occhealth11
กลุ่มพัฒนาภาคีเครือข่าย งานโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม เขต 11 Env-occ occhealth

แหล่งค้นหาข้อมูลความปลอดภัยเกี่ยวกับสารเคมี


แหล่งค้นข้อมูลสารเคมีน่าสนใจ

 

แหล่งค้นหาข้อมูลความปลอดภัยเกี่ยวกับสารเคมี

      MSDS (Material Safety Data Sheet) หรือ  SDS(Safety Data Sheet)

เป็นเครื่องมือในการสื่อสารชนิดหนึ่งที่สำคัญ ให้ทราบถึงความเป็นอันตรายทางกายภาพ เคมี สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม มาตรการด้านความปลอดภัย ตลอดจนการจัดการเหตุฉุกเฉินที่เกิดจากสารเคมีและวัตถุอันตราย

           เอกสารข้อมูลความปลอดภัย หรือ SDS คืออะไร

คือเอกสารที่แสดงข้อมูลเฉพาะของสาร เคมีแต่ละตัวเกี่ยวกับลักษณะความเป็นอันตราย พิษ วิธีใช้ การเก็บรักษา การขนส่ง การกำจัดและการจัดการอื่นๆ เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับสารเคมีนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยข้อมูลที่แสดงในเอกสารต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด

            คำว่า เอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี หรือ MSDS (Material Safety Data Sheet)  ในแหล่งข้อมูลบางแห่งก็อาจจะใช้คำว่า SDS (Safety Data Sheet)  ทำไมจึงเรียกชื่อต่างกัน และสองคำนี้มีความหมายเหมือนหรือต่างกันอย่างไร 

            MSDS หรือ SDS มีความหมายอย่างเดียวกันคือ เป็นเอกสารที่ให้ข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี เพียงแต่ว่าในบางกลุ่มประเทศอาจจะเรียกชื่อต่างกันไป เช่น

            -  องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization, ILO) และที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (United Nations Conference on Environment and Development, UNCED) ตลอดจนอีกหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เรียก MSDS (Material Safety Data Sheet)

            -  กลุ่มสหภาพยุโรป เรียก SDS  (Safety Data Sheet)

            -  ประเทศมาเลเซีย เรียก  CSDS (Chemical Safety Data Sheet)

            ปัจจุบันนี้ ตามประกาศของสหประชาชาติ เรื่องระบบการจำแนกและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก (The Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals, GHS) กำหนดให้เรียก SDS (Safety Data Sheet) เพียงอย่างเดียว เพื่อให้สอดคล้องและเป็นระบบเดียวกัน (ธิดารัตน์ คล่องตรวจโรค(2550)อ้างอิงจาก (2) )


เป็นแหล่งข้อมูลที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์

         สำหรับ  ผู้บริโภค

                    ผู้ปฏิบัติงานที่ต้องสัมผัสสารเคมี 

                    ผู้ปฏิบัติงานในการขนส่ง

                    ผู้ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
 1.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช(2550).  เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย. นนทบุรี : หน้า 8-77.
2. ขวัญนภัส สรโชติ, รดาวรรณ ศิลปโภชนากุล และวราพรรณ ด่านอุตรา. เอกสารข้อมูลความปลอดภัย Safety Data Sheets . กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์, 2550.
3. ธิดารัตน์ คล่องตรวจโรค  http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=6&ID=2  

เว็ปไซด์แนะนำ

http://msds.pcd.go.th/index.asp

http://www.chemtrack.org/HazMap.asp

หมายเลขบันทึก: 414023เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2010 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท