ทำไมคนเราอยากมีเงินเยอะ?


เป็นคำถามเชิงปรัชญา ที่ดิฉันเองถามตัวเองและคนรอบข้างอยู่บ่อยครั้ง..เพราะอะไรเราจึงไม่อยู่อย่างพอเพียง ทำไมเราต้องขายจิตวิญญาณเพื่อค่าตอบแทนที่ได้มาด้วยความไม่สุจริต? และยังมีหลายคำถามที่เกี่ยวกับคำกล่าวข้างต้น

          คำตอบอยู่ที่ว่าท่านผู้อ่านมีมุมมองหรือทัศนคติต่อเงินอย่างไรนั่นเอง

         มีคำตอบคำถามที่ว่า"ทำไมคนเราอยากมีเงินเยอะๆ??"อยู่มากมายแต่ก็เป็นแก่นเดียวกันที่ดิฉันได้ยินบ่อยๆคือ

  • เพราะเราอยากได้
  • เพราะเราอยากมี
  • เพราะเราอยากอยู่
  • เพราะเราอยากกิน

          แล้วก็เกิดคำถามอีกว่า"ทำไมคนเราถึงอยาก...?"

  • เพราะเห็นคนอื่นมีแล้วอยากมีบ้าง
  • เพราะมีเงินแล้วน่าจะสบายขึ้น
  • เพราะมีเงินแล้วทำอะไรไม่น่าเกลียด
  • เพราะมีเงินแล้วจะมีเพื่อน
  • ฯลฯ

ยังมีคำตอบอีกมากมายขึ้นอยู่กับเป้าหมายในชีวิตของแต่ละคนด้วย

          สำหรับตัวดิฉันเอง ดิฉันไม่ปฎิเสธหรอกค่ะว่าอยากมีเงิน...ซึ่งเป็นความรู้สึกของปุถุชนธรรมดา แต่คำว่าอยากมีเงินในมุมมองของดิฉันนั้น หมายความว่ามีเพื่อการดำรงชีวิตอย่างปกติสุข พออยู่พอกิน และทัศนคติอย่างหนึ่งของดิฉันที่ระลึกอยู่เสมอมาก็คือ "หากมีเรามีเท่าใดก็ใช้เท่านั้น แต่ต้องมีเงินออมไว้ยามจำเป็น กล่าวคือทำให้ชีวิตเราพอดีกับเงินที่เรามีอยู่ เราก็จะมีความสุขกับกับสิ่งที่เรามีอยู่นั้น จึงไม่ต้องคำนึงว่าทำไมเราไม่มีเงินเยอะๆ? เนื่องจากว่าเรามีเพียงพอแล้วนั่นเอง"

          นอกจากนี้ เงื่อนไขที่สำคัญที่สุดในการ"หาเงิน" คือต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของงานที่เรารักและงานที่สุจริต สิ่งนี้นี่เองคือความสุขที่แท้จริง เงินจะเยอะหรือไม่ ไม่สำคัญหากคนเราพึงพอใจกับอาชีพที่เรารักและมีความพอใจในสิ่งที่ตนนี้มีอยู่ ประกอบกับการจัดการการใช้จ่ายที่ดี นี่เป็นเหตุผลของดิฉันต่อคำถามดังกล่าวว่า "เงินไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของชีวิตของคนเรา เนื่องจากเราหามาได้เยอะจริง แต่หากไม่ได้ใช้ เมื่อสิ้นอายุขัยไปก็เอาไปไม่ได้....นี่เเหละชีวิต"

          แล้วท่านผู้อ่านล่ะคะจะมีคำตอบอะไรในใจแล้วหรือยัง???

หมายเลขบันทึก: 65222เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2006 22:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 20:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

เพียงพอ คือ พอเพียง เห็นด้วยเลยครับ ทำงานที่เงินเยอะแต่ไม่มีความสุขก็เท่านั้นเนาะ

  • ขอบคุณค่ะ คุณ Aj Kae
  • หากทุกคนมีอย่างพอเพียง และใช้ให้เพียงพอ ก็คงไม่เกิดปัญหาฉ้อราษฎร์หลวงในองค์กรต่างๆ ฉะนั้นคำตอบที่ดีทึ่สุดคือว่าทำให้เราเป็นนายของเงินไม่ใช่ว่าให้เงินเป็นนายเรา เท่านี้เราก็ต้องหาคำตอบคำถามข้างต้นให้วุ่นวายใจ
  • อีกทั้งแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาในการดำเนินชีวิตของ"พ่อหลวงหรือในหลวง" ของปวงชนชาวไทย เมื่อพ่อหลวงพ่อของแผ่นดินแนะนำสั่งสอนให้ลูกมีวินัยในการใช้เงินที่ดี พวกเราปวงชนชาวไทย ในฐานะลูกของพ่อหลวง ไฉนเลยจะเพิกเฉยไม่ใส่ใจกับความพอเพียง....
  • ในหลวงขอจงทรงพระเจริญ

พี่ต้อยก็มีความคิดเช่นเดียวกับน้องกิ๊ก มีความสุขกับสิ่งที่มีและเป็นอยู่ในปัจจุบัน เพราะคิดอยู่เสมอว่าสิ่งที่มีและเป็นอยู่ในปัจจุบันเมื่อหมดอายุขัยก็เอาไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นพี่ต้อยจะคิดเสมอว่าวันนี้พี่ต้อยทำบุญแล้วหรือยังเพราะเขาให้เราเกิดมาเพื่อต้องทำบุญเพื่อให้หมดเวรหมดกรรมจะได้ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีก

เงินก็เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตในปัจจุบันครับ แต่สำหรับผมใช้เท่าที่หามาได้ครับ และเหลือเก็บไว้สำหรับอนาคต และกรณีฉุกเฉิน   แต่มีสิ่งที่เห็นครับว่าเงินมากเท่าไหร่ก็ซื้อไม่ได้ คือ เวลา เพื่อนแท้ มิตรภาพ และความรักครับ
  • ขอบคุณพี่ต้อยค่ะ
  • ขอบคุณคุณเจษฎา ศุนาลัยมากค่ะ
  • ที่ให้เเง่คิดดีๆกับดิฉันในอีกด้านค่ะ...

 

มาบริโภคธรรมะด้วยคนค่ะ

  • ขอบคุณค่ะอ.แหวว
  • ไม่เห็นอ.นานมากเลยค่ะ คิดถึงค่ะ
  • หนูเริ่มชอบเขียนบล็อกขึ้นมาแล้วค่ะอาจารย์

พูดยากค่ะ ที่ว่าเพียงพอ ทุกคนมีจุดวัดความพอเพียงต่างกัน

ส่วนตัว อยากมีเงินอยู่นะคะ เพราะกลัวว่าจะไม่มีเงินต้องที่ต้องการเงิน (งงมั้ยเนี่ย)

  • เมื่อไหร่ที่อยากได้อะไรแล้วหาเงินมาได้ โดยไม่ลำบากนัก
  • อยากกินอะไรแล้วหากินได้โดยไม่ลำบากนัก
  • เจ็บป่วยอะไรแล้วหาเงินมารักษาได้โดยไม่ลำบากนัก
  • น่าจะเรียกว่า "คนรวย" ได้แล้วนะคะ

เค้าถึงได้บอกว่า คนที่ไม่รู้จักพอ ก็เลยไม่รวยซะที

อีกนัยนึง คนที่รวย น่าจะเป็นคนที่มีแบ่งให้คนอื่นได้ คนที่แบ่งปัน ความรู้ น้ำใจ ความเมตตา ความเอื้อเฟื้อ เลยเข้าข่าย "คนรวยน้ำใจ" นั่นเอง

ตอนนี้ก็รวยเพื่อนฝูงไปก่อนดีกว่า

^_____^

  • ขอบคุณค่ะคุณ IS
  • ที่ให้เเง่คิดในอีกมุมหนึ่ง ดิฉันเห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ

เงิน เป็นตัวแทนแห่งความแลกเปลี่ยนวัตถุ

ทิศทางของเงิน

หาเงิน กับ ใช้เงิน

อยากมีเงิน ต้องหาเงิน และต้องหาให้ถูกวิธี ถูกกฏ(หมาย) ถูกศีลธรรม

หาเงินได้ ก็ต้องใช้

การใช้เงิน

จ่าย(ใช้ในวันนี้) กับ ออม(ใช้ในวันหน้า)

  • ถ้าหาเงิน มากกว่าใช้ ก็มีเงินเหลือ(ไว้ออม)
  • ถ้าหาเงิน น้อยกกว่าใช้ ก็มีหนี้

เงินซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกสบายได้

แต่ซื้อความสุขไม่ได้

  • ขอบคุณค่ะคุณตาหยู ที่ให้ข้อคิดดีๆเพิ่มเติม..ดิฉันเห็นด้วยค่ะว่าเงินไม่อาจซื้อความสุข(ระยะยาว)ได้ค่ะ
  • ถ้าคนเรามีความพอเพียง พอให้อยู่ได้ไม่โลภ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ฟุ่งเฟ้อ สังคมคงดีกว่านี้ บ้านเราคนเก่งมาก แต่ไม่ใช่คนดี การโฆษณาส่งเสริมให้เยาวชน อยากได้ อยากมี แต่ไม่อยากทำงานหนัก ผมบ่นมากไปหรือเปล่าครับ ขอบคุณมากครับ
  • ขอบคุณมากค่ะคุณขจิตที่แวะมาทักทายค่ะ
  • การบ่นดังๆ มักจะเป็นการจุดชนวนความคิดได้ดีค่ะ
  • ดิฉันด้วยอย่างยิ่งกับคุณขจิตค่ะ..เยาวชนสมัยนี้เห็นวัตถุนิยมเป็นสิ่งที่ต้องมีต้องได้ ได้ข่าวมาจากเพื่อว่ามีนักเรียนกว่าสองพันคนของโรงเรียนในปริมณฑลโรงเรียนหนึ่งประท้วงอาจารย์ที่ไม่ให้เอาโทรศัพย์มือถือเข้าห้องเรียน ร้อนถึงตำรวจต้องเข้ามาไกล่เกลี่ยให้และยอมตามที่นักเรียนร้องขอ...นี่เป็นค่านิยม ผิดๆอันเป็นผลของโฆษณาและส่วนหนึ่งก็มาจากผู้ปกครองที่ตามใจบุตรของตนเกินเหตุ....คำถามต่อสังคมนี้.....กระแสนี้จะรุนแรงขึ้นหรือไม่???คงต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐที่จะช่วยเข้ามาจัดระเบียบทางสังคมและที่สำคัญที่สุดคือ ครอบของเยาวชน ควรอบรมสั่งสอนบุตรให้รู้จักความพอเพียง
  • สวัสดี ตอนสี่ทุ่มเป๊ะเลยค่ะ
  • สำหรับดิฉันแล้ว
  • อยากมีเงินเยอะๆๆๆ เนื่องจากความจำเป็นบางประการ คือ

                    - มีเงินแล้ว ทำให้ชีวิตไม่เดือดร้อนเรื่องปัจจัยสี่  มีความมั่นคงในอนาคต ว่าไม่อดแน่ เพราะไม่มีลูกกะเค้าแม้แต่คนเดียว ไม่มีบ่วงนิวรณ์ใดๆ

                    - มีเงินแล้ว น่าจะมีเวลาเยอะขึ้นหน่อย จะให้รางวัลชีวิตได้ ท่องเที่ยว ศึกษาโลก ไปดูอะไรต่อมิอะไรได้  ที่เกิดมาแล้วยังไม่ได้ดู ยังไม่ได้รู้

                    - มีเงินแล้ว จะได้มีกำลังช่วยเหลือผู้อื่นได้ ให้เค้ามีทุกข็น้อยลงได้  หรือช่วยส่งเสริมคนที่เค้าขาดโอกาส ให้มีโอกาสมากขึ้นค่ะ

  •        นอนหลับฝันดีค่ะ

                    -

ขอบคุณค่ะคุณBright Lily

 

  • ให้แง่มุมอีกมุมหนึ่งค่ะ
  • แต่การอยากมีเงินนั้นไม่ใช่เรื่องผิดค่ะ...เพราะหากรู้จักกินรู้จักใช้และนำเงินเยอะนั้นไปจัดสรรประโยชน์...เช่น ของคุณ Bright Lily ก็จะเป็นการสร้างสรรสังคมและชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองที่ดีขึ้นค่ะ

เรามีเงินเพื่อใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันและเก็บออมเอาไว้ใช้ยามจำเป็นข้างหน้า แต่สิ่งที่ลืมไม่ได้นั่นคือเลี้ยงดูคุณพ่อคุณแม่ของเรา คนรอบข้าง และก็อย่าลืมช่วยเหลือสังคมด้วย คนเราเกิดมาไม่มีทรัพย์สิน สิ่งมีค่าติดตัวมา ตายไปก็ไม่สามารถนำติดตัวไปได้ด้วยเช่นกัน เราควรอยู่อย่างพอเพียง หาความสุขที่แท้จริงให้กับตัวเราเอง นี่แหละคือความสุดยอดแล้วของชีวิต

  • ขอบคุณค่ะคุณ Freemasonry ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นดีๆเพิ่มเติม..ดิฉันเห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ

ขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะที่เข้ามาเยี่ยมชม

ส่วนตัวพี่ มีทั้ง พอเพียง และ เพียงพอ เจ้า

ดีมากๆ เลยค่ะคุณครูใหม่ และขอบคุณสำหรับความคิดเห็นค่ะ

เงินใช่คำตอบสุดท้ายหรือไม่คับ

ถ้ามองกันดีๆแล้วเงินเป็นเพียงทุนที่พึ่งเกิดขึ้นมาระบบของทุนนิยมแล้วการพอเพียงนั้นผมมองว่ามันเกิดมานแล้วคับแต่เมื่อระบบทุนนิยมได้เข้าสู่ระบบสังคมทุกอย่างก็เปลี่ยนไป

มีคำหนึ่งที่บอกว่า เงินทองของมายา ข้าวปลาซิของจริง

อ่านแล้วรู้สึกดีจัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท