ปิติกานต์ จันทร์แย้ม : อิสระทำให้โอกาสอยู่กับเรา
ปิติกานต์ จันทร์แย้ม : อิสระทำให้โอกาสอยู่กับเรา จันทร์แย้ม

UKM12 เติมเต็มมุมมอง R2R เพื่อการพัฒนางาน


งานวิจัยจะช่วยในการพัฒนางานประจำ

การจัดเสวนาเครือข่ายจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย (UKM) ครั้งที่ 12 ที่มีมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นเจ้าภาพจัดครั้งนี้ ซึ่งกำหนดจัดระหว่างวันศุกร์ที่ 18 - วันเสาร์ที่ 19 เมษายน 2551 ณ โรงแรมรอแยลฺฮิลล์รีสอร์ท จังหวัดนครนายก โดยกำหนดหัวข้อ "การบริหารจัดการงานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research) ในสถาบันอุดมศึกษาอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพ" โดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีผู้แทนในการเข้าร่วมแลกเปลี่ยนครั้งนี้ 10 ท่าน มีรายชื่อดังนี้

  1. ดร.กีร์รัตน์  สงวนไทร  รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา
  2. รศ.ดร.ก้าน  จันทร์พรหมมา  รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย
  3. ผศ.ดร.มนตรี  อิสรไกรศีล  ผู้อำนวยการศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  4. ผศ.ดร.สุพิศ  ฤทธิ์แก้ว  ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษา
  5. ผศ.ดร.เกียรติกำจร  กุศล  อาจารย์ประจำสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์
  6. นางจินตนา  ศิริวัฒนโชค  หัวหน้าส่วนพัสดุ
  7. นายนิรันดร์  จินดานาค  หัวหน้าส่วนกิจการนักศึกษา
  8. นายเฉลิม  เต๊ะสนู  วิศวกร ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  9. นายชาญชัย  ตันติวัฒโนดม  เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ส่วนแผนงาน
  10. นางสาวปิติกานต์  จันทร์แย้ม  เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป หน่วยพัฒนาองค์กร

สำหรับการเดินทางต้องขอขอบคุณผู้จัดฯ ที่อำนวยความสะดวกจัดเตรียมรถรับที่สนามบิน วันที่ 17 เมษายน 2551 19.00 น. สำหรับเดินทางไปยังโรงแรม และอำนวยความสะดวกการเดินทางโดยรถบัสที่ เมกับพี่ๆ เพื่อน อีก 4 คน จากวลัยลักษณ์จะขอร่วมทางพร้อมกับทีมงาน ในวันที่ 17 เมษายน 2551 07.00 น. ณ บริเวณหน้าตึกสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล  ต้องขอขอบคุณพี่ดุจแขผู้ประสานงาน และคณะผู้จัดมากที่อำนวยความสะดวกเป็นอย่างดี

ตนเองเห็นว่า...หัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่น่าสนใจมากๆ เพราะเชื่อว่า...งานวิจัยจะช่วยในการพัฒนางานประจำ แต่ก็ต้องขอยอมรับว่าการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยในมหาวิทยาลัยยังเกิดขึ้นไม่มาก ด้วยสาเหตุใดนั้นคงต้องมีการสำรวจข้อมูลรอบข้างอีกครั้ง แต่จากการประเมินของตนเองเห็นว่า...

  • พนักงานส่วนใหญ่เห็นว่า งานวิจัยเป็นงานของฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติจะทำงานวิจัยได้หรือ
  • ทำงานวิจัยทำยาก ยาก ยากๆๆๆ ถึงยากที่สุด
  • งานวิจัยทำไปทำไม ในขณะงานประจำก็ล้นมือ

ซึ่งหากเราจะขับเคลื่อนให้เกิดงานวิจัยที่พัฒนางานประจำได้ ต้องทำให้เพื่อนพนักงานรู้สึกว่า

  • งานวิจัยไม่ยากเลย ทำง่ายนิดเดียว
  • งานวิจัยจะช่วยพัฒนางานประจำให้ดีขึ้น จะช่วยให้งานประจำไม่ล้นมือ
  • ต้องมีแรงจูงใจทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินให้ โดยเฉพาะแรงจูงใจที่เป็นคำชื่นชม การสนับสนุน ติดตาม อย่างต่อเนื่องจากท่านผู้บริหารทุกระดับแบบใส่เกียร์ 5
  • .....(ช่วยกันต่อเติมนะคะ) ตอนนี้ยังนึกไม่ออกคะ

คนเองหวังว่าการเข้าร่วมแลกเปลี่ยนครั้งนี้

...จะช่วยเติมเต็มมุมมอง การบริหารงานประจำสู่งานวิจัยเพื่อพัฒนางานให้มากยิ่งๆ ขึ้น จากเดิมตนเองมีประสบการณ์น้อยมาก ทำแบบลองผิดลองถูก เสียน้ำหูน้ำตาและหนักอกหนักใจในการขับเคลื่อน จนรู้สึกว่าไม่อยากขับเคลื่อนอีกในงานชิ้นต่อไป และครั้งนี้คิดว่าจะได้ฟังประสบการณ์ แนวทาง แนวคิดดีๆ ทั้งจาก ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช จากผู้เข้าร่วมเสวนาที่มีประสบการณ์

...ช่วยยืนยันตนเองว่า การทำบริหารงานประจำสู่งานวิจัยจะช่วยพัฒนางานได้จริง ทำอย่างไร

...จะช่วยสร้างทีมแกนนำของมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อนให้เกิดงานวิจัยที่พัฒนางานประจำได้

เติมเต็มความฝันก่อนเดินทาง

ได้มีโอกาสทำ BAR ลักษณะไม่เป็นทางการกับท่านผู้บริหาร และรู้สึก ประทับใจ ตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งว่า หากเราสามารถขับเคลื่อนให้เกิดงานวิจัยที่ช่วยพัฒนางานประจำได้ มหาวิทยาลัยของเราก็จะเป็น Research Community ได้ไม่ยาก ซึ่งตนเองคิดว่าจะทำให้คนวลัยลักษณ์คิดเป็น ทำเป็นและตัดสินใจเป็น

คำสำคัญ (Tags): #r2r วลัยลักษณ์#ukm12
หมายเลขบันทึก: 176309เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2008 17:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ม.วลัยลักษณ์มากันเพียบเลย ดีใจครับได้ F2F ทีมงานครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท