BAR UKM 15 (3) เกณฑ์วัดขีดความสามารถ


         จากที่เราชาว UKM ได้นัดกันเพื่อ BAR UKM 15 รายละเอียดในบันทึก <BAR UKM 15 (2) ข้อมูล>   และท่านอาจารย์ JJ ได้กรุณารายงานสดภาพบรรยากาศในการ BAR ร่วมกันไว้ในบันทึก <BAR UKM15 เตรียมการเสวนาเครือข่ายการจัดการความรู้>  ซึ่งสมาชิกที่เข้าร่วม BAR ได้กรุณาร่วมแสดงความคิดเห็นในการจัดทำตัวอย่างเกณฑ์ในการวัดขีดความสามารถของมหาวิทยาลัยในการดำเนินการ KM in HRD ตามตัวบ่งชี้ ก.พ.ร. โดยใช้ประเด็นที่ 1 เป็นตุ๊กตาในการจัดทำ  เพื่อเป็นเกณฑ์ให้กับทุกมหาวิทยาลัยได้นำไปประเมินตนเองก่อนการจัดงาน UKM 15 จริง  เพื่อที่ทาง มน. จะได้นำข้อมูลดังกล่าวมาจัดทำ River Diagram ให้กับทุกมหาวิทยาลัยเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการ ลปรร. ร่วมกันในวันงานแบบ face 2 face ต่อไปค่ะ   

         สำหรับประเด็นที่ 1 ที่ได้จัดทำร่วมกันได้เกณฑ์ดังแสดงใน <ตารางเกณฑ์วัดขีดความสามารถของมหาวิทยาลัยในการดำเนินการ KM in HRD ตามตัวบ่งชี้ ก.พ.ร.>  และสำหรับรายละเอียดของเกณฑ์ในประเด็นที่ 2 – 7 แต่ละมหาวิทยาลัยได้รับไปดำเนินการ  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ

ม.สงขลานครินทร์  : 
ประเด็นที่ 2
สถาบันอุดมศึกษานำข้อมูลตามประเด็นที่ 1 คือความต้องการจำเป็นของบุคลากรฯ มาวิเคราะห์ช่องว่างระหว่างสมรรถนะปัจจุบัน เปรียบเทียบกับสมรรถนะเป้าหมายที่สถาบันอุดมศึกษาต้องการ และนำมาจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร พร้อมทั้ง ทบทวนกระบวนการจัดการความรู้ที่ได้กำหนดไว้ในปีงบประมาณ พ.ศ.2551 มาปรับปรุงให้มีความเหมาะสมสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ.2552 โดยเชื่อมโยงการจัดการความรู้กับการพัฒนาบุคลากรฯ ให้สอดคล้องกับสมรรถนะหลัก ค่านิยม และวัฒนธรรมการทำงานของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งแผนดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากผู้มีอำนาจหรือจากสภามหาวิทยาลัย/สถาบัน

ม.นเรศวร  : 
ประเด็นที่ 3
สถาบันอุดมศึกษาจัดทำเอกสารเผยแพร่องค์ความรู้ คู่มือ แผ่นพับ หรือใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ การทำงาน และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ

ม.วลัยลักษณ์  :  (ไม่ต้องรับการประเมินจาก ก.พ.ร.)
ประเด็นที่ 4
สถาบันอุดมศึกษาดำเนินงานจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรระยะ 4 ปี และแผนรายปี รวมทั้งดำเนินการตามแผนพัฒนาบุคลากรได้อย่างครบถ้วน โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้

ม.มหิดล  :  (ไม่ต้องรับการประเมินจาก ก.พ.ร.)
ประเด็นที่ 5
สถาบันอุดมศึกษามีระบบการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ และจัดทำรายงานเสนอต่อผู้มีอำนาจ รวมทั้ง นำผลการติดตามไปปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยให้มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานที่เสริมสร้างประสิทธิภาพและเอื้อต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา

ม.ขอนแก่น  : 
ประเด็นที่ 6
สถาบันอุดมศึกษามีแนวทางหรือกำหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีของบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา ที่ครอบคลุมผลการปฏิบัติงานตามลักษณะงานและภาระงานที่กำหนด รวมทั้ง ผลการพัฒนาตนเองของบุคลากรฯ โดยเชื่อมโยงกับระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาและระบบการให้สิ่งจูงใจอื่นของสถาบันอุดมศึกษา

ม.มหาสารคาม  :
ประเด็นที่ 7
สถาบันอุดมศึกษามีระบบการประเมินสัมฤทธิผลของแผนดังกล่าว โดยพิจารณาถึงผลที่เกิดขึ้นต่อตัวบุคลากรฯ และผลต่อการพัฒนางานที่รับผิดชอบเป็นสำคัญ และจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานและรายงานสรุปประสบการณ์ ปัญหา ข้อจำกัด แนวทางแก้ไขและข้อเสนอแนะ เสนอต่อผู้มีอำนาจหรือสภามหาวิทยาลัย/สถาบันเพื่อพิจารณา และนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนา/ปรับปรุงแผนพัฒนาบุคลากรและกระบวนการจัดการความรู้สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ.2553

โดยปฏิทินในการจัดทำเกณฑ์ดังกล่าวมีดังนี้ค่ะ

  • ทุกมหาวิทยาลัยส่งเกณฑ์ฯ ในประเด็นที่รับผิดชอบ มายัง มน. ภายใน 5 มิ.ย.
  • มน. รวบรวมเกณฑ์ทั้ง 7 ประเด็น  พร้อมจัดส่งไปยังทุก ม. เพื่อประเมินตนเอง  ภายใน 9 มิ.ย.
  • ทุก ม. ส่งการประเมินตนเองมายัง มน. เพื่อจัดทำ River Diagram ภายใน 17 ก.ค.

*** พบกันอีกครั้งที่ UKM 15  7 - 8 ส.ค. นี้นะคะ ***

หมายเลขบันทึก: 262047เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2009 10:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2012 15:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

รับทราบครับ คงต้องให้คุณน้ำหนึ่งประสานต่อไป

ขอบคุณมากครับที่แจ้งข่าว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท