist

terrier

2

Care Giver

cat

3

Achiever

peacock

4

Artist

basset hound

5

Observer

fox

6

Team Player

rabbit

7

Optimist

monkey

8

Competitor

rhinoceros

9

Peacemaker

elephant


มนุษย์โลกเกิดมาพร้อม วัน - เดือน - ปี และเวลาตกฟาก ของใครก็ของมัน เรามีราศีเกิด มีธาตุเจ้าเรือน จะตรงกับโหราศาสตร์ตำรับไหน ดวงใครก็ของคนๆ นั้น ไม่เพียงท่านี้ คนทุกคนยังมี "ลักษณ์" ประจำตัว ซึ่งไม่ต้องเปิดตำราโหราพยากรณ์ ไม่ต้องผูกดวงปีเกิด คนๆ นั้นก็เกิดมาพร้อม "ลักษณ์" ประจำตัวเฉกเช่นราศีเกิด...

ลักษณ์ หรือลักษณะ คือบุคลิกนิสัยประจำตัว คุณมีความคิด ความรู้สึก อย่างไร อธิบายไว้ในลักษณ์ทั้ง 9 หรือ "นพลักษณ์" ซึ่งปัจจุบันนักวิชาการด้านบริหารบุคคล นักจิตวิทยา จัดให้นพลักษณ์ เป็นศาสตร์แห่งการเรียนรู้ตัวคน เข้าถึงบุคลิกและจิตวิญญาณของคน จะเรียกว่านพลักษณ์คือ "แผนที่มนุษย์" ก็ไม่น่าจะผิด... นพลักษณ์ เป็นทั้งแผนที่ไว้ดูตัวเอง ดูคนอื่น เพื่อค้นหาและพัฒนาศักยภาพของแต่ละคน เพิ่มความเข้าใจคน เข้าใจชีวิต ลดอัตตา ลดความเป็นตัวของฉัน ของๆ ฉัน หากช่วยเพิ่มความเข้าใจ ความมีเมตตากรุณา และมองเพื่อนมนุษย์ทุกคนด้วยความเข้าใจ

นพลักษณ์เป็นศาสตร์ใหม่แห่งการเรียนรู้มนุษย์ แม้จะยังไม่ได้จัดเข้าหลักสูตรสาขาวิชาจิตวิทยาอย่างเป็นทางการ แต่นักจิตวิทยารุ่นใหม่ กำลังศึกษาให้ถึงแก่นแท้ นพลักษณ์ ไม่ใช่ศาสนา หากมีมรรควิธีในการจัดกรอบและทฤษฎีที่ปรากฏในหลักความเชื่อทางศาสนาสำคัญๆ ของโลก ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ ปัจจุบัน นักจิตวิทยาจากหลายสำนัก พบว่า นพลักษณ์สอดคล้องอย่างน่าประหลาดกับหลักการอธิบายบุคลิกภาพสมัยใหม่ ด้วยความง่าย แม่นยำ หากลึกซึ้ง และสามารถเชื่อมโยง อธิบาย และชี้ให้เห็นถึงโครงสร้างของความแตกต่างกันในความเป็น "ตัวฉัน" และ "ของคนอื่น" ในขณะที่กระบวนการวิเคราะห์ตามหลักจิตวิทยาทั่วไป ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะเข้าใจ หากนพลักษณ์สามารถชี้ชัด อธิบาย เดินเรื่อง อย่างกระจ่างแจ้ง...

โลกนี้...มนุษย์ด้วยกันยังไม่ค่อยเข้าใจกัน ไม่รู้ว่าเพื่อนฉันทำไมขี้อวด ทำไมขี้โมโม บางคนขี้น้อยใจ บางคนโผผาง บางคนเงียบ บ้างเห็นแก่ตัว บางคนก็เป็นเส้นตรง บางคนก็เสียสละ ฯลฯ มนุษย์มีร้อยแปดพันเก้า ยอมรับได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่เมื่อรู้ลักษณ์ คุณจะรู้จักและเข้าใจเขา ให้อภัยเขา ปรับเปลี่ยนและให้โอกาสตัวเอง เปิดประตูสู่วิถีแห่งความเข้าใจเพื่อนมนุษย์...

รู้จักนพลักษณ์

นพลักษณ์ หรือ Enneagram (เอ็นเนียแกรม) เป็นศาสตร์ใหม่ในเมืองไทย แต่ในอเมริกามีหนังสือเกี่ยวกับนพลักษณ์กว่า 30 เล่ม พร้อมเทปและวารสารวางจำหน่าย และมีสถาบัน EPTP (Enneagram Professional Training Program) ของ เฮเลน พาล์มเมอร์ ผู้ศึกษานพลักษณ์กว่า 30 ปี และจัดอบรมนพลักษณ์ทุกเดือนมกราคมของทุกปี มีผู้เข้าอบรมจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก แล้วนำไปขยับขยายตั้งศูนย์ฝึกอบรมเรื่องนพลักษณ์ในประเทศของตนต่อไป ในเมืองไทย มูลนิธิโกมลคีมทอง เป็นแห่งเดียวที่จัดอบรมนพลักษณ์ โดยได้รับสืบทอดศาสตร์แห่งการเข้าถึงคนจาก "สันติกโรภิกขุ" ซึ่งศึกษาเรื่องนพลักษณ์คนแรก ดังนั้น แผนที่เข้าถึงคนเข้าถึงมนุษย์ ปัจจุบันไม่ใช่ของใหม่แล้ว ฐิติมา คุณติรานนท์ บรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง และผู้สอนเรื่องนพลักษณ์ เล่าว่า

"นพลักษณ์ เป็นศาสตร์โบราณ เกิดขึ้นแถบเอเชียกลางมานานนับพันปีแล้ว โดยอาจารย์กลุ่มซูฟี (Sufis) นักบวชในศาสนาอิสลาม ได้ประมวลวิชานพลักษณ์ที่ศึกษาจากบุคลิกภาพ และแก่นแท้ของมนุษย์ และพัฒนาเป็นศาสตร์ที่ถ่ายทอดเฉพาะระหว่างครูกับศิษย์ เช่น อาจารย์จะแนะนำศิษย์ซึ่งต่างบุคลิกนิสัย ให้แต่ละคนได้รู้จักและเฝ้าสังเกตกระบวนการรู้สึกนึกคิดภายใน พอถึงคริสต์ศักราชที่ 1920 นพลักษณ์เริ่มรู้จักกันในยุโรป โดยอาจารย์คนหนึ่งนำไปใช้เสริมสร้างพัฒนาจิตวิญญาณให้ลูกศิษย์ของเขา จากนั้นก็เป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้นในอีกหลายประเทศ แต่ก็ยังไม่แพร่หลาย จนกระทั่ง เฮเลน พาล์มเมอร์ นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน นำมาศึกษาเก็บข้อมูลนพลักษณ์ เฮเลนไปสัมภาษณ์คนนับพันๆ คนในทวีปต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจคนทั้ง 9 ลักษณ์ และพบว่าน่าอัศจรรย์ใจมากที่คนแม้อยู่ต่างทวีป ต่างเชื้อชาติวัฒนธรรม แต่มีโครงสร้างร่วมกันอยู่ใน 9 ลักษณ์"

แล้วเมื่อการศึกษานพลักษณ์เริ่มคลี่คลาย ก็กลายเป็นหนังสือเข้าถึงแผนที่มนุษย์หลายเล่ม จากผู้เขียนหลายท่าน เป็นเครื่องมือวิเคราะห์และเข้าถึงคนได้อย่างชัดแจ้ง แนบเนียน ผู้ให้การอบรมเรื่องนพลักษณ์บอกว่า

"ในต่างประเทศมีผู้สนใจอบรมนพลักษณ์กันมาก คนเราปกติอยู่ลักษณ์ไหนอาจไม่มีผลอะไรกับใคร แต่เมื่อต้องไปเป็นหัวหน้างาน เป็นที่ปรึกษาองค์กร ต้องเกี่ยวพันกับคนจำนวนมาก ลักษณ์เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเรียนรู้ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับคนหลากหลาย ปัจจุบันมีหลายองค์กร ขอให้เราจัดอบรมให้ ระหว่าง 2 ปี ที่เราจัดอบรมไปประมาณ 20 ครั้ง ได้แก่ กลุ่มละครมะขามป้อม ซึ่งใช้นพลักษณ์มาสร้างเนื้อหามาสะท้อนในบทละคร กลุ่มอาศรมวงศ์สนิท ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องทำงานกับสังคมกับกลุ่มคน กลุ่มธนาคาร บริษัทต่างๆ เอ็นจีโอ ฯลฯ คนที่เข้ามาอบรมส่วนใหญ่จะมีปัญหา เช่น ตัวเขาเองรู้สึกว่าเหมือนมีปัญหาหรือมีสัมพันธภาพไม่ราบรื่นกับผู้คน เขารู้สึกว่าน่าจะมีเครื่องมือที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจตัวเขาและเข้าใจผู้อื่น ต้องการแก้ไขสัมพันธภาพ ทั้งกับเพื่อนฝูง คนรัก ครอบครัว พี่น้อง ถ้าในองค์กรที่เราไปจัดกิจกรรมให้ ส่วนใหญ่จะทำยังไงให้ความขัดแย้งภายในองค์กร หรือแก้ไขการทำงานที่ไม่ราบรื่น ซึ่งเขาก็เคยจัดใช้เครื่องมือประเภท Non-violence มาแล้ว แต่เมื่อมาอบรมนพลักษณ์แล้วได้ผล เขาจะบอกต่อกันไป องค์กรอื่นก็มาขอให้เราทำให้"

ผู้ศึกษาเรื่องนพลักษณ์บอกว่า หลังอบรมแล้วมีเสียงสะท้อนในแง่บวก เช่น

"ที่อาศรมวงศ์สนิท แต่ก่อนสัมพันธภาพของที่นั่นเหมือนต่างคนต่างอยู่ แต่ละคนมีวิธีการและบุคลิกภาพ การแสดงออกที่ดูเหมือนไม่รับความเข้าใจกัน ไม่เข้าใจกัน เมื่อเรารู้จักนพลักษณ์ก็เกิดความเข้าใจ อย่างเขาเคยบอกว่าไม่เข้าใจคนประเภทนี้เลย คนลักษณ์ 8 เสียงดัง ทำอะไรตรงไปตรงมา มีลักษณะของความไร้เดียงสาบางอย่างอยู่ด้วย ซึ่งเวลาคนที่เห็นและสัมผัสถึง ถ้าไปเจอด้านลบจะกระทบแรง เวลาเขาไปอบรมแล้วเขาจะเข้าใจที่มาที่ไปและวิธีการแสดงออกของคนที่แตกต่างกัน และทำให้สัมพันธภาพเริ่มเปิดรับเข้าหากัน รับฟังและยอมรับกันมากขึ้น เขาบอกดีมากอยากให้ไปจัดขั้นกลางและขั้นถัดไปอีก ซึ่งได้แก่ กลไกการป้องกันตนเอง รู้จักกิเลสประจำลักษณ์ ทำให้เราเข้าใจลึกเข้าไปๆ เรื่อยๆ"

การศึกษานพลักษณ์ไม่มีวันจบสิ้น เพราะคนเราเหมือนห้องทดลองที่เรียนรู้ไม่จบ ผู้รู้เรื่องนพลักษณ์ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเรารู้ลักษณ์ของเราแล้ว เข้าใจกิเลสของเราแล้ว แต่กิเลสของเราแสดงออกได้หลายรูปแบบ เช่นคนลักษณ์ 5 กิเลสคือความขี้เหนียวหรือความโลภ ซึ่งแสดงออกหลายรูปแบบมาก กิเลสของคนลักษณ์ 4 ก็แสดงออกหลายรูป
แบบเช่น ความอิจฉา ก็แสดงได้หลายแบบ ไม่ได้แสดงออกอย่างอิจฉาทีเดียว เวลาอบรมแต่ละครั้งจะเห็นกิเลสที่แสดงออกได้หลายรูปแบบ มีเรื่องกลไกป้องกันตนเอง มีเรื่องของปีกลูกศรลักษณ์ต่างๆ ทำให้เราเข้าใจตัวเองในภาพรวมได้ทั้งหมด

คุณอยู่ลักษณ์ไหน ?

โครงสร้างนพลักษณ์แบ่งคนออกเป็น 9 แบบ หรือ 9 ลักษณ์ อธิบายด้วยแผ่นภาพวงกลมกับเส้นรอบวงที่ประกอบด้วยตำแหน่งของคนเบอร์ต่างๆ (1-9) แต่ละเบอร์แทนความหมายและอธิบายภาพพื้นฐานอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรม ร้อยเรียงกันอยู่ในวงกลม แต่ละลักษณ์จะขนาบข้างด้วยลักษณ์อื่นๆ เรียกว่า "ปีก" ซึ่งหมายถึง อิทธิพลที่ได้รับจากลักษณ์เบอร์นั้น ภายในวงกลมมีเส้นลูกศรวิ่งเข้า-ออก แต่ละลักษณ์ ทิศทางของลูกศรแสดงออกถึงบุคลิกภาพชั่วคราวที่ต่างจากบุคลิกภาพพื้นฐาน เช่น ภาวะเครียดหนักหรือภาวะมั่นคง จะแสดงออกในทิศทางของลูกศรแตกต่างกัน

 

เมื่อประมวลลักษณ์ทั้ง 9 แล้ว พบว่า มนุษย์บนโลกหลีกหนีไม่พ้นหนึ่งในเก้าลักษณ์ ไม่มีใครหลุดจากกรอบวงกลมนี้ ไม่มีใครมีมากกว่า 1 ลักษณ์ ยกเว้นอาจได้รับอิทธิพลบุคลิกภาพชั่วคราว ซึ่งไม่ใช่แก่นแท้ของตัวคุณ (True self) อยากรู้ว่าอยู่ลักษณ์ไหน สำรวจความคิดและพฤติกรรมของคุณได้ ดังนี้.-

  • คน 1 : คนเนี้ยบ วิพากษ์ตัวเองและผู้อื่นเสมอ จริงจังกับความรับผิดชอบ เป็นนักจัดการชั้นยอด สามารถชี้จุดบกพร่องได้ทันทีและบอกว่าต้องแก้ไขอย่างไร โลกทัศน์ของคน 1 คือโลกนี้ไม่สมบูรณ์แบบ ฉันต้องปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ความใส่ใจคือต้องถูกต้อง แยกถูกผิด มองอะไรเป็นขาว-ดำ มีมาตรฐาน มีกฎเกณฑ์ มีศีลธรรม ลักษณะทั่วไปเป็น คนชอบตัดสินคนอื่น ไม่ยืดหยุ่น มีเพียงวิธีการเดียวที่ถูกต้อง
  • คน 2 : ผู้ให้ เป็นคนกระตือรือร้น ชอบช่วยเหลือ มองโลกในแง่ดี มีใจเมตตา อุทิศเวลา พลังกายและทรัพย์ แต่ยากที่จะรู้ความต้องการของตัวเองหรือร้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ความที่คุ้นเคยกับการให้มากกว่ารับ จึงทำให้บางครั้งเป็นหัวเรือใหญ่ จอมบงการ มีธรรมชาติเห็นใจเข้าใจผู้อื่น โลกทัศน์ของคน 1 คือโลกต้องอาศัยความช่วยเหลือจากฉัน โดยการให้ก่อน ความใส่ใจของคน 2 คือความต้องการความรู้สึกของผู้อื่นที่ตนให้ความสำคัญ การแสวงหาการยอมรับ ลักษณะทั่วไป เป็นคนมุ่งเอาใจผู้อื่น และการมีได้หลายตัวตน
  • คน 3 : นักแสดง เป็นพวกบ้างาน พลังงานล้น ต่อสู้ชีวิตเพื่อความสำเร็จ นิสัยแข่งขันสูง มุ่งสัมฤทธิผลในทุกสถานะ เช่น เป็นพ่อแม่ที่ประสบความสำเร็จ เป็นคู่ครองที่เชิดหน้าชูตา นักธุรกิจทะลุเป้า แพทย์ผู้มีชื่อเสียง คนเบอร์นี้ไม่มีวันเบื่อหน่าย เป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยม ปลุกพลังพรรคพวกให้เชื่อว่าทุกสิ่งเป็นไปได้ โลกทัศน์ของคน 3 คือโลกนี้รักคนเก่ง ให้รางวัลกับผู้ชนะ ความใส่ใจของเขาคือความสำเร็จของงาน มีเป้าหมาย ลักษณะทั่วไป เป็นคนทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน พวกบ้างาน และให้กำลังใจตนเองและผู้อื่น การเป็นที่รู้จักและยอมรับ
  • คน 4 : คนโศกซึ้ง มีอารมณ์ศิลปิน หมกมุ่นในอารมณ์ แสวงหาคู่อุดมคติหรืองานอันเป็นแก่นแท้ความหมายแห่งชีวิต มีชีวิตอยู่ท่ามกลางความรู้สึกว่าบางสิ่งที่จำเป็นในชีวิตขาดหายไป แม้ตัวเองจะตกหลุมอารมณ์ปางตายเพียงใด แต่เขาก็สามารถเข้าใจและเกื้อหนุนผู้อื่นที่กำลังทุกข์อย่างดีเยี่ยม โลกทัศน์ของคน 4 คือฉันถูกทอดทิ้ง คนอื่นมี ฉันไม่มี ความใส่ใจของเขาคือสนใจสิ่งที่ขาดหาย และความไม่เหมือนคนอื่น ลักษณะทั่วไปเป็นคนมีอารมณ์ความรู้สึกลึกซึ้ง ไม่มีอารมณ์กลาง ความสัมพันธ์แบบผลักๆ ดึงๆ มีความสุขในความเศร้า โศกซึ้ง
  • คน 5 : นักสังเกตการณ์ หลบเลี่ยงภาวะที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ทุกชนิด ชอบความเป็นส่วนตัวมาก จะรู้สึกหมดกำลังและกระสับกระส่ายหากไม่มีเวลาพอสำหรับตัวเองเพื่อใช้ทบทวนสิ่งที่ผ่านมา โปรดปรานการหาข้อมูล แบ่งแยกชีวิตเป็นส่วนๆ สามารถเป็นผู้ตัดสินใจและนักคิดสร้างสรรค์ โลกทัศน์ของคน 5 คือโลกนี้รุกล้ำ โลกนี้เรียกร้องมากแต่ให้น้อย ความใส่ใจของเขาคือการคิดวิเคราะห์ การเป็นส่วนตัว ถูกคาดหวังจากคนอื่น ลักษณะทั่วไปเป็นคนมีความเป็นส่วนตัวสูง หวงแหนสิ่งที่มีอยู่
  • คน 6 : นักปุจฉา เขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองมีความหวาดกลัวเป็นทุน ด้วยกรอบความคิดที่พกพาแต่ความสงสัย ทำให้เขาเป็นคนผัดผ่อน ลังเลจะทำตามความฝัน หรือสนเท่ห์เจตนาของผู้อื่น บางคนชอบเก็บตัวและปกป้องตัวเองจากภาวะคุกคาม แต่บางคนก็ปกป้องตนเองโดยออกไปเผชิญหน้า เลยกลายเป็นเรื่องก้าวร้าวโดยไม่เจตนา โลกทัศน์ของคน 6 คือโลกนี้อันตราย คุกคาม ความใส่ใจอยู่ที่ความมั่นคงปลอดภัย เขาจึงมองหาอันตรายและสิ่งซ่อนเร้นอยู่เสมอ ลักษณะทั่วไป ชอบสงสัย ตั้งคำถามกับอำนาจ มองโลกในแง่ร้าย
  • คน 7 : นักผจญภัย มองโลกในแง่ดี กระฉับกระเฉง มีเสน่ห์ หลบหลีกเก่ง มีคุณสมบัติเหมือน ปีเตอร์ แพน เกลียดการติดกับหรือถูกบังคับ และสำรองทางเลือกแห่งความสนุกสำราญไว้มากที่สุดเท่าที่จะคิดได้ มุ่งอนาคตมีแผนในใจ สามารถเป็นนักสร้างเครือข่าย นักสังเคราะห์ โลกทัศน์ของเขาเต็มไปด้วยโอกาส ความใส่ใจของคนเบอร์นี้อยู่ที่โอกาส ทางเลือก แผนการ สิ่งแปลกใหม่ สิ่งสนุก ตื่นเต้น ลักษณะทั่วไป เป็นคนมองโลกแง่บวก ชอบท่องเที่ยว ผจญภัย เบื่อง่าย หลีกเลี่ยงข้อจำกัด
  • คน 8 : เจ้านาย กล้าแสดงสิทธิจนถึงก้าวร้าวเป็นครั้งคราว ดำเนินชีวิตแบบต้องได้ทั้งหมดหรือไม่เช่นนั้นจะไม่เอาเลย มักเป็นผู้นำ หรือไม่ก็เป็นตัวเองอย่างดุเดือดกล้าแข็ง สามารถปกป้องเพื่อนหรือคนอื่นได้ รู้ว่าตัวเองคิดอะไร มุ่งยุติธรรม สามารถใช้พลังอำนาจเพื่อสนับสนุนสิ่งที่เขาเห็นว่ามีคุณค่า โลกทัศน์ของคนลักษณ์นี้คือ โลกนี้ไม่ยุติธรรม ฉันต้องปกป้องผู้อ่อนแอ ความใส่ใจอยู่ที่อำนาจ การควบคุม ความยุติธรรม ลักษณะทั่วไป เป็นคนเต็มที่ ใช้พลังอย่างสุดเหวี่ยง การสั่งสอนให้บทเรียน กล้าพูด กล้าทำ มีพลัง
  • คน 9 : ผู้ประสานไมตรี เป็นคนใฝ่สันติ เข้าใจมุมมองของคนทั้งหลาย แต่ไม่เข้าใจความต้องการของตัวเองดีนัก ชอบชีวิตราบรื่น สะดวกสบาย จึงเห็นคล้อยไปกับแผนการของทุกคนเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง แต่ในภาวะกดดัน คน 9 จะดื้อดึงดันทุรัง โกรธเกรี้ยวอย่างรุนแรงได้ มักจัดลำดับความสำคั
คำสำคัญ (Tags): #นพลักษณ์
หมายเลขบันทึก: 187124เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2008 18:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ลงชื่อไว้ก่อนน๊า เรื่องดีมากเลย แต่ตอนนี้เวียนหัวจัง จะเข้านอนแล้วละ

สวัสดีค่ะคุณหนุ่ย

  • คนไม่มีรากได้มีโอกาสไปอบรมเรื่องนพลักษณ์กับ ผศ.นพ.ธนา นิลชัยโกวิทย์ จากรพ.รามาธิบดีค่ะ
  • สนใจและชอบเรื่องนี้มากค่ะ...ตั้งใจจะเขียนบันทึกเรื่องนี้เหมือนกัน แต่เห็นว่ามีหลายท่านที่เขียนไว้อย่างดีแล้ว เช่น อ.อัญชลี อุชชิน ค่ะ
  • ขอบคุณนะคะ คราวนี้ได้แนวร่วมแล้ว
  • ..^_^..

ดิฉันแวะมาแนะนำบล็อกทางด้านนพลักษณ์เพิ่มเติมค่ะ

ลองดูได้ที่บล็อก แลกเปลี่ยน เรียนรู้ "นพลักษณ์" ของอาจารย์อัญชลี อุชชิน  ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้คะ ลองดูนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท