BAR กับ AAR อย่างไหนสำคัญกว่ากัน


ผมชอบบรรยากาศในช่วงนี้มากเป็นพิเศษ เนื่องจากทุกคนจะมาพร้อมหน้าพร้อมตากัน พูดจาปรึกษาหารือกัน ช่วยกันคิดและให้ข้อเสนอแนะกับเพื่อนที่จะต้องไปทำหน้าที่เป็นตัวแทนของทีม เป็นบรรยากาศของความร่วมไม้ร่วมมือกันฉันท์พี่น้อง ทั้งหมดนี้ที่ มน. เราเรียก BAR

         AAR จะมีคนรู้จักกันดีอยู่แล้ว ส่วน BAR นั้นเท่าที่ผมเห็นจะมีแต่คน มน. (ในขณะนี้) ที่พูด (เขียน) ถึง จึงต้องขอบอกกันหน่อยว่า BAR ย่อมาจาก Before Action Review ส่วน AAR มาจากคำเต็มว่า After Action Review

         ก่อนที่จะลงมือทำอะไรสักอย่าง (โดยเฉพาะเรื่องที่มีความสำคัญมาก ๆ = เป็น Key step ของการดำเนินงานในภาพรวม) ตัวผมเองมักจะให้ความสำคัญกับ “การเตรียมการ” มากเป็นพิเศษเนื่องจากถือคติว่า “เริ่มต้นดีก็เหมือนกับเสร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง” มาช้านาน

         ตัวอย่างเช่น การจะไปเข้าร่วม UKM ในครั้งนี้ (ครั้งที่ 6 = ครั้งที่ 2/2549 เมื่อ 6 – 8 เม.ย. 49 ที่ มอ.) เรามีการประชุมเพื่อปรึกษาหารือกันก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างเป็นทางการถึง 3 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อ 9 มี.ค. 49 ครั้งนี้เป็นการเตรียมตัวไปศึกษาดูงานที่ TOYOTA ควบคู่กันไปด้วย ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 49 และครั้งที่สามเมื่อวันที่ 6 เม.ย. 49 ครั้งสุดท้ายนี้ยาวหน่อยเนื่องจากเริ่มปรึกษาหารือกันตั้งแต่ระหว่างรอต่อเครื่องบินที่ดอนเมืองประมาณ 1 ชั่วโมงและไปคุยกันต่ออีกที่หาดใหญ่ในช่วงหลัง Business meeting (จากค่ำจนถึงดึกที่ห้องพักในโรงแรม) ผมชอบบรรยากาศในช่วงนี้มากเป็นพิเศษ เนื่องจากทุกคนจะมาพร้อมหน้าพร้อมตากัน พูดจาปรึกษาหารือกัน ช่วยกันคิดและให้ข้อเสนอแนะกับเพื่อนที่จะต้องไปทำหน้าที่เป็นตัวแทนของทีม เป็นบรรยากาศของความร่วมไม้ร่วมมือกันฉันท์พี่น้อง ทั้งหมดนี้ที่ มน. เราเรียก BAR ในคืนก่อนที่เข้าร่วมกิจกรรม UKM เราจะมีการปรึกษาหารือกันเช่นนี้ทุกครั้ง

         ส่วน AAR นั้น นอกจากในช่วงสุดท้ายของการประชุมร่วมกับสมาชิก UKM จากสถาบันอื่น ๆ แล้ว เรายังมาพูดคุยกันต่อระหว่างเดินทางกลับที่โรงแรม Asia airport (ใกล้ดอนเมือง) จนดึกเช่นกันก่อนที่จะแยกกันไปเข้านอนและตื่นแต่เช้าเพื่อบินต่อกลับพิษณุโลก และนัดกันว่าจะเรียกประชุมพูดคุยกันอีกครั้งที่ มน. เพื่อเป็นการสรุปและขยายผลไปยังคนที่ไม่มีโอกาสได้ไปเข้าร่วม UKM รวมแล้ว AAR ก็ประมาณ 3 ครั้งเช่นเดียวกันกับ BAR การทำ AAR ระหว่างเดินทางกลับนั้นเราเคยทำกันแม้กระทั่งระหว่างกำลังเดินทางอยู่บนรถ bus ซึ่งก็ให้บรรยากาศที่ดีไปอีกแบบหนึ่ง แต่ทำให้บางคนเมารถได้

         ท่านคิดว่าอย่างไหนสำคัญกว่ากันครับ

         วิบูลย์ วัฒนาธร

คำสำคัญ (Tags): #ukm#aar#bar
หมายเลขบันทึก: 23224เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2006 12:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 15:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • บันทึกนี้ไม่ได้ให้คำตอบว่า BAR กับ AAR อย่างไหนสำคัญกว่ากัน
  • แต่ดูเหมือนว่า จะเอียงๆ มาทาง BAR นะครับ
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ขอขอบคุณอาจารย์วิบูลย์...
  • ขอขอบคุณที่กรุณาแนะนำ BAR+AAR
  • Prof.Peter F. Drucker จะกล่าวว่า อย่างน้อยทุก ๆ 3 ปี... เราจะต้องทบทวนองค์กรทั้งหมดในเรื่อง What to do & What not to do
  • BAR คงจะช่วยตัด (rule out) what not to do ออกไป ทำให้เราไม่ทำสิ่งที่ไม่จำเป็น
  • ส่วน AAR คงจะช่วยคัดเลือก (rule in) what to do ทำให้เรารู้ว่า จะทำอะไร(ดีๆ)ต่อไป  
  • ขอขอบคุณอีกครั้งหนึ่งครับ...

ผมว่าสำคัญทั้งสองอย่าง และควรใช้ทั้งสองอย่าง   ผมจะเอาไปเขียนใน KM วันละคำด้วยครับ

วิจารณ์ พานิช

         ขอขอบคุณอาจารย์วิบูลย์ ที่ให้ข้อคิดและแนะแนวทางที่นำไปปฏิบัติโดยเฉพาะการเตรียมการ "เริ่มต้นดีก็เหมือนกับเสร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง”    

           

                                                     

  • ผมว่าให้ความรู้สึกไปคนละอย่าง
  • BAR ถ้าเรารู้ตัวล่วงหน้าว่าสิ่งที่เราจะไปทำคืออะไร เราคาดหวังอะไรจากการไปร่วมกิจกรรมครั้งนั้น ก็เหมือนการเตรียมตัวล่วงหน้า ในการเรียนการสอน ก็มีแนวคิดนี้เหมือนกันคือถ้าผู้เรียนได้คาดหวังการเรียนรู้ล่วงหน้าว่าเค้าจะได้เรียนรู้อะไร มีการตั้งเป้าหมาย หรือทำ mindmap ทางการวิจัยพบว่าผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้ได้ดีกว่าไม่ได้คาดหวังไว้
  • ส่วนการทำ AAR  เป็นเหมือนการสรุปความรู้ ศ.ดร.อุทุมพร เคยพูดไว้เหมือนกันว่า ถ้าผู้เรียนได้สรุปความรู้ หรือให้ผู้เรียนได้ลองออกข้อสอบถามตนเองในความรู้ที่ได้รับ พบว่าผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ดี แต่การทำ AAR เป็นมากกว่านั้นตรงที่หลายคนอาจจะรับมาเหมือนกันแต่เก็บได้ต่างกัน แล้วแต่ความรู้ความเข้าใจรวมทั้งประสบการณ์ของแต่ละคนด้วย ดังนั้นการทำ AAR จึงไม่ใช่ได้แต่ความคิดของตนแต่เป็นการได้จากความคิดในมุมมองอื่น แง่มุมอื่นอีกครับ
  •  
ในชุมชน Smart Path ของพวกเราที่มอ. มีคุณศิริ พูดถึง BAR ไว้อีกแง่หนึ่งค่ะ เผื่อจะได้เอามาผสมผสานกันดู

ขอบคุณค่ะอาจารย์ที่เขียนเล่าประสบการณ์การทำBARของมน.ไว้ เป็นประโยชน์มากและจะขอนำไปปรับใช้ที่มมส.ค่ะ

ถ้ามีแบบฟอร์ม หรือ หัวข้อหลักๆ ที่คุยกัน ก็อาจจะนำมาใส่ในระบบเวอร์ชันสองได้คะ จะได้ลปรร. กันทางบล็อกได้ และ reference อ้างๆ ไปใช้ตอนทำ AAR ต่อคะ

ดิฉันลองให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีทำBAR แล้วไม่ค่อยไดผลดีนัก ให้ทำก่อนเข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ที่เราจัดให้ก่อนเปิดเทอม คำตอบคือไม่ได้คาดหวัง ให้มาก็มา จะเป็นเพราะไร้โครงสร้างในการบอกความคาดหวังหรืออย่างไรไม่ทราบ แต่AAR นักศึกษาทำได้ ดังนั้นจึงดูเหมือนว่าจะเปรียบเทียบระหว่างBARกับAAR ไม่ได้ อาจารย์ชี้แนะหน่อยซิคะ

ในด้านAAR ความเห็นส่วนตัวของดิฉันก็คือการสะท้อนคิด(reflection)นั่นเอง ดิฉันให้นักศึกษาสะท้อนคิดว่า เกิดการเรียนรู้อะไรบ้างจากการเข้าร่วมโครงการ ทั้งรู้เนื้อหา รู้วิธีการเรียน และรู้จักความสามารถของตนเอง รวมไปถึงรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ ความงดงามของจิตใจที่เกิดจากการเรียนรู้ครั้งนี้ นอกจากนั้นจะนำไปใช้ประโยชน์อะไรในชีวิตหรือในการเรียนของนักศึกษาเอง จะเห็นว่าดิฉันมีกรอบแนวคิดกว้างๆให้นักศึกษาสะท้อนคิด ผลที่ดิฉันคาดว่าจะเกิดคือนักศึกษาน่าจะมีการคิดอย่างวิจารณญานได้ดีขึ้น

สวัสดีครับ
  ช่วง 26-28 กค. นี้ผมคงได้ร่วมเรียนรู้ ทั้ง BAR และ AAR ที่ มน.ครับ

ขอบคุณ ที่แบ่งปันความรู้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท