KM_Md_KKU มุมมองคนตัวเล็ก(4) >>> ถอดบทเรียน KM Forum ครั้งที่1 ด้านการเรียนการสอน : “วิจัยในชั้นเรียน” (3) ขอเก็บเข้าคลัง


ถ้ามองเป็น TUNA Model ของ KM...นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของหัวปลาและหางปลาใหญ่ ที่นำไปสู่... หัวปลาและหางปลาเล็กๆของปลาหลายๆตัวที่กำลังตามมา

จากบันทึกที่1 และบันทึกที่ 2 ของการแลกเปลี่ยนความรู้ สามารถจัดเก็บในคลังความรู้ (Knowledge Asset) ได้ดังนี้

  • การนำ “วิจัยในชั้นเรียนมาใช้” เพื่อการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนและวิธีการสอน เป็นการ Improved Student Learning with Action
  • ตัวอย่างหัวข้อวิจัยเช่น

1)   Professionalism เช่น การใช้หนัง หรือละคร เป็นประเด็นในการศึกษา

2)   Module ของการสอน ซึ่งอาจประเมินจากผลลัพธ์ของการใช้ Module ต่างๆสู่การปรับปรุง หรือพัฒนา รวมถึงเนื้อหาที่อาจพิจารณาเพิ่มเติมในด้านความเหมาะสมกับปัจจุบัน

3)   การวิเคราะห์ข้อสอบ NL, Spec ข้อสอบต่างๆ

4)   ปัจจัยของอาจารย์ผู้สอน เช่น อาจารย์มีความต่างในหัวข้อย่อยที่สอน, สอนมากไป

5)   ปัจจัยของนักศึกษา เช่นการจัดการเวลา การพักผ่อนหย่อนใจ(recreation) การดูทีวี เล่นเกม ของนักศึกษาที่มีผลต่อการเรียน

  • มีการเสนอให้นำข้อมูลที่มีอยู่เดิมจาก วิจัยของ Commed มาใช้ประโยชน์

 

จากบันทึกที่1 และ 2 ของการแลกเปลี่ยนความรู้ สามารถจัดเก็บในคลังความรู้ (Knowledge Asset) ได้ดังนี้

  • การนำ “วิจัยในชั้นเรียนมาใช้” เพื่อการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนและวิธีการสอน เป็นการ Improved Student Learning with Action
  • ตัวอย่างหัวข้อวิจัยเช่น

1)   Professionalism เช่น การใช้หนัง หรือละคร เป็นประเด็นในการศึกษา

2)   Module ของการสอน ซึ่งอาจประเมินจากผลลัพธ์ของการใช้ Module ต่างๆสู่การปรับปรุง หรือพัฒนา รวมถึงเนื้อหาที่อาจพิจารณาเพิ่มเติมในด้านความเหมาะสมกับปัจจุบัน

3)   การวิเคราะห์ข้อสอบ NL, Spec ข้อสอบต่างๆ

4)   ปัจจัยของอาจารย์ผู้สอน เช่น อาจารย์มีความต่างในหัวข้อย่อยที่สอน, สอนมากไป

5)   ปัจจัยของนักศึกษา เช่นการจัดการเวลา การพักผ่อนหย่อนใจ(recreation) การดูทีวี เล่นเกม ของนักศึกษาที่มีผลต่อการเรียน

  • มีการเสนอให้นำข้อมูลที่มีอยู่เดิมจาก วิจัยของ Commed มาใช้ประโยชน์

หลายประเด็นที่ฝ่ายวิชาการกล่าวว่าเป็นงานที่ทำเป็นประจำอยู่แล้ว และอยู่ระหว่างดำเนินการทบทวนและปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่แล้ว...และหลายประเด็นอีกเช่นกันที่ผู้เข้าร่วมมีความเห็นว่าฝ่ายวิชาการควรเป็นผู้รับผิดชอบนำการพัฒนาโดยอาจมีทีมผู้ช่วยหรือคณะกรรมการวิจัยที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยกำหนดประเด็นและดำเนินการให้ประเด็นต่างๆได้รับการดำเนินการ

อีกประเด็นหนึ่งที่อาจารย์ให้ความสำคัญและ discussed อย่างกว้างขวาง คือเรื่อง Student Center ซึ่งอาจเป็นหัวข้อที่นำมาจัดการความรู้ต่อไป

โดยสรุป

สิ่งที่ได้จากการสกัดองค์ความรู้ในประเด็น “วิจัยในชั้นเรียน” ได้แก่การค้นหาปัญหาของการเรียนการสอนซึ่งมีตัวอย่างหลายประเด็นดังกล่าวข้างต้น นำมาสู่การนำไปแก้ไขอันอาจทำได้ง่ายๆในเบื้องต้นจากตัวอย่างที่ท่าน อ.ประนอม บุพศิริ กรุณานำ Good practice มานำเสนอ

รายชื่อผู้เข้าร่วม KM Forum ครั้งที่ 1 หัวข้อ "วิจัยในชั้นเรียน"  14 ท่าน  ดังนี้ค่ะ 

  1. รศ.ประนอม บุพศิริ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ (ผู้นำเรื่อง)
  2. รศ.จินตนา สัตยาศัย รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
  3. รศ.สุรพล วีระศิริ รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ
  4. ผศ.มณีวรรณ แท่นรัตนวิจิตร ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา
  5. รศ.ประภาวดี พัวไพโรจน์ ภาควิชาเภสัชวิทยา
  6. ผศ.ศิริมาศ กาญจนวาศ ภาควิชาเภสัชวิทยา
  7. นางอนงค์ศรี งอสอน หัวหน้างานพัฒนาคุณภาพ
  8. ผศ.นภา หลิมรัตน์ ภาควิชาชีวเคมี
  9. รศ.ไชยยุทธ ธนไพศาล ภาควิชาศัลยศาสตร์
  10. ผศ.ดรุณ โกฏิมนัสวนิชย์ ภาควิชาจุลชีววิทยา
  11. ผศ.สริธร ศิริธันยาภรณ์ ภาควิชาพยาธิวิทยา
  12. ผศ.กิตติศักดิ์ สวรรยาวิสุทธิ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา
  13. นางกฤษณา สำเร็จ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา(ผู้ถอดบทเรียน)
  14. น.ส.วิริยา แซ่ลี้ สนง.บริหารจัดการองค์ความรู้
หมายเลขบันทึก: 413065เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2010 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีส่งท้ายปีเก่า ๒๕๕๓ ต้อนรับปีใหม่ ๒๕๕๔ ค่ะ "พี่ติ๋ว"

สวัสดีปีใหม่นะคะ

มีความสุขทุกวันคืนนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท