การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อระบายน้ำในโพรงสมองแบบถาวร ( VP shunt)


การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อระบายน้ำในโพรงสมองแบบถาวร

เจ้าแม่ neuro พี่พิกุลอยากเล่าเรื่อง VP shunt ให้เราทราบ

จะใส่ VPshunt ก็เพราะมี hydrocephalus  แล้วมันคืออะไรหละ

ไฮโดรเซฟาลัส หมายถึง สภาวะที่มีปริมาณของน้ำหล่อสมองไขสันหลังมากเกินปกติ จึงมีผลต่ออาการทางสมอง ซึ่งควรได้รับการพิจารณาใส่ท่อระบายน้ำในโพรงสมองแบบถาวร (VP shunt)

                สาเหตุของการเกิดไฮโดรเซฟาลัส มีมากมาย เช่น เคยมีเลือดออกในทางเดินน้ำหล่อสมองไขสันหลัง เคยได้รับอุบัติเหตุทางสมอง เคยมีโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือมีเนื้องอกอุดกั้นทางเดินน้ำหล่อสมองไขสันหลัง หรือไม่ทราบสาเหตุ

                การผ่าตัดวางท่อระบายน้ำในโพรงสมองแบบถาวร จำเป็นต้องดมยาสลบและมีแผลผ่าตัดอยู่ 2 ตำแหน่ง คือที่ศีรษะและที่ท้อง ขนาดประมาณ 5 เซนติเมตร ดังรูป

ภาวะแทรกซ้อนหลังการได้รับการใส่ท่อระบายน้ำในโพรงสมอง อาจเกิดได้ดังต่อไปนี้

1.       อาการปวดศีรษะ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงความดันในช่องโพรงสมอง ส่วนมากจะหาย

ไปเองภายใน 1 สัปดาห์ ในช่วงนี้ควรนอนพักผ่อนให้มากที่สุด เพื่อให้ระดับศีรษะอยู่ในระดับเดียวกัน ลดกิจกรรมลุก นั่งหรือยืน

2.       การติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด เพื่อลดการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด ไม่ควรแกะหรือเกาแผล

3.       การติดเชื้อของท่อระบายน้ำในโพรงสมอง พบได้ตั้งแต่หลังผ่าตัดเป็นต้นไป อาจเกิดในภายหลังหรือเป็นปีก็ได้ สังเกตได้ว่าจะมีไข้ ปวดศีรษะหรือคอแข็ง

4.       ท่อระบายน้ำในโพรงสมองตัน จะมีอาการของภาวะไฮโดรเซฟาลัสกลับมาใหม่

       (ที่ได้กล่าวข้างต้น)

 

5.       มีเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง ซึ่งเกิดได้ในระยะยาว เป็นเดือนหรือปีโดยมักจะมีอาการปวด

                       ศีรษะมาก ซึมลง

ข้อควรทราบของผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัด

1.       ในสัปดาห์แรก หลังจากการใส่ท่อระบายน้ำในโพรงสมอง ควรค่อยๆนอนพักผ่อน ขยับลุก

                       นั่ง ยืน เดิน ในวันหลังๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการปวดศีรษะ หรือเวียนศีรษะของผู้ป่วย

2.       ไม่ควรแกะหรือเกาแผลผ่าตัด

3.       เมื่อแผลถูกน้ำ ควรทำให้แห้งโดยเร็ว โดยใช้ผ้าสะอาดเช็ดหรือเป่าให้แห้ง

        อาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ก่อนวันนัด

1.       สังเกตแผลผ่าตัด ถ้ามีอาการอักเสบ ปวด บวม แดง ร้อน มีหนอง น้ำเหลืองไหล

2.       มีอาการแพ้ยา เช่น มีผื่น ใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน พูดไม่ชัดจากเดิม ตากระตุก ให้หยุดกินยา

3.       เมื่อมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดศีรษะมาก คอแข็ง ก้มคอไม่ได้ ตาพร่ามัว ชักหรือหมดสติ

 มีไข้สูง

4.       ง่วงซึม กระสับกระส่าย ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้

ข้อควรปฏิบัติของผู้ป่วยและญาติ

1.       ควรมาตรวจตามนัดทุกครั้ง

2.       ดูแลให้ยาตามแพทย์สั่งให้ครบถ้วย ตามวัน เวลาและขนาด

3.       รับประทานอาหารที่มีประโยชน์จำพวกโปรตีน ผัก ผลไม้ นม ไข่ จะช่วยให้ร่างกาย

        แข็งแรง

4.       พักผ่อนให้เพียงพอ ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก

5.       ลดความเครียด โดยทำจิตใจให้สงบ

วันนี้ฝากไว้แค่นี้ก่อน แล้วพบกับป้าพิกุลได้ใหม่ในไม่ช้านี้

คำสำคัญ (Tags): #vp shunt#การพยาบาล
หมายเลขบันทึก: 288780เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2009 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

มีประโยชน์สำหรับผมมาก ขอบคุณมากๆครับ

ผมก็เป็นหนึ่งในนั้นที่ฝังท่อระบายน้ำออกจากโพรงสมองตอนนี้ยังปกติดีครับ

ผมก็จะทำ VP shunt เร็วๆนี้ครับ

ไส่ท่อมาได้ประมาณ​20วัน​ มีอาการมึนหัวมา2วัน​ ไม่รู้​จะเกี่ยวกับ​ท่อที่ไส่มาหรือเปล่า​

น้องอายุ9ปี ค่ะ เปลี่ยนสายยาง vp shunt รอบนี้มาได้5เดือนแล้วค่ะ มีอาการ อาเจียน ปวดหัว มาตลอด ทำ CT แล้ว หมอบอกปกติ อยากขอความคิดเห็นจากผู้รุ้ ว่า เกิดจากสาเหตุ อะไรค่ะ น้องถึงปวดหัวบ่อยๆ หลังผ่า ค่ะ

ผมใสมาห้าปีตอนนี้มีอาการปวดหัววินหัวหมอนัดให้ผูกท่อระบายนอนดูอาการสามวันว่าจะใด้ปรับที่ระบายหรือถอดออก หากท่านที่ใสสายระบายน้ำมีอาการผิดปกติใดควรปรึกษาหมอเจ้าของใข้ก่อนหายากินเองนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท