วิสัญญีพยาบาลควรสนใจ : แนวทางปฏิบัติของราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย


จะมีวิสัญญีสักกี่คนที่ทราบว่ามีแนวทางปฏิบัติของราชวิทยาลัยในwebsite

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ฉันได้ฟังการบรรยายสั้นๆจาก รศ.พญ.ธารทิพย์ ประณุทนรพาล ประธานราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย  เรื่อง กฎหมายและจริยธรรมทางเวชปฏิบัติ  ซึ่งท่านจะมาบรรยายให้แพทย์ใช้ทุน  แพทย์ประจำบ้าน  และนักเรียนวิสัญญีพยาบาลที่ภาควิชาฯฟัง 

...อาจารย์มาจากกรุงเทพฯทั้งที   ก็ใคร่ขอของแถมจากอาจารย์  บรรยายในช่วงเช้า  8 - 9 โมงเช้าเพิ่มขึ้น  เพื่อทบทวนให้ผู้ปฏิบัติอื่นๆฟื้นความจำกันด้วย......

(ในภาพใหญ่ รศ.พญ.ธารทิพย์ ประณุทนรพาล, รศ.วิมลรัตน์ ศรีราช และ  ศ.สมบูรณ์ เทียนทอง)

 

จะว่าไป....มันก็เป็นเรื่องเก่าๆ...ที่ฉันเองฟังบ่อย...ครั้งแล้ว  ครั้งเล่า.....

เรื่องที่ให้ทีมวิสัญญีโดยเฉพาะพยาบาลตระหนัก  ในเรื่องของการให้การดูแลผู้ป่วยทางวิสัญญีอย่างไม่ประมาท ....ก็จะประมาณว่ากฎหมายไม่รองรับวิสัญญีพยาบาลในการดมยาสลบโรงพยาบาลเอกชน   ให้ปฏิบัติได้ในรพ.ของรัฐบาลเท่านั้น  และก็ปฏิบัติได้ภายใต้ความรับผิดชอบของวิสัญญีแพทย์   หรือหากไม่มีวิสัญญีแพทย์ก็ต้องเป็นแพทย์ผ่าตัดเจ้าของผู้ป่วย

แต่คราวนี้ที่ต่างคือ  ไม่มีคำว่าห้ามทำโน่น  ห้ามทำนี่  ทำนั่นไม่ได้  ทำไอ้นี่เธอจะรับผิดชอบตัวเองได้มั้ย.... แต่กลายเป็นคำแนะนำการปฏิบัติงานเชิงสร้างสรร ที่เราควรทำ  ควรใส่ใจ  ควรศึกษาและละเอียดรอบคอบ  แม่นยำ   หมั่นศึกษาอยู่เสมอ 

มีคำถามจากอาจารย์เรื่องของการปฏิบัติเมื่อจะฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง......ทำกันยังไง?.....

....ฉันเงี่ยหูฟัง....คำตอบที่ได้ยินยังไม่โดนใจ.....

สุดท้าย ฉันลุกไปที่ตู้เก็บหนังสือ  ฉันเคยพิมพ์แนวทางปฏิบัติที่ราชวิทยาลัยกำหนดไว้อ่าน  (ตอนนั้นมี 6 แนวทาง) นำมาเปิดอ่าน   หนึ่งในนั้นเป็น แนวปฏิบัติในการทำ Spinal Anesthesia ที่อาจารย์กำลังพูดถึง 

อาจารย์สองสามท่านที่นั่งใกล้ฉันไม่เคยเห็นแนวทางนี้.... 

....และฉันก็เชื่อว่า  ยังอีกมีหลายท่านที่ก็ยังไม่เคยเห็น(บางท่านไม่เคยทราบว่ามีกี่เรื่อง เรื่องอะไรบ้าง).....ฉันคงต้องช่วยอีกแรงในการนำมาเผยแพร่  เพื่อประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติงานทางวิสัญญีและเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยอันถือเป็นประโยชน์สูงสุด

ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า  

CLINICAL PRACTICE GUIDELINE : เป็นเพียงคำแนะนำเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ มิใช่กฎเกณฑ์อ้างอิงในการตัดสินถูกผิด ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายได้

ที่มา :  สงวนลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2553 ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย

  http://www.rcat.org

ฉันเลยขอนำมาไว้ในบันทึกนี้....  เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปประกอบการดูแลผู้ป่วยในแต่ละสภาวะที่กำหนดให้ได้รับความปลอดภัย

 

(ขอขอบคุณ :  ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย  ที่ได้กำหนดแนวทางอันเป็นประโยชน์อย่างมากในวงการวิชาชีพวิสัญญีพยาบาลค่ะ)

 
หมายเลขบันทึก: 163607เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2008 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
  • ได้ข้อมูลมากเลย
  • พี่ติ๋วสบายดีไหม
  • คิดถึงชายหนุ่มเสื้อขาวในภาพครับ
  • อยากเจอๆๆ

สวัสดีค่ะ คุณขจิต

  • ขอบคุณแทนท่าน ศ.สมบูรณ์ เทียนทองค่ะ....
  • ตอนนี้ภารกิจท่านมากมายเหลือคณานับ  แต่ท่านก็ยังยิ้ม(หล่อ)ได้ค่ะ....ท่านคงดีใจที่คุณขจิตถามถึง  แล้วพี่จะเรียนให้ท่านทราบค่ะ(นี่จริงๆแล้วน่ะ  ภาพนี้ท่านบอกว่า...ถ่ายด้วยๆๆ....นะคะเนี่ย)
  • พี่ติ๋วสบายดีค่ะ คุณขจิตก็คงสบายดีนะคะ
  • คิดถึงคุณขจิตเช่นกันค่ะ

คุณติ๋วขา

  • ครูอ้อยฝากระลึกถึง คิดถึง ไปยังท่านคุณหมอสมบูรณ์ด้วยนะคะ
  • คุณหมอ เป็นบุคคลที่น่ารัก และครูอ้อยก็รักท่านคิดถึงท่านเสมอค่ะ

ขอบคุณค่ะ คิดถึงคุณติ๋วเช่นกันค่ะ

อ่านบันทึกนี้แล้ว  ก็อดที่จะสะกิดเตือนตัวเองสู่การรำลึกเรื่องจริยธรรมในวงการแพทย์ไทยในอดีตไม่ได้  ยุคหนึ่งฮือฮากันมากเกี่ยวกับความรักและการหั่นศพ...

เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องจริยธรรมและภูมิต้านทานของคนในวงการแพทย์  ยังดีครับเป็นเรื่องส่วนน้อยเท่านั้น

.....

สบายดีนะครับ

สวัสดีค่ะ ครูอ้อยเพื่อนรัก

  • วันนี้นั้น  ท่านที่ครูอ้อยคิดถึงไม่อยู่ค่ะ  แล้วติ๋วจะเรียนให้ท่านทราบ...(คงดีใจตีปีกพั้บๆๆ....)
  • คิดถึงครูอ้อยอยู่เสมอค่ะ

สวัสดีค่ะ น้องแผ่นดิน

  • ยังมีเรื่องเล่าที่อาจารย์ยกตัวอย่างให้ทราบเป็นกรณีศึกษาอีกหลายกรณีค่ะ  น่าสนใจทั้งนั้น.... ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพพึงระมัดระวังมากขึ้น  ไม่ประมาท
  • จำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นมาก  ตามมาด้วยความคาดหวังที่สูงขึ้นทำให้กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมมีภาวะเครียดมากขึ้นตามไปด้วยค่ะ
  • ขอบคุณน้องแผ่นดินค่ะ

ขอบคุณคะพี่ น้องอนุญาติ นำไปศึกษานะคะ และ เทียบเคียงกับที่มีอยู่คะ

 

อิอิ ขออนุญาตคะ ไม่ใช่อนุญาตขอบคุณคะ

ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ แก่ชาววิสัญญีพยาบาล เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

ขอบคุณคุณ คุณน้อยหน่า เช่นกันค่ะ ที่แวะมาทักทาย

ขอบคุณมากๆนะคะ...โชคดีค่ะ

รู้จักพื่ติ๋วจากการอบรมฟื้นฟูที่ขอนแก่นค่ะ บรรยากาศการอบรมอบอุ่นดี น่าประทับใจ

web นี้สร้างสรรดีค่ะ ขออาศัยหาความรู้ด้วย ไม่รู้ว่ามี CPG.การดมยาผู้ป่วยที่มีภาวะโรคร่วมด้วยรึเปล่าคะ

สวัสดีค่ะ คุณK.Kem

  • ...แล้วคุณแวะเข้ามาทักทายพี่หรือเปล่าคะ
  • เราเป็นคนในครอบครัววิสัญญีด้วยกันค่ะ..บรรยากาศอบอุ่นอยู่แล้ว
  • ...อยากชักชวนให้เข้ามาช่วยกันเขียนบันทึกกันมากๆน่ะค่ะ...
  • สำหรับใน "CPG.การดมยาผู้ป่วยที่มีภาวะโรคร่วมด้วย"นั้น  ที่มข.มีบางส่วนค่ะที่ใช้กันภายในภาควิชาฯ ลองติดตามอ่านดูได้ที่นี่นะคะ...    HA & Quality in Anesth.KKU.
  • ขอบคุณนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท