แนวทางช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาทางระบบประสาท ตอนที่ 2


ขอบคุณผู้เขียน: ดร. เกลน โดแมน และทีมงานจากสถาบันเพื่อความสำเร็จของศักยภาพมนุษย์ ผู้แปล: ดร.ป๊อป

คำเตือน: คำแนะนำเหล่านี้ไม่สามารถถือเป็นคำแนะนำจากแพทย์และนักบำบัดโดยตรง และการนำแนวทางไปใช้ควรปรึกษาแพทย์และนักบำบัดโดยละเอียด

หลักการสำคัญ:

  1. สอนเด็กให้เรียนรู้การทำงานของสมองผ่านการมองเห็น การได้ยิน การรู้สึก การรับรส และการดมกลิ่น
  2. สมองมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีกลไกที่เปลี่ยนแปลงได้
  3. การรักษาเฉพาะอาการสมองที่บาดเจ็บนั้นจะไม่เห็นผลมากนัก
  4. ยังมีความหวังในการพัฒนาศักยภาพของเด็กที่มีปัญหาทางระบบประสาท
  5. ผู้ปกครองคือคนสำคัญที่ทำให้เด็กมีความเป็นอยู่ดี

แลกเปลี่ยนเรียนรู้โภชนาการของเด็ก

1.   คุณต้องรู้อะไรบ้าง

  • สิ่งที่เรากิน ดื่ม และหายใจ มีผลต่อการทำงานของสมอง โภชนาการที่ดีส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมอง โภชนาการที่ไม่ดีจะทำให้สมองเจริญเติบโตและพัฒนาการช้า ไขมันที่มีคุณค่ากับสุขภาพเป็นแหล่งพลังงานและส่งเสริมการเจริญเติบโตของสมอง โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตที่มีคุณค่ากับสุขภาพเป็นแหล่งพลังงาน ส่งเสริมการการเจริญเติบโตของสมอง และการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
  • แสงแดดมีความสำคัญต่อสุขภาพของกระดูก ร่างกาย ภูมิต้านทานโรค และการทำงานของสมอง ถ้าเด็กมีการติดเชื้อทางระบบหายใจ ท่อโพรงจมูก หู สาเหตุอาจมาจากภูมิแพ้อาหารและสิ่งแวดล้อม
  • ภูมิแพ้สารอาหารอาจทำให้ท้องผูก ท้องร่วง ปัญหาระบบย่อยอาหาร ผื่นคัน หงุดหงิดง่าย ไม่อยู่นิ่ง ปัญหาพฤติกรรม และอาการชักบ่อยครั้ง อาการคล้ายหวัดหรือโรคทั่วไปอาจมีผลมาจากอาหารเป็นพิษ ซึ่งควรสัมผัสอาหารอย่างถูกสุขอนามัยและถนอมอาหารในตู้เย็น

2.       คุณควรทำอะไร

  • ให้นมแม่แก่ลูกให้นานในช่วงวัยทารก ให้อาหารจำพวกผักและผลไม้ที่หลากหลายในแต่ละวัน ให้ลูกของคุณทานอาหารที่อุดมด้วยไขมันจากถั่ว ธัญพืช อะโวคาโด น้ำมันมะกอกธรรมชาติ น้ำมันมะพร้าว เนยถั่วธรรมชาติ  หรือปลา และคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านกระบวนการมากนัก เช่น ข้าวกล้อง ถั่ว และเมล็ดพันธุ์พืช
  • เตรียมและทำอาหารเองโดยกระบวนการปลอดสารพิษ และให้อาหารลูกของคุณอย่างน้อยวันละสี่มื้อที่มีสารอาหารเหมาะสม ถ้าเด็กมีปัญหาการเคี้ยวและการกลืน ควรให้มื้ออาหารปริมาณน้อยต่อมื้อและเพิ่มมื้ออาหารมากกว่าสี่ครั้งต่อวัน
  • ลดอาหารที่เด็กแพ้ เช่น นมหรือผลิตภัณฑ์จากวัว แป้งสาลี ถั่วเหลือง และข้าวโพด ควรให้เด็กได้ทานอาหารจำพวกโปรไบโอติกส์ เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต และควรฝึกสัมผัสอาหารให้ถูกสุขอนามัย เช่น อ่านฉลากวันหมดอายุของอาหาร หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์พื้นบ้าน ปรุงไก่หรือหมูให้สุก ใช้เครื่องครัวแก้วทนความร้อนหรือสแตนเลส

3.       คุณไม่ควรทำอะไร

  •  อย่าให้เด็กกินอาหารสำเร็จรูป เช่น ฮ๊อดด๊อก ขนมขบเคี้ยว คุ๊กกี้ และอาหารฟาสต์ฟู้ด อย่าให้เด็กปรุงอาหารด้วยเกลือ น้ำตาล และสารอาหารเทียมเพิ่มความหวาน อย่าให้เด็กกินอาหารที่ผสมด้วยสีเทียมและรูปรสที่ชวนหลงใหล อย่าให้เด็กดื่มน้ำอัดลม น้ำเกลือแร่ นมช็อคโกแล็ต น้ำผลไม้ คาเฟอีน หรือเครื่องดื่มพร่องคาเฟอีน
  • อย่าให้เด็กกินอาหารทำจากเนยเทียมหรือไขมันแข็งที่เกิดจากการเติมไฮโดรเจนพันธะคู่ในน้ำมันพืชที่ีมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว อย่าให้เด็กทานอาหารทอด เช่น มันฝรั่งทอด ก้อนเนื้อไก่ทอด อย่าให้อาหารที่สังเกตว่าทำให้เด็กแพ้และมีพฤติกรรมที่แย่ลง
  • อย่าให้เด็กทานอาหารซ้ำๆ ทุกวัน อย่าให้เด็กทานอาหารที่เหลือหรือค้างไว้ในตู้เย็นนานกว่า 2 ชั่วโมง อย่าละเลยวันหมดอายุบนผลิตภัณฑ์อาหาร และอย่าให้บุคคลอื่นๆ ป้อนอาหารเด็ก เว้นแต่คุณจะพิสูจน์อาหารนั้นแล้ว      

แลกเปลี่ยนเรียนรู้สมดุลของน้ำและของเหลวของเด็ก

1.   คุณต้องรู้อะไรบ้าง

  • น้ำบริสุทธิ์คือของเหลวที่ดีที่สุดสำหรับลูกของคุณ สมดุลของของเหลวสำคัญต่อการทำงานที่ดีของสมอง ให้สังเกตความสมดุลของของเหลวจากความชุ่มชื่นในปากและปัสสาวะใส การได้รับของเหลวน้อยหรือมากเกินไปเป็นอันตรายต่อร่างกายและสมอง
  • น้ำผลไม้ น้ำอัดลม และน้ำหวาน มีผลต่อภาวะโภชนาการในเด็กที่มีปัญหาทางระบบประสาท เช่น ลดรสชาติอาหาร เพิ่มความกระหายน้ำ และทำให้สำรอกอาหารจากกระเพาะสู่หลอดอาหาร  อาหารที่เค็มหรือหวานจัดทำให้ของเหลวในร่างกายคงที่และเพิ่มความกระหายน้ำ
  • ของเหลวมากเกินไปทำให้อาการชักบ่อยขึ้น หงุดหงิดง่าย ไม่อยู่นิ่ง และน้ำลายไหล เด็กที่ไม่อยู่นิ่งชอบดื่มน้ำมากเกินไปจากก๊อกน้ำประปา ขณะอาบน้ำ ขณะว่ายน้ำในสระ โดยไม่ให้ผู้ปกครองรู้ การดื่มน้ำระหว่างทานอาหารชะลอระบบย่อยอาหารและทำให้สำรอกอาหารมากขึ้น

2.       คุณควรทำอะไร

  • ให้เด็กดื่มน้ำบริสุทธิ์ระหว่างมื้ออาหารในปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้งได้ แน่ใจว่าลูกของคุณดื่มน้ำพอเพียงจนมีความชุ่มชื่นในปากและปัสสาวะใส ถ้าเด็กกลืนของเหลวลำบาก ให้อาหารจำพวกผักและผลไม้สดและชุ่มชื่น
  • ถ้าเด็กป่วยเป็นไข้ อาเจียน หรือท้องร่วง ควรให้เด็กได้รับของเหลวปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้งเพื่อป้องกันอาการสูญเสียน้ำในร่างกาย ถ้าเด็กมีอาการชัก และ/หรือไม่อยู่นิ่ง ให้ระวังและควบคุมปริมาณและชนิดของการดื่มของเหลวของเด็ก

3.       คุณไม่ควรทำอะไร

  •  อย่าให้เด็กดื่มน้ำสำเร็จรูปแทนน้ำบริสุทธิ์ อย่าให้เด็กดื่มน้ำอัดลม น้ำเกลือแร่ นมช็อคโกแล็ต น้ำผลไม้ คาเฟอีน หรือเครื่องดื่มพร่องคาเฟอีน อย่าให้เด็กดื่มของเหลวที่มากหรือน้อยจนเกินไป อย่าให้เด็กดื่มน้ำก่อนและระหว่างมื้ออาหารทันที
  • อย่าให้เด็กดื่มน้ำก่อนนอน 2-3 ชั่วโมงถ้าเขามีอาการชัก อย่าให้ลูกคุณที่อายุน้อยกว่า 6 เดือนดื่มน้ำจากท่อประปา อย่าให้เด็กที่ไม่อยู่นิ่งได้รับอนุญาตให้ใช้น้ำหรือดื่มน้ำในอ่างอาบน้ำหรือสระน้ำ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมของเด็ก

1.   คุณต้องรู้อะไรบ้าง

  • สมองต้องการออกซิเจนมากขึ้นในสิ่งแวดล้อมที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูง สมองที่กำลังเติบโตนั้นบอบบางต่อควันบุหรี่ ฝุ่น เห็บไร ละอองเกสร รา ขนสัตว์ ซึ่งก่อให้เกิดภูมิแพ้และหอบหืด รวมถึงสารพิษที่ใช้ในบ้าน ในอาหาร หรือติดมากับเสื้อผ้าและรองเท้า
  • ควันบุหรี่ที่สูบซ้ำๆ หรือขี้บุหรี่ที่ติดตามเสื้อผ้าและเฟอร์นิเจอร์ทำให้เด็กมีปัญหาระบบหายใจ มีอาการชักมากขึ้น และลดระดับวิตามินโดยเฉพาะวิตามินซี น้ำจากท่อประปาอาจมีส่วนผสมของคลอรีน ฟูลออไรด์ ทองแดง แบคทีเรีย และสารโลหะหนัก  สมองบาดเจ็บได้จากการได้รับสารพิษจำพวกตะกั่ว ปรอท สารหนู และสารโลหะหนักอื่นๆ รวมทั้งควันบุหรี่มีสารพิษถึง 4,000 ชนิดที่ประกอบด้วยคาร์บอนโมนอกไซด์และสารหนู
  • ตะกั่วเข้าสู่ร่างกายจากการดื่มน้ำในท่อประปาหรือการสูดดมควันรถยนต์ ไฟไหม้ ฝุ่นในบ้าน หรือสารระเหยของสีทาบ้าน ส่วนปรอทและสารโลหะหนักอื่นๆ มาจากการสูดดมควันเผาไหม้หรือการกินปลา

2.       คุณควรทำอะไร

  • รักษาอุณหภูมิและความชื่นในสิ่งแวดล้อมที่สบายแก่เด็กตลอดฤดูกาล ปลูกผักปลอดสารพิษถ้าจำเป็น ล้างผักผลไม้ให้ปลอดภัยด้วยสารที่ไม่มีพิษและชะล้างด้วยน้ำบริสุทธิ์เพื่อกำจัดแบคทีเรียและยาฆ่าแมลง กรองหรือต้มน้ำในท่อประปาเพื่อใช้ดื่ม อาบน้ำ และรดน้ำจากฝักบัว
  • ทำอากาศในบ้านให้สะอาดด้วยเครื่องกรอง เปลี่ยนประจุ หรือฟอกอากาศ รวมทั้งล้างมือของลูกและของคุณหลังจากใช้ห้องน้ำและระหว่างวันเพื่อลดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อปรสิต และเชื้อไวรัส
  • รักษาบ้านให้สะอาด ปลอดฝุ่น โดยนำรองเท้าวางไว้ก่อนเข้าประตู ใช้เครื่องดูดฝุ่นที่มีแผ่นกรองเพื่อกำจัดไรฝุ่นที่เล็ดรอดมาจากเครื่องดูดฝุ่นทั่วไป หมั่นซ่อมแซมพื้นผิวที่ทาสีเสมอ และอย่าให้เด็กทดลองใช้สารตะกั่วและสารโลหะหนักอื่นๆ

3.       คุณไม่ควรทำอะไร

  •  อย่าให้เด็กอยู่ในอุณหภูมิและความชื้นที่สูง ไม่อนุญาตให้ใครสูบบุหรี่ใกล้ตัวเด็ก อย่าสูบบุหรี่ในบ้านหรือรถยนต์ อย่าใช้สารพิษทำความสะอาดหรือสารเคมีเพื่อกำจัดสารพิษ ควรหาวิธีทางธรรมชาติที่ปลอดภัยในการรักษาความสะอาดบ้าน อย่าใช้ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีอันตรายภายในหรือรอบบ้านคุณ อย่าปล่อยให้เด็กที่มีปัญหาทางระบบประสาทเผาเทียนหรือเผาไม้ภายในบ้านคุณ
  • อย่าเลี้ยงสัตว์ภายในบ้านที่ทำให้ลูกของคุณเกิดอาการภูมิแพ้หรือมีปัญหาต่อระบบการหายใจ อย่าให้ลูกทานปลาทูนาที่ขาวมากเกินไป เพราะอาจมีส่วนผสมของปรอท และอย่าเก็บผลิตภัณฑ์สารเคมีในบ้าน เช่น สารละลาย สารทำความสะอาด และสีผสม

แลกเปลี่ยนเรียนรู้การให้ยาและการผ่าตัดของเด็ก

1.   คุณต้องรู้อะไรบ้าง

  • การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไปนั้นอันตรายและส่งผลให้เกิดภูมิแพ้และลดภูมิคุ้มกันโรค เด็กที่มีปัญหาทางระบบประสาทไม่สามารถทนต่อขนานยาได้เท่าเด็กปกติ การใช้ยามีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน
  • อาการชักเป็นอาการหนึ่งจากสมองที่ได้รับบาดเจ็บ ยาระงับอาการชักไม่ช่วยรักษาการบาดเจ็บของสมอง ไม่ป้องกันอาการชักที่พัฒนามาจากสมองที่ได้รับบาดเจ็บ กดระงับการทำงานของสมอง มีปัญหาพฤติกรรมหรือการเรียนรู้ และอาการชักซ้ำได้ เด็กที่มีอาการชักส่วนใหญ่ไม่ต้องการยาระงับอาการชักในระยะยาว และหลายคนไม่จำเป็นต้องใช้ยาระงับอาการชัก ซึ่งผลข้างเคียงของการใช้ยาระงับชัก เช่น ปัญหาต่อผิวหนัง ตับ เลือด และไต
  •  ยาแอมเฟตามีน  เช่น ไรทาลิน ไม่ช่วยรักษาสมองที่บกพร่องด้วยภาวะความสนใจสั้นและไม่อยู่นิ่งของเด็ก การผ่าตัดนั้นไม่แก้ไขที่สาเหตุของสมองที่บาดเจ็บ หากแก้ไขผลจากสมองที่บาดเจ็บต่อเอ็น กล้ามเนื้อ ลูกตา สะโพก เข่า และข้อเท้า

2.       คุณควรทำอะไร

  • ลูกของคุณต้องการแพทย์ที่มีศักยภาพ เอาใจใส่ และให้เวลาได้เสมอ ในระดับการรักษาขั้นแรกสุด มั่นใจว่าคุณเข้าใจถึงยาอะไรที่แพทย์สั่ง ทำไมต้องใช้ยานี้ รวมทั้งผลข้างเคียงของยาที่อาจเกิดขึ้นกับลูกของคุณ และหมั่นตรวจสอบขนานยาที่แพทย์สั่งหรือสารอาหาร/วิตามินเสริมกับยาข้างต้น
  • ถ้าเด็กติดเชื้อแบคทีเรียและต้องการยาปฏิชีวนะ ควรให้ยาอย่างต่อเนื่องจนครบกำหนด และอาจมีการตรวจเพาะเชื้อให้ชัดเจนระหว่างแบคทีเรียหรือไวรัส
  • ให้เด็กทานสารอาหารจำพวกโปรไบโอติกส์ ระหว่างการใช้ยาปฏิชีวนะและหลังจากใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน มั่นใจว่าคุณและลูกนอนหลับเพียงพอ (7-8 ชั่วโมงสำหรับผู้ใหญ่, 10-12 ชั่วโมงสำหรับเด็ก) และควรพิจารณาทางเลือกอื่นที่ช่วยพัฒนาการทางสมองก่อนใช้ยาหรือผ่าตัด

3.       คุณไม่ควรทำอะไร

  •   อย่าตกลงใช้ยาปฏิชีวนะกับเด็กเพื่อรักษาโรคหวัดทั่วไป อย่าให้ยาปฏิชีวนะเว้นแต่เด็กได้รับเชื้อแบคทีเรีย เช่น อักเสบภายในลำคอ ปอดบวม หรือการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ อย่าใช้ยาจนเกินขนานเว้นแต่เด็กมีสภาวะที่ชีวิตถูกคุกคามจากโรคและต้องการการใช้ยาที่เหมาะสม
  • อย่าละเลยที่จะตระหนักถึงความเสี่ยงของการใช้ยาและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากปัญหาทางระบบประสาทเอง อย่าตกลงที่จะผ่าตัดเอ็นซึ่งมีผลมาจากสมองที่บาดเจ็บเว้นแต่เด็กมีสภาวะที่ชีวิตถูกคุกคามจากโรคและต้องการการผ่าตัดที่เหมาะสม
  •  อย่าคิดว่าลูกของคุณควรได้รับยาระงับอาการชักไปตลอดชีวิต และอย่าเลิกใช้ยาระงับอาการชัก/ยากดประสาท/ยาแก้ซึมเศร้าโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เว้นแต่ยาที่ใช้นั้นไม่มีผลข้างเคียงที่ต้องระวัง

กิจกรรมบำบัดมหิดล ออก TV รายการ ชีวิตเลือกได้ 20 ตอน  

รายการชีวิตเลือกได้ ตอนที่ 1 ( การฝึกทักษะชีวิต) จะเริ่มออกอากาศวันนี้ (พุธ 7 เม.ย.) เวลา 13.30 น. ทาง ทีวีไทย  และจะออกอากาศเป็นประจำทุกสัปดาห์ (ยกเว้นวันพุธที่ 14 เม.ย. งด)

โปรดติดตามและเป็นกำลังใจให้นะครับ ขอบคุณมากครับ

 

หมายเลขบันทึก: 350038เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2010 18:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กรกฎาคม 2013 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท