การขอรับเงินอุดหนุนจาก อปท.


ก่อนที่จะคิดในสิ่งที่เป็นลบ โปรดเอาใจเขามาใส่ใจเราบ้าง ว่าทุกกระทรวงเขาก็มีระเบียบและแนวทางปฏิบัติของเขาเหมือนกัน "จงช่วยเหลือตนเองก่อนที่จะให้ผู้อื่นช่วยเหลือ"


หลายคนทั้งสังกัด อปท.และ สพฐ.ต่างก็กังขา ในแนวทางปฏิบัติเรื่องการอุดหนุนของท้องถิ่นแต่ละแห่งที่ไม่เหมือนกัน ความจริงแล้ว ไม่ว่าท้องถิ่นใดใช้ระเบียบปฏิบัติตัวเดียวกัน แต่เข้าใจไปคนละอย่างสองอย่าง จึงทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย

ฝ่าย สพท.ก็สงสัยว่าทำไม อปท.จึงไม่อุดหนุนโรงเรียนโรงเรียนของ สพท.ทั้งๆ ที่อยู่ในพื้นที่ของ อปท.นั้น ฝ่าย อปท.เองก็อยากอุดหนุน เพราะเด็กนักเรียนเหล่านั้นเป็นเด็กของท้องถิ่นทั้งนั้น ไม่มีผู้นำท้องถิ่นคนไหนที่มองเห็นลูกของตนเองขาดแคลนแล้วไม่ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ

แล้วติดขัดอยู่ตรงไหน คำตอบอยู่ที่ทุกกระทรวงต่างก็ได้รับงบประมาณจากสำนักงบประมาณกันมาเพื่อพัฒนาลูก ๆ ของตนเอง ตามสัดส่วนของคน ที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎรมาเรียบร้อยแล้ว แต่ สพฐ.ดูแลได้ไม่ทั่วถึง เพราะมีลูกมาก การที่มาขอรับการอุดหนุนจาก อปท.อีก เท่ากับ อปท.ไม่ได้เลี้ยงลูกตัวเองให้อิ่มก่อน แต่กลับเอาไปเลี้ยงลูกคนอื่น ทางกระทรวงต้นสังกัดจึงออกระเบียบมาเพื่อป้องกันการจายงบประมาณที่ซ้ำซ้อน โดยมีหน่วยงาน สตง.เป็นผู้ตรวจสอบการใช้เงินให้ถูกต้องอีกสำทับหนึ่ง

มีหนังสือที่เกี่ยวข้อง ๒ ฉบับ คือ. 1) หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0893.3/ว 0020 ลงวันที่ 6 มกราคม 2552
2) หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0898.2/ว 2611 ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2547

นับแต่นี้ไป อปท.สามารถอุดหนุน โรงเรียนสังกัด สพฐ.ได้ ตั้งแต่ วัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน ค่าจ้างครูที่ขาดแคลน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ยกเว้นที่ค่าดินสิ่งก่อสร้าง เพราะ พรบ.การศึกษาแห่งชาติ มาตรา 60 (4) ระบุไว้ชัดเจนว่า งบลงทุนเป็นหน้าที่ของรัฐ ดังนั้น จึงไม่ใช่หน้าที่ของท้องถิ่นที่จะต้องอุดหนุนเรื่องที่ดินสิ่งก่อสร้าง ผู้เขียนขอนำเสนอแนวทางที่ปฏิบัติได้จริง ซึ่งมีขั้นตอนที่ค่อนข้างจะยุ่งยากสำหรับผู้ขอรับงบอุดหนุน จาก อปท. แต่เพื่อลดความกดดันและการทำผิดระเบียบฯ จึงมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

๑. โรงเรียนที่จะขอรับเงินอุดหนุนจาก อปท.ต้องเขียนโครงการระบุวัตถุประสงค์โดยละเอียดว่าต้องการเงินไปทำอะไร จำนวนเท่าไร

๒. โรงเรียนต้องนำโครงการดังกล่าว ฯ เข้าที่ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนขอความเห็นชอบ (โดยแนบหลักฐานรายงานการประชุมให้ อปท.ด้วย)

๓. โรงเรียนต้องเสนอโครงการดังกล่าวไปยังเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเข้าที่ประชุมคณะกรรมการด้านการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อยืนยันว่าเขตพื้นที่ ไม่มีงบประมาณสนุนสนุนจริง (โดยแนบรายงานการประชุมของคณะกรรมการฯ ให้ อปท.ด้วย)

๔. โรงเรียนนำโครงการดังกล่าว ไปขอรับการอุดหนุนจาก อปท.ล่วงหน้า ๑ ปี (ส่งประมาณเดือนมิถุนายนของทุกปี)

๕. อปท.นำโครงการดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการด้านการศึกษาของ อปท.นั้น ๆ ถ้าไม่ผ่านก็ตกไป ถ้าผ่าน

๖. อปท. จะนำใส่ไว้ในแผนพัฒนา อปท. ๓ ปี และตราเป็นเทศบัญญัติ/ข้อบัญญัติ

๗. โรงเรียนทำหนังสือขออนุมัติรับการอุดหนุน(ใช้เงิน) หลังจากที่เทศบัญญัติ/ข้อบัญญัติมีผลบังคับใช้

๘. เมื่อโรงเรียนนำงบประมาณไปใช้แล้ว เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ โรงเรียนต้องรายงานการใช้งบประมาณโดยละเอียด พร้อมภาพประกอบ หากงบประมาณเหลือจ่าย ต้องส่งคืน อปท.

๙. หากตรวจพบว่าโรงเรียนนำงบประมาณไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในโครงการฯ อปท.สามารถเรียกเงินคืนได้

๑๐. เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้ เมื่อ สตง.ตรวจสอบและเกิดข้อสงสัย อปท.จะชี้นำให้ สตง.ลงไปตรวจสอบ ณ โรงเรียนนั้นได้เช่นกัน

ต่อไปนี้ อปท.ทั่วประเทศ คงไม่ตกเป็นจำเลยของ สพฐ. ที่กล่าวหาว่า อปท.ไม่อุดหนุน ก่อนที่จะคิดในสิ่งที่เป็นลบ โปรดเอาใจเขามาใส่ใจเราบ้าง ว่าทุกกระทรวงเขาก็มีระเบียบและแนวทางปฏิบัติของเขาเหมือนกัน "จงช่วยเหลือตนเองก่อนที่จะให้ผู้อื่นช่วยเหลือ"

(หากจะสอบถาม  โทร.081-8953225 หรือ [email protected])

คำสำคัญ (Tags): #education
หมายเลขบันทึก: 237899เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2009 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:13 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
  • เอามาฝาก
  • การนำรูปขึ้นครับ
  • ·     ไปที่เมนูของ ….

    ·     ไปที่ไฟล์อัลบัม

    ·     กดนำไฟล์ขึ้น

    ·     browse หาภาพจากเครื่อง

    ·     กดบันทึก

    ·     ไปที่บันทึก

    ·     กดแก้ไขบันทึก

    ·     ข้างล่างเขียนเขียนว่า

    ·     แทรกรูปภาพ

    ·     กดที่แทรกภาพ

    ·     จะเห็นภาพปรากฏ

    ·     กดที่ภาพ

    ·     ภาพจะไปอยู่ที่บันทึก

    ·     กดบันทึกเก็บ

    ·     เดี๋ยวจะตามมาดูนะครับ

  • เอาโรปแกรม
  • แต่งรูปมาฝากก่อนครับ
  • ต้องย่อรูปให้เหลือประมาณ 500x400 pix
  • ก่อนนะครับ
  • http://gotoknow.org/blog/katti/199894

    ย่อรูปแต่งรูปพี่ดาวคนสวยใจดี

  • เอามาฝากพี่
  • เผื่อประยุกต์ใช้ได้กับโรงเรียนสองภาษา
  •   http://gotoknow.org/blog/yahoo/221236

จินตนา คงเหมือนเพชร

ขอบคุณอาจารย์ขจิตมากค่ะ ที่ส่งภาพกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ มาให้ชื่นชม ติดต่อเป็นวิทยากรได้ไหมค่ะ แต่โรงเรียนพี่เพิ่งตั้งได้ ๔ ปีเอง ชั้นสูงสุดแค่ ป.๓ ไม่มีภาคปกติ

มีสองภาษาอย่างเดียว

ขอบคุณคำแนะนำมากค่ะ

นำภาพขึ้นสำเร็จแล้วค่ะ

ขอรายละเอียดหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0893.3/ว0020 ลงวันที่ 6 มกราคม 2552 และหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0898.2/ว2611 ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2547 ด่วนด้วยคะ จากนักวิชาการศึกษา จ.ศรีสะเกษ ขอบคุณมากคะ

สวัสดีคุณเปมิกา

เข้าไปเวปของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  ค้นหาในหนังสือราชการ สถ. จะมีครบทุกเรื่อง  ถ้าหาไม่ได้  ไปที่ drwan.com  อาจจะมี

ผอ.นิวัฒน์ เรียบร้อย

ขอขอบคุณท่านจินตนา เป็นอย่างสูง ที่ให้ความกรุณาให้คำปรึกษาวิธีการดำเนินการของบสนับสนุนจากท้องถิ่นได้อย่างแจ่มชัด

ซึ่งได้ดำเนินการถูกต้องตามขั้นตอนแล้ว ฝ่ายบริหารและบอร์ดก็ผ่านความเห็นชอบหมดแล้ว แต่จนท.ใหม่ไฟแรงตอบว่า "ไม่ได้ถ่ายเดียว" ก็ไม่รู้ทำพรือเหมือนกัน "แหนงใหญ่กว่าลำ"

ขอบคุณ ขอบคุณครับท่านจินตนา

จากโรงเรียนในพื้นที่ เทศบาลต,ปากตะโก ชุมพร 081-9563460

สวัสดีค่ะ ผอ.นิวัฒน์ เรียบร้อย

ดีใจค่ะที่ข้อมูลในบล็อคนี้เป็นประโยชน์ต่อท่าน หัวหน้ากองการศึกษาเขาโทรมาคุยแล้วค่ะ เขากลัวว่าจะซ้ำซ้อนกับภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งความจริงแล้ว ทุกภารกิจที่ อปท.อุดหนุนให้โรงเรียนของ สพท.นั้นซ้ำซ้อนทั้งหมด แต่ทำไมยังทำกันอยู่

ก็เพราะผู้บริหารท้องถิ่น (นายกฯ) เห็นว่า เป้าหมายทำเพื่อใคร ทำเพื่อเด็ก เพื่อประชาชนของท้องถิ่นใช่ไหม ถ้าใช่ ก็ทำไปเถอะ

ไม่อุดหนุนไปใส่กระเป๋าใคร สตง.ที่ใคร ๆ กลัวกันนักกันหนา เขาไม่ได้เรียกเงินคืนสุ่มสี่สุ่มห้า เขาดูที่เจตนาว่าทำเพื่อใคร? ใครได้ประโยชน์ ? เป็นภาระหน้าที่หรือไม่ ? ถ้าท้องถิ่นทุกท้องถิ่นช่วยกันพัฒนาคนในท้องถิ่นให้มีคุณภาพ ประเทศไทยคงไม่มีคนโง่เต็มบ้านเต็มเมืองอย่างนี้

ทำไปเถอะท่าน ทำประโยชน์กับเด็กประชาชนจะได้สรรเสริญ ดีกว่าไปทำอย่างอื่น

ผมผ่านมาอ่านความเห็นที่ 11 ของคุณจินตนา คงเหมือนเพชร แล้วรู้สึกว่ายังมีคนที่เห็นความถูกต้องโดยตีความตามเจตนา

มากกว่าตีความตามตัวหนังสือ ต้องบอกว่าคุณจินตนาได้ให้กำลังใจกับผู้ปฏิบัติงานจริง ๆ แบบนี้ ไม่ใช่ "คงเหมือนเพชร" แล้ว

ต้องใช้ว่า "จินตนา เป็นเพชร" ครับ

สวัสดีค่ะคุณบุญศักดิ์  พัฒราช

ขอบคุณที่แวะมาให้กำลังใจค่ะ  ดิฉันเชื่อว่าคนที่ตั้งใจทำงานเพื่อเด็กเพื่อท้องถิ่นมีอีกมากมาย  และพวกที่สูบเลือดสูบเนื้อเพื่อตนเองและพวกพ้องก็มีมากเ่ช่นกัน แต่ถ้าเรามีเจตนาจะทำเพื่อเด็กและเยาวชนในท้องถิ่น  ดิฉันยินดีจะยืนข้างท่าน ระเบียบกฎหมายทุกบทมีทางออกเสมอสำหรับคนดี

แนวทางปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกระจายอำนาจให้ อปท.

เรียน คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่ อปท.

ข้าพเจ้ามีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องการได้คำตอบเพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการปฏิบัติและชี้แจงให้กับผู้บริหารอปท. และโรงเรียนที่ต้องการให้ทาง อบต.อุดหนุนงบประมาณให้ มีคำถามดังนี้

1 ประกาศคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. เรื่องหลักเกณฑ์ฯการสนับสนุนของ อบจ. เทศบาล. อบต. ในการให้บริหารสาธารณะ ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2552 เป็นประกาศที่ใช้ในปัจจุบันและยังไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงใช่หรือไม่

2 ในขณะนี้ทางคณะกรรมการการกระจายอำนาจได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการอำนวยการในระดับจังหวัดแล้วหรือไม่

3 ในโครงการดังต่อไปนี้ อบต.สามารถอุดหนุนให้กับโรงเรียนในสังกัด สพฐ.ได้หรือไม่ เพราะตามพรบ.สภาตำบล อบต.มีหน้าที่ตามข้อ 67 (5)

ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (ทุกโครงการทางโรงเรียนสังกัด สพฐ เป็นผู้ส่งมา) ดังนี้

- อุดหนุนการแข่งขันกีฬานักเรียน สพฐ. - อุดหนุนดุริยางค์โรงเรียน

- อุดหนุนการจัดหาเครื่องดนตรีไทย สากล - อุดหนุนทุนการศึกษา

- อุดหนุนค่าพาหนะในการเดินทางมาโรงเรียน - อุดหนุนอุปกรณ์สนามเด็กเล่น

- อุดหนุนเครื่องกรองน้ำดื่มให้โรงเรียน - อุดหนุนการจัดซื้อพันธ์ปลา กบ พืช

- อุดหนุนการจัดซือ้เครื่องเสียงสำหรับทำกิจกรรมในโรงเรียน - อุดหนุนโครงการสวนสมุนไพรในโรงเรียน

- อุดหนุนการจัดซือ้หนังสือห้องสมุด - อุดหนุนการจัดงานนมัสการพระคู่บ้านสืบสานวัฒนธรรมไทย

ขอความกรุณาให้คำตอบที่ชัดเจนโดยไม่ต้องกลับไปดูประกาศอีกนะคะว่าสามารถอุดหนุนได้หรือไม่

4 โรงเรียนมัธยมในสังกัดของ อบจ. ได้ส่งโครงการระดมทุนเพื่อการศึกษา (หาทุนการศึกษา) มายัง อบต. เราสามารถอุดหนุนให้ได้หรือไม่

อย่างไร หรือต้องอ้างหนังสือสั่งการฉบับใด

5 การอุดหนุนให้โรงเรียนสังกัด สพฐ จะต้องขอหนังสือยืนยันว่าไม่มีงบประมาณจากต้นสังกัดของโรงเรียนและรายงานการประชุมของคณะ

กรรมการสถานศึกษาอีกหรือไม่

6 หากเป็นหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่องค์กรประชาชน องค์กรการกุศล จะต้องทำบันทึกข้อตกลงในการรับเงินอุดหนุนด้วยหรือไม่

เรียนคุณกานต์

ต้องบอกก่อนนะค่ะว่าดิฉันไม่ใช่คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. แต่เขียนจากประสบการณ์ทำงานเท่านั้น  ดูระเบียบประกอบ  และเจตนาที่บริสุทธิ์  อาจจะถูกต้องแต่ไม่ถูกใจ  หรือถูกใจแต่ไม่ถูกต้อง..โปรดอย่าใช้อ้างอิง  แต่ใช้เป็นแนวทางได้บ้าง

ข้อ ๑ ตอบว่าใช่

ข้อ ๒ ตอบว่าเป็นเรื่องของจังหวัด เรา อปท.เล็ก ๆ ไม่ต้องไปแต่งตั้งอะไรทั้งนั้น

ข้อ ๓ โครงการที่บอกมานั้นเป็นเรื่องทางการศึกษาทั้งหมด สามารถอุดหนุนได้ถ้าฐานะทางการเงินการคลังของคุณมีเงินเพียงพอ ให้ดูระเบียบด้วยว่า อบต.อุดหนุนได้ร้อยละเท่าไร

และข้อควรระวังการอุดหนุนทุนการศึกษา รัฐจัดเงินเรียนฟรี ๑๕ ปีแล้ว หากอุดหนุนอีกถือว่าซ้ำซ้อนกับรัฐ  แต่ให้ทุนการศึกษาระดับสูงกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานได้

ข้อ ๔ คำว่าอุดหนุน  เขาต้องมีโครงการบรรจุอยู่ในแผนงบประมาณประจำปี  คุณบรรจุลงในแผน ฯ แล้วหรือ ให้ดูคำตอบข้อ ๓ ร.ร.สังกัด อบจ. ก็ควรไปขอ อบจ.เพราะมีงบมากกว่า  แต่ถ้า อบต.จะอุดหนุนอีกก็แล้วแต่คุณจะพิจารณา อบจ.คงนั่งหัวเราะอยู่

ข้อ ๕ แค่รายงานการประชุมของคณะกรรมการสถานศึกษาฯ ของโรงเรียนนั้นก็น่าจะใช้ได้  เพราะโครงการที่ขอเงินอุดหนุนต่าง ๆ มันต้องผ่านกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทุกโครงกา่รมิใช่หรือ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท