เผายางกันสนุกนักหรือ?


สารพิษจากการเผายาง

เผายางสนุกนักหรือ?

ช่วงนี้เหตุการณ์บ้านเมืองไม่ค่อยดี (แย่กว่าที่บ่นไว้เมื่อสองปีก่อนเสียอีก) มีการเอายางออกมาเผากันเป็นว่าเล่น เห็นกระทรวง และแพทยสภา ออกมาพูด ก็รู้สึกว่ายังไม่สะใจ เลยไปค้นผลเสียของควันเผาใหม้จากยาง เลยไปได้จาก web ของ หน่วยงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของอเมริกา เนื่องจากยางรถที่ใช้แล้วเขาจะเอาไปทิ้ง และมีการสันดาปหรือไหม้ไฟได้เอง ซึ่งดับยาก และจะปล่อยสารพิษออกมาหลายอย่าง ควันที่ลอยไปก็ไม่ไปใหนใกลหรอกครับ จะจับตัวตกลงมาเป็นผงเล็กๆ เรียกว่า particulated mattered ซึ่งถ้ามีขนาด 10-3 ไมครอน ก็สามารถเข้าไปในปอดได้ ดังนั้นในบริเวณสามเหลี่ยมดินแดง บ่อนไก่ ราชปรารภ ก็จะมีผงเหล่านี้ตกลงมาในพื้นที่มากมาย ประชาชน ทุกคน ไม่ว่าใครก็จะหายใจเข้าไป และก็จะเกิดผลเสียต่อร่างกาย นอกจากนี้ยังมีมลภาวะที่เป็นก๊าซให้หายใจเข้าไปอีกด้วย ในระยะยาวเป็นได้หลายโรคครับ ที่กลัวมากคือเป็นมะเร็ง นอกจากนี้คนที่ไว ต่อควันพิษ เช่นเป็นหอบหืด คนสูงอายุที่เป็นถุงลมโป่งพอง คนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ก็มีสิทธิที่จะมีอาการกำเริบได้  ในภาคเหนือซึ่งอากาศนิ่ง และอยู่ในบริเวณหุบเขา ถ้ามีการเผายางแบบนี้ ก็จะมีมลพิษ (ร้ายแรงมาก) ปกคลุมทั้งภาคเลยทีเดียว เอาล่ะ เรามาดูกันดีกว่าว่าควันไฟจากการเผายางจะเกิดอะไรขึ้น

จากการศึกษาของ US EPA (Environmental Protection Agency) ตั้งแต่ตุลาคม 1997 พบว่าการเผาไหม้ยางรถเก่าจะทำให้เกิดสารที่อันตรายอย่างร้ายแรงต่อมนุษย์  และยังเป็นสารที่ทำให้เกิดการกลายพันธ์อย่างรุนแรง โดยสารที่ทำให้กลายพันธ์ ซึ่งออกมาจากการเผายางใช้แล้วจะมีอันตรายมากกว่าการเผาไหม้ฟืนในเตาถึง   16 เท่า และมากกว่าในที่มีการควบคุมอย่างดีถึง 13000 เท่า นอกจากนี้จะมีการปล่อยสารก่อมะเร็งหลายชนิดออกมาซึ่งได้แก่ benzene, 1, 3- butadiene และ benz (a)pyrene การเผายางในที่โล่งจะปล่อยสารพิษ เช่น สารกลายพันธ์ มากกว่าการปล่อยให้สันดาปธรรมดา (ในที่ทิ้งขยะ) ควันไฟจะประกอบด้วยสารก่อมลพิษหลายชนิดเช่น ละอองขนาดเล็กที่เข้าไปในปอด คาร์บอนมอนออกไซด์ ซัลเฟอร์ออกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx)  และ volatile organic compounds (VOCs) นอกจากนี้ยังมีมลพิษที่ไม่ใช่เป็นสารมลพิษที่พบได้ทั่วไปเช่น Polynuclear aromatic hydrocarbons(PAHs) ไดออกซิน ฟูแรน ไฮโดรเจนคลอไรด์ เบนซีน polychlorinated biphenyls (PCBs) และโลหะหนักเช่น อาร์เซนิก (สารหนู) แคดเมียม นิกเกิ้ล สังกะสี ปรอท โครเมียม และวานาเดียม ซึ่งมลพิษทั้งสองอย่างจะมีผลต่อสุขภาพทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ข้นกับความเข้มของควันและระยะเวลาที่สัมผัส ผลต่อสุขภาพได้แก่ การระคายเคืองผิวหนัง ตา และเยื่อเมือก ผลต่อระบบหายใจ ผลกดการทำงานระบบประสาทส่วนกลาง และมะเร็ง 

                ทั้ง VOCs , PAHs, NOx, benzene และโลหะหนัก ต่างก็เป็นสารก่อมะเร็งที่ไปอาละวาดที่ มาบตาพุดมาแล้ว แต่ตอนนี้ที่จุดต่างๆนี้มีสารเหล่านี้จำนวนมาก น่ากลัวเหลือเกิน หลังจบเหตุการณ์ผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ทหาร นักข่าว  ม็อบ จะต้องมารายงานตัว และเฝ้าระวังโรคตลอดชีวิตครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 359732เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2010 23:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 16:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับอาจารย์ อาจารย์เคยมาสอนที่รพ พุทธฯ วิชาอาชีวเวชฯ ใช่ป่าวครับ

สวัสดีค่ะ

ได้อ่านบทความของอาจารย์แล้ว

ยิ่งเห็นโทษของยางกระจ่างขึ้น

ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่บ้านเมืองเราจะ

เข้าสู่สภาวะปกตินะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท