ศิลปะ...ขณะเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ...เคยเห็นมั้ยคะ


ใครจะไปคิด...ว่าศิลปะเหล่านี้มีให้เห็นได้แม้ในห้องผ่าตัด...เปลี่ยนข้อเข่าเทียม....

ฉันเคยเล่าเรื่องของ bone cement(ซีเมนต์กระดูก) ในบันทึก ตลกวันละนิด...จิตแจ่มใส  เรื่องของ ขัน  

คราวนี้....ฉันจะเชิญชวนท่านชื่นชมกับศิลปะในห้องผ่าตัดกับซีเมนต์กระดูก ที่ใช้เสริมความแข็งแรงในการเปลี่ยนเข่าเทียมค่ะ

โรคข้อเข่าเสื่อม คืออะไร

โรคข้อเข่าเสื่อม  คือ ภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่า มีการสึกหรอและเสื่อมอย่างช้าๆและจะเป็นมากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป

 

พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดอาการปวดเข่า เข่าบวม ข้อยึดติด มีเสียงดังในเข่า เข่าผิดรูปไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

 

สาเหตุหลัก ได้แก่

1. เป็นผลจากความเสื่อม และการใช้เข่าที่ไม่ถูกต้องมานาน
2. ความอ้วน  น้ำหนักตัวมากๆ ทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้น
3. เคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณเข่ามาก่อน เช่น  กระดูกบริเวณเข่าหัก, ข้อเข่าเคลื่อนหลุด, เส้นเอ็นฉีกขาด หรือหมอนรองเข่าฉีกขาด
4. โรคข้ออักเสบ เช่น โรคเก๊าท์  หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น

  

การเปลี่ยนข้อเข่าเทียม การเปลี่ยนข้อเข่าทั้งข้อ (Total Knee Replacement)  คือการเปลี่ยนข้อเข่าทั้งข้อด้วยวิธีการผ่าตัด  มักทำในคนอายุมากและรักษาวิธีอื่นไม่ได้ผล  ในคนที่มีข้อเสื่อมมากมักต้องใช้วิธีนี้ 

ก่อนผ่าตัดแพทย์จะตรวจเช็คสภาพร่างกายของคนไข้อย่างละเอียด เนื่องจากในคนสูงอายุมักมีโรคประจำตัวร่วมด้วย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น  ในคนไข้โรคหัวใจที่กินยาละลายลิ่มเลือดอยู่เป็นประจำ ต้องหยุดยาอย่างน้อย 7 วันก่อนผ่าตัด

 

การผ่าตัดอาจจะใช้วิธีฉีดยาชาเข้าที่หลัง หรือใช้วิธีการดมยาสลบ โดยมีวิสัญญีแพทย์และทีมเป็นผู้ประเมินว่าควรเลือกใช้วิธีใด จึงจะเหมาะสมและปลอดภัยที่สุดสำหรับคนไข้

 

ภาพข้อเข่าที่เสื่อมแล้วถูกตัดทิ้งไปค่ะ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ใส่ข้อเข่าเทียมแล้วค่ะ

การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง มีทีมวิสัญญีร่วมกับแพทย์ผ่าตัดดูแลอย่างใกล้ชิด
</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ตอนนี้เริ่มผสมซีเมนต์กระดูกค่ะ….กลิ่นหอมชวนชื่นใจ….

</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

 

ภาพ อ.วีระชัย โควสุวรรณ  ผู้มากด้วยประสบการณ์การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมและศิลปะจากซีเมนต์กระดูกค่ะ  

ซีเมนต์กระดูกที่ทำหน้าที่ยึดข้อเทียมให้อยู่ในโพรงกระดูกได้อย่างตรงตามตำแหน่งที่ต้องการนั้นใช้เวลาประมาณ 15นาทีจึงแข็งตัว 

 

ดังนั้น ช่วงเวลาของการรอคอยให้ซีเมนต์กระดูกเริ่มแข็งตัวในการทำหัตถการของการผ่าตัด  แพทย์ก็สามารถนำเศษซีเมนต์ที่เหลือมาทำอะไรต่ออะไรได้ตามต้องการค่ะ  เพื่อฆ่าเวลา 

 

นี่ค่ะ….กำลังปั้นแต่งค่ะ….ทายซีคะ รอบนี้รูปอะไรน้อ…. <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> และนี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของศิลปะที่ว่า  ….ว่างๆอาจารย์ก็มาลงสีสันให้สวยงามด้วยค่ะ</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ปลายนิ้วของอาจารย์แพทย์ผ่าตัดผู้นี้ค่ะ  อ.วีระชัย โควสุวรรณ  ผู้ฝากฝีมือไว้ให้เราได้ชื่นชมกันค่ะ</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> สีขาวน่ะซีเมนต์กระดูกค่ะ….แต่ที่สีออกคล้ำๆหน่อยด้านหลังสองคนนั้น อาจารย์ไม่ได้ปั้นค่ะ….สาวคมขำจากห้องผ่าตัดค่ะ  น่ารักสุดๆ…..</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">หลังจากการผ่าตัดแล้วจะมีการให้ยาแก้ปวด เพื่อให้คนไข้เจ็บปวดน้อยที่สุด และหลังการผ่าตัด 1-2 วัน คนไข้จะได้รับการสอนให้บริหารกล้ามเนื้อต้นขา และหัดเดินโดยใช้ Walker หรือใช้ไม้ค้ำยันช่วย </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ถึงขั้นตอนนี้  บริการของวิสัญญี รพ.ศรีนครินทร์มีเครื่องมือระงับปวดที่เรียกว่า PCA(Patient Controlled Analgesia)ค่ะ </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ซึ่งคนไข้สามารถกดยาให้ตนเองเพื่อระงับปวดได้ตามความต้องการ  โดยมีการตั้งค่าที่ให้ขนาดของยาที่เหมาะสม อย่างปลอดภัยเอาไว้</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม คนไข้จะนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลประมาณ 5-7 วัน</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เมื่อคนไข้สามารถลุกเดิน และช่วยเหลือตัวเองได้ แพทย์จึงอนุญาตให้กลับบ้านได้ ถ้าคนไข้บริหารกล้ามเนื้อต้นขาได้ดี คนไข้จะสามารถเดินโดยไม่ต้องใช้ไม้เท้าช่วยเดินภายใน 3-6 เดือน</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">…..เห็นแบบนี้แล้ว  การเปลี่ยนข้อเข่าเทียมไม่น่ากลัวอย่างที่คิดค่ะ  และความปวดก็มีน้อยมากหากได้รับยาแก้ปวดที่เพียงพอหลังการผ่าตัด   ซึ่งจะช่วยให้การกลับมาทำงานได้อย่างปกติเร็วขึ้นด้วยค่ะ</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> (ขอขอบคุณ : <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> 1. น.พ.สุรพงศ์ อำพันวงษ์ กล่าวไว้ในหนังสือพิมพ์บ้านเมือง.โพสต์เมื่อ : 2007-10-09)</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">2. โรคข้อเข่าเสื่อมและการเปลี่ยนข้อเข่าเทียม.www.vibhavadi.com/web/events</p> 3. อ.วีระชัย โควสุวรรณ แพทย์ผ่าตัดออร์โธปิดิกส์ รพ.ศรีนครินทร์ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">4. น้องไอรดา  และน้องจุ๊บแจง  ห้องผ่าตัดที่เอื้อเฝื้อรูปปั้นที่สะสมไว้)</p>  

หมายเลขบันทึก: 151838เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2007 17:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)
โหพี่ติ๋ว น่ากลัวจัง เลือดแดงๆ เลยอ่ะ หนูม่ายชอบอย่างแรง พยาบาลกับหมอนี่ใจแข็งจัง ทนดูเลือดสดๆ ได้โดยไม่รู้สึกอะไร

มีอันนึงที่รูปสอง เหมือนใช้ชะแลงงัดเลย ดุเดือดมากนะเนี่ย จริงๆ อยากอ่านให้ละเอียดแต่ต้องรีบ scroll เพราะไม่กล้าดูรูปอ่ะ หวาดเจี๋ยวจัง - - " แต่ชอบที่เอามาระบายสีเล่นนะ ทำให้หายตึงเครียดจากงานได้ดี หมอก็มีศิลปะในหัวใจนิ น่ารักดี : )

สวัสดีครับคุณติ๋ว

คุณแม่ผมไปผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่ามาแล้ว เดี๋ยวนี้ไปเที่ยวกับชมรมสาวน้อยได้แล้ว อิอิ

เมื่อสองสามวันก่อนดูรายการเคเบิ้ลเห็นการผ่าตัดข้อสะโพก น่ากลัวเหมือนกัน เห็นเขาใช้ซีเมนต์เหมือนกัน ฟังไม่ค่อยรู้เรื่องหรอกเพราะเขาภาษาอังกฤษกัน ดูภาพเอาว่าเขาทำยังไง ภาวนาว่าอย่าต้องไปทำยังงั้นเลย นี่ถ้าต้องผ่าตัดจองคุณติ๋วกับป้าแดงเป็นทีมวิสัญญีได้ไหม จะได้หัวเราะกันจนผ่าตัดเสร็จ เอิ้กๆๆ

  • ขอบคุณมากคะที่นำสิ่งดีๆมากฝาก
  • ดูแล้วมันน่ากลัวแต่มันเป็นทางเลือกให้บางคนคะได้สิ่งที่ดีคะ
  • ขอบคุรคะ
คนเป็นโรคนี้ เห็นแล้ว สบายใจขึ้น เพราะดุแล้วไม่ค่อยนาสกลัว และไม่ค่อยเจ็บเท่าใดนะคะ

สวัสดีค่ะ น้องเล็ก

  • ภาพที่เห็นของจริงมันไม่น่ากลัวและหวาดเสียวเท่าภาพถ่ายนะคะ   พี่เห็นในภาพดูสีมันสดจริงๆเลยดูน่ากลัว....
  • จริงๆแล้วอยากเอาบรรยากาศที่ผ่อนคลายขณะผ่าตัดมาให้ได้ชมค่ะ  เพื่อสร้างความมั่นใจในผู้รับบริการว่าทีมดูแลสุขภาพมิได้มีอารมณ์ฉุนเฉียว  ดุดันเสมอไปค่ะ...สบายใจได้.....

สวัสดีค่ะ ท่านพี่อัยการ

  • หากจะเรียกใช้บริการก็ยินดียิ่งเลยค่ะ  ขอให้บอกเถอะ..จะหอบเครื่อง PCA ติดมือติดไม้ไปด้วยค่ะ  จะได้ไม่เจ็บปวด...
  • ข้อสะโพกก็เปลี่ยนข้อสะโพกเทียมได้คล้ายกันค่ะ  แต่จะเสียเลือดได้มากกว่าเนื่องจากไม่สามารถใช้เครื่องมือรัดเส้นเลือดเพื่อห้ามเลือดได้เหมือนที่ข้อเข่าค่ะ....การระงับปวดก็คล้ายกันค่ะ  ใช้เครื่องมือปั้มยาให้อัตโนมัติก็ได้หรือหากไม่หายปวดก็กดเพิ่มได้ค่ะ.....
  • เครื่องลดความปวดPCAนี้  แพทย์ผ่าตัดชอบมากค่ะ  บอกว่าคนไข้ฝึกหัดการทำงานของข้อเทียมได้ดีมากเพราะปวดน้อยมากค่ะ
  • ขอบคุณค่ะที่แวะมาแลกประสบการณ์ค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณ รัตน์ชนก

  • ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ
  • ใช่ค่ะที่ว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ป่วยค่ะ
  • ดิฉันเคยดูแลคนไข้ที่เป็นคุณยายมาเปลี่ยนข้อเข่าเทียมค่ะ  คุณยายบอกว่า  บ่ายเบี่ยงคุณหมอเรื่องการผ่าตัดสามรอบ  สุดท้ายทนปวดไม่ไหวค่ะก็เลยมาผ่า  ใช้วิธีฉีดยาชาที่หลัง  คุณยายได้ยินทีมงานหยอกล้อกันตลอดการผ่าตัด  ไม่ขอหลับ  ตอนเสร็จชอบใจว่าพวกเราคุยกันสนุก  หายเครียด..."รู้งี้ยายมาผ่านานแล้ว..เสียดาย"...คุณยายกล่าวชม.....พวกเราได้แต่ยิ้มค่ะ(แต่ในใจคิดว่า  อีกหลายคนคงรำคาญที่พวกเราเล่นกันมากไปมั้ย...อิ...อิ....)

สวัสดีค่ะ คุณพี่ sasinanda

  • ผู้ป่วยจะไม่เห็นภาพที่น่ากลัวนี้ค่ะ  และเมื่อเสร็จผ่าตัดก็ไม่ต้องวิตกเรื่องความปวดค่ะ  ได้พักผ่อนเต็มที่  คนเฝ้าก็สบายใจหน่อยค่ะ
  • ตอนนี้ดิฉันสนใจที่จะศึกษาค่ะ  ว่ามีปริมาณผู้ป่วยมากไหมที่ไม่ได้รับการดูแลระงับปวดหลังผ่าเข่าด้วยเครื่อง PCA  เพราะได้ประโยชน์มากค่ะ
  • คุณพี่สบายดีนะคะ  หลานคุณยายสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรงดีนะคะ
  • ขอบคุณค่ะที่แวะมาให้กำลังใจอยู่เสมอค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ติ๋ว

คุณหมอและพยาบาล (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนเล่าเรื่องนี้) น่ารักกันจริงๆ เลย ^ ^

ชอบศิลปะคุณหมอมากเลยค่ะ คลายเครียดดี

ขอบคุณนะคะ คิดถึงค่ะ ^ ^ 

สวัสดีค่ะ น้องรอง อ. กมลวัลย์

  • พี่ติ๋วต้องขอโทษค่ะที่เข้ามาทักทายช้าไปหน่อย...ไม่ขอแก้ตัวนะคะ
  • ....ขอบคุณสำหรับความรัก  ความห่วงใยและน้ำใจ  กำลังใจ  ที่มีให้กันอยู่เสมอค่ะ....
  • ...พี่ติ๋วยังคิดถึงพวกเราทุกๆคนอยู่เสมอค่ะ....
  • ขอบคุณค่ะ

ภาพนี้ก็เป็นฝีมืออาจารยค่ะ...เข้ามารอการเริ่มดมยาสลบก็วาดภาพไว้...บอกว่าอาจารย์หมอสูติท่านหนึ่งอยากเห็นก็เลยวาดไว้ให้ดู

  • .....แล้วเราก็ทายกันสนุกสนาน...ว่ายีราฟตัวนี้มันตัวผู้หรือตัวเมีย.....

แล้วนี่ก็ฝีมือการปั้นในวันนั้นของอาจารย์....หลังจากการวาดภาพทิ้งไว้บนกระดานค่ะ.....

.....คอยาวแบบนี้....ดมยาก็คุยกันว่าจะต้องใส่ท่อช่วยหายใจแบบไหนกันเนี่ย....ยาวมากเหลือเกิน....อิ...อิ....

สวัสดีปีหนูทอง ๒๕๕๑

สวัสดีครับ

      ผมมาสวัสดีปีใหม่คุณกฤษณา ล่วงหน้าครับ  ขออวยพรให้คุณกฤษณามีแต่ความสุข ความเจริญ ด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ ปัญญา พลานามัย ตลอดไปนะครับ

 สวัสดีปีใหม่เช่นกันค่ะอาจารย์

  • ขอขอบคุณอ.กรเพชรมากค่ะ  ขอพรที่มอบให้จงส่งผลกลับไปหาอาจารย์เช่นกันค่ะ 
  • ได้แวะไปคุยที่บันทึกและนำเพลง"สวัสดีปีใหม่"ไปฝากด้วยค่ะ
  • มีความสุขมากๆนะคะ

สวัสดีครับ  ผมตามเอากลอนมาฝากถึงที่นี่ครับ

ความสุขใจอยู่ที่ใจใครก็ทราบ

ถ้าเราปราบจิตได้ไม่วุ่งวุ่น

จิตจะนิ่งปัญญามาเกิดบุญ

ได้ช่วยหนุนคิดได้แต่ในธรรม

งานมันรัดมันเครียดเพราะหน้าที่

รับผิดชอบมันมีทุกคืนค่ำ

เห็นแต่ทุกข์คนอื่นเป็นประจำ

มันผูกย้ำให้เราต้องทุกข์ตาม

ต้องคอยปลอบคอยห่วงคอยช่วยเหลือ

จิตย่อมเบื่อย่อมหนีไม่อยากหาม

ภาระหนักคอยหลอนหลอกทุกโมงยาม

จิตครั่นคร้ามแต่ต้องทำเพราะจำเป็น

จึงขอเป็นกำลังใจให้คงมั่น

ชีวิตมันเปราะบางอย่างที่เห็น

อันคำพระคำใดสอนให้เย็น

ความเคืองเข็ญขอให้หายไปจากตน

          ด้วยความปรารถนาดีจริงๆ ครับ และขอขอบคุณเพลงปีใหม่ ขอเป็นกำลังใจให้มีความสุข บางทีการวางอะไรไว้สักครู่ น่าจะช่วยได้บ้างครับ

 

ขอบพระคุณอาจารย์อย่างยิ่งค่ะ...กำลังใจมาเป็นกองโตๆ  ....เดี๋ยวรีบๆเก็บใส่กระเป๋า...เอาไว้ต่อสู้ในปีหน้าก่อนค่ะ

ตอนนี้คนไทยมีการผ่าต้ด TJRกี่รายต่อป๊ครับ

ปิยะนุช ศิริวิเชียร

ขอรูปยีราฟหน่อยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท