เดินตามหาความยั่งยืนและยืดหยุ่น...ใน 11th.HA National Forum (6) : กลางแสกหน้า...จากอ.วรภัทร์ (ฟังได้มั้ย?)


ในเมื่ออาจารย์ยังกล้าพูด... แล้วทำไมเราจะไม่กล้าเล่าสู่กันฟัง ว่าอาจารย์พูดว่าอย่างไร? ... คำพูดอันมีค่า เป็นกระจกไร้ฝ้าที่สะท้อนวงการแพทย์และสาธารณสุข รวมไปถึงการศึกษาไทยได้เป็นอย่างดี

งาน 11th.HA National Forum ในวันพฤหัสที่ 11 มีนาคม เวลา 13.00 – 14.30 น.ห้อง Sapphire 1 : SHA เป็นหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ของวงการคุณภาพโรงพยาบาล

หากใครเข้าฟัง อาจารย์ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ(คนไร้กรอบ) บรรยายเรื่อง “คุณค่าของการฟังอย่างลึกซึ้ง” เช่นผู้เขียนคงได้ฉุกคิดอะไรกันบ้าง

ผู้เขียนตัดสินใจเขียนเล่า เพราะเชื่อว่าหากไม่เล่าไว้...ของดีที่ได้ยินคงจางหายไปกับกาลเวลา... มันน่าเสียดายยิ่งนัก

อาจารย์เองก็ได้เขียนบันทึกไว้ที่นี่ค่ะ 

11 HA Forum บรรยาย คุณค่าการฟัง โดย คนที่ไม่ฟังใคร 

และ ท่าน อ.JJ เล่าไว้ที่บันทึกนี้ค่ะ

Blogger คนไร้กรอบ On Stage ยั่งยืน และ ยืดหยุ่น 11th HA National Forum (3)  

 

ในเมื่ออาจารย์ยังกล้าพูด... แล้วทำไมเราจะไม่กล้าเล่าสู่กันฟัง ว่าอาจารย์พูดว่าอย่างไร? ... คำพูดอันมีค่า เป็นกระจกไร้ฝ้าที่สะท้อนวงการแพทย์และสาธารณสุข รวมไปถึงการศึกษาไทยได้เป็นอย่างดี 

...เรียกว่างานนี้... โดน!!!!

 

อาจารย์ออกตัวตั้งแต่เริ่มแรกว่า “ทำไมเชิญคนที่ไม่ฟังใครมาพูดเรื่องการฟังอย่างลึกซึ้ง…”

อาจารย์กล้าพูดในมุมมองของผู้ป่วยและผู้รับบริการที่สะท้อนคิดไปในหลายประเด็น

ประเด็นเรื่องของการฟังอย่างลึกซึ้งนั้นคุณพอลล่าได้เล่าไว้ในบันทึกนี้บ้างแล้ว  แต่สิ่งที่ผู้เขียนได้ยินจากอาจารย์ไม่ใช่เพียงเรื่องการฟังเท่านั้น... แต่เป็น“คุณค่าของการ(ต้อง)ฟังอย่างลึกซึ้ง”

เสียงสะท้อนของอาจารย์... เป็นเสียงการขอ(ร้อง)ให้บุคลากรทางสาธารณสุขหันมาฟังเสียงของผู้ป่วยและญาติหรือชุมชนบ้าง

 

อาจารย์วิเคราะห์ความคิดและพฤติกรรมของคนเป็น 4 ช่วงได้แก่

  • Baby Boom: อายุประมาณ 52 ปี เป็นคนที่เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่2 เป็นกลุ่มคนแก่ เป็นรุ่นพ่อแม่ที่หนีภัยมา เป็นกลุ่มตกร่องความคิดของตนเอง ฟังใครไม่เป็น
  • Generation X (Extraordinary): เป็นกลุ่มกตัญญู  มีอิสระในใจ สับสนในตนเอง/สับสนในชีวิต  อาจถูกเลี้ยงแบบตบตี ใช้ความรุนแรง         
  • Generation Y (Why I was born?): อายุราว 20 กว่าๆ เป็นรุ่นลูกของ gen X และมีปู่ย่าตายายเป็น gen B เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เกิดมาพร้อมกับความสงสัย และความสับสน พวกเขาทำอะไรก็ผิดหมด เบื่อโลก รู้สึกว่าพ่อกับแม่รักตำแหน่งมากกว่าเขา เขาชอบเล่นคอมฯ
  • Generation Z : เอือมพ่อแม่ที่เล่นคอมฯ พวกนี้จะธรรมะธัมโม

 

“...ผมพิการทุกวันนี้เพราะหมอทำ...แล้วหมอก็บอกผมว่า ไม่มีทางรักษา...”

“...ผมเดินได้ ยกแขนได้ทุกวันนี้ เพราะหมอตะวันออก...”

“...แพทย์แผนไทยจึงเป็นความกล้าที่จะนำความรู้ของชาวตะวันออกมาใช้ให้เป็นที่ยอมรับ...”

 

เสียงของอาจารย์ ที่เรียกร้อง...

“...คนไข้รักเรา คนไข้เชื่อเรา... แต่เราทำตัวเป็นเครื่องจักร...”

“...เราดูคนไข้... หรือดูเอกสาร...”

“...ให้นึกถึงคำสอนของพระราชบิดา และของสมเด็จย่า...(บ้าง...)”

“...เราต้องฟัง... และใจกว้าง...Open Mind... Open Heart...เมื่อไหร่จะฟังคนไข้...”

“...ทำไมเราต้องทำตามคนอื่น...ทำไมเราต้องทำเหมือนๆกันเป็นของโหล(เหรอ)... ไม่มีใครคิดอะไรใหม่ๆเหรอ...”

“...ทำไมต้องทำตามอย่างแพทย์ตะวันตก...”

“...ทำไมต้องเดินตามร่องที่เขาขุดไว้...ทำไมเราต้องให้ลูกของเราเดินตามร่องที่ขุดนั้นเหมือนเรา...”

“...มนุษย์เราไม่เคยเชื่อมโยงตัวเองเข้ากับธรรมชาติ... เราเป็นพวก ดูใบเหรอ... คือดูเฉพาะใบ ไม่ดูผล ราก หรือลำต้น...”

 

“...ผมอยากกราบเท้า... ฟังเขาบ้าง... ฟังกันบ้าง...

...ความเชื่อที่แตกต่างมาผสมกันเป็นนวัตกรรม...

...ทำไมเราไม่ฟังกัน เคารพความแตกต่าง...

...เราหลงตัวเอง...ฉันแน่สุดแล้ว...

คุณรู้ในโลกของคุณ คุณอยู่ในร่องความคิดของคุณ...คุณไม่ฟังคนอื่น...”

 

อาจารย์เตือนว่าเดี๋ยวนี้การติดต่อสื่อสารรวดเร็วมาก  เรื่องราวหรือข้อมูลต่างๆจากปากคนไข้หรือญาติสามารถแพร่กระจายได้ง่ายและรวดเร็วมากผ่าน Twitter, Facebook หรือ iphone... 

ฟังคนอื่นบ้าง... โดยใช้ปัญญาสามฐาน ได้แก่ ฐานกาย(ความแข็งแรงของร่างกายเพื่อสามารถอยู่รอด ได้จากภัยอันตราย), ฐานใจ(จัดการกับสิ่งที่เข้ามากระตุ้นอารมณ์ได้ดี เราก็สามารถ อยู่ร่วม กับคนอื่นได้) และฐานคิด(การคิดแก้ปัญหาคิดแบบองค์รวมเชื่อมโยง)

อาจารย์พูดถึง Theory U (นิดหน่อย) และ  Collective Leader (นิดหน่อย)

สิ่งที่อาจารย์พูดมา...  “...ออกจากหัวใจที่เจ็บปวด... ญาติที่เจ็บปวด...”

  ...รูปอาจารย์...(ดูดีๆ)ไร้กรอบค่ะ

ภาพที่อาจารย์มองเห็นคือ แพทย์เหมือนหุ่นยนต์, พยาบาลเหมือน(ไส้)แซนด์วิช... (ที่ถูกอัดด้วยแผ่นขนมปังแผ่นบนคือแพทย์ และขนมปังแผ่นล่างคือคนไข้)

...ผู้เขียนสะดุดหูข้อคิดนี้มากๆ...

“standard ...อยู่บนหอคอย...คุยกันเอง...ทำให้ความคิดแคบ...” อืมมม... น่าคิด

 

สิ่งที่นำมาเล่านี้ไม่ทั้งหมดของการบรรยาย... แต่แค่นี้ก็แสบกลางแสกหน้ามากแล้ว...

ขอขอบพระคุณอาจารย์ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ ที่กล้าเล่าความในใจ(บนความเจ็บปวดของอาจารย์)... เมื่ออาจารย์กล้าเล่า ผู้เขียนก็กล้าเขียน กล้าเล่าต่อ (บนความเจ็บปวดไม่แพ้กัน...)

ขอบคุณอาจารย์ที่มา “เตือนกันแบบพี่น้อง...ดีกว่าหมองเศร้าเพราะเราไม่ฟังกัน

แล้วดูซิว่า...เขาจะกล้าฟังแบบลุ่มลึก Deep listening กันหรือไม่?

 

(ขอขอบคุณ website ซึ่งอ่านเพิ่มเติมที่นี่ค่ะ

1. Generation X generation Y คืออะไรครับ?  http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20080918020008AA0meJ3  )

2. บทความจาก โรงพยาบาลสันกำแพง http://www.skph.org/modules.php?name=News&file=article&sid=31

3. http://www.oknation.net/blog/print.php?id=300334

4. http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q3/2006september21p6.htm

และ ขอขอบคุณ...ภาพจากคุณพอลล่า, ท่านอ.JJ และ ท่านอ.คนไร้กรอบค่ะ)

หมายเลขบันทึก: 346030เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2010 16:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณมากครับ ทำให้คนไม่ได้ไปฟังเเบบผม ได้เรียนรู้ไปด้วย

พี่กำลังหาอ่านคน Gen X,Y อยู่พอดีค่ะ

เพราะพยาบาล ตอนนี้เกิดประเด็นช่องว่างระหว่างวัย

วันนี้บ่าย พี่จะทำหน้าที่ focus gr กลุ่มพยาบาลที่ลาออกเกือบ 50 คน เพื่อหาปรากฏการณ์ในการลาออกค่ะ

สวัสดีค่ะ พี่แก้ว

  • อีกราว 5-10 ปี ข้างหน้าองค์กรของเราคงร้อนๆ หนาวๆค่ะ...
  • นี่ก็เพิ่งคุยกัน...แหย่กันเล่นๆใน OR ว่าเราต้องฝึกคนรุ่นใหม่ไว้ให้เก่งๆเพราะตอนเราแก่จะได้มีคนเก่งๆดูแลเรา...555...
  • ขอบคุณพี่แก้วค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท