ลูกสองขวบพูดช้า...ฝึกอย่างไร


ขอบคุณกรณีศึกษาของคุณแม่ท่านหนึ่งที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผมค้นข้อมูลมาบันทึกนี้...เรียบเรียงบางส่วนจาก http://www.babycenter.com
M [IP: XXXXXX] เมื่อ 05 ตุลาคม 2553 16:58 เรียน Dr.Pop ดิฉันกำลังหาความรู้เพื่อกระตุ้นพัฒนาการด้านการพูดในเด็กพูดช้า...ลูกอายุ 2 ขวบ พัฒนาการด้านอื่นๆคุณหมอประเมินแล้วว่าปรกติ มีแต่ปัญหา delay speech ลูกใช้ภาษากายสื่อสารเป็นส่วนใหญ่ดิฉันได้อ่านหลายๆหัวข้อใน blog แล้วได้ความรู้เรื่องอื่นๆด้วยมากโดยเฉพาะ sensory intregration ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย ซึ่งอ่านรอบแรกพอรู้คร่าวๆ คงต้องไปย่อยหรือทำความเข้าใจอีกที ดิฉันพยายามหาอ่านหัวข้อที่เกี่ยวกับการกระตุ้นพัฒนาการของเด็กพูดช้าแต่หาไม่เจอ รบกวนอาจารย์ pop ช่วยชี้แนะหรือ linkให้ด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ    
 
 ผมจึงค้นคว้าเพิ่มเติม เพราะตนเองไม่ค่อยเชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาทักษะการสื่อสารในเด็กมากนัก และพบข้อมูลน่าสนใจที่ดึงมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 14 ข้อ ดังนี้               
1. การเรียนรู้คำศัพท์ในวัยสองขวบเกิดขึ้นตามธรรมชาติถึง 75 คำ เพื่อสร้างสรรค์วลีและประโยคที่ประกอบด้วยคำนามและคำกริยา ได้แก่ ลูกนอน กับ ทานนม และเริ่มประโยคสั้น เสียงก้อง และยาวขึ้นเพื่อชี้นำ เช่น แม่...ช่วยด้วย เล่นบอล...พ่อ ไป...บาย บาย หากเด็กสื่อสารไม่ถึง 20 คำ อาจมีปัญหาการได้ยิน                                              
2. ผู้ปกครองควรกระตุ้นการสื่อสารของเด็กโดยใช้วลีตอบรับ เช่น ลูกอยากให้แม่ช่วยใส่ถุงเท้าให้  ได้เลย พ่อจะเล่นบอลกับลูก                                                           
3. ไม่ต้องแก้ไขไวยากรณ์หรือเร่งลูกให้ใช้ภาษาที่ถูกต้อง ไม่ต้องบังคับให้ลูกสื่อสารซ้ำหรือพูดตามผู้ปกครองด้วยประโยคยาวและถูกต้อง                                              
4. ควรอ่านหรือใช้คำถามที่สะท้อนว่าลูกเห็นอะไรในหนังสือ หรือ ลูกคิดว่าจะเกิดอะไรต่อไป                                                                                                   
5. แนะนำให้ลูกเข้าใจว่าทุกสิ่งในโลกนี้คืออะไร มีทำไม และเป็นอย่างไร โดยสื่อสารกับของเล่นที่หมุนเวียนในแต่ละสัปดาห์ได้ เช่น ของเล่นใหญ่ที่ผลักหรือขี่ได้ หมุนหรือเสียบเข้ากล่องได้ ปะติดปะต่อได้ ตุ๊กตาเคลื่อนไหวได้ ตุ๊กตาสวมใส่เสื้อผ้าได้ และของเล่นที่ตกแต่งศิลปะได้                                                                               
6. อย่าหยุดลูกในการสำรวจเล่นสิ่งต่างๆ รอบบ้าน ให้โอกาสลูกเปิดดูและอ่านหนังสือ และพาลูกไปเรียนรู้สถานที่ต่างๆ เช่น สวนสัตว์ สระว่ายน้ำ สนามบิน                      
7. กระตุ้นหลากหลายความรู้สึกในการสัมผัสของเล่นที่ทำด้วยดินและทราย และในการได้ยินของเล่นที่มีเสียง                                                                               
8. บางครั้งลูกแสดงอารมณ์ตื้นเต้น เสียงดัง และไม่มีสมาธิในที่สาธารณะได้ ผู้ปกครองควรเพิกเฉยซักสามนาที หากลูกอารมณ์ไม่นิ่ง ค่อยๆพาลูกออกจากที่สาธารณะนั้นอย่างสงบ ไม่ต้องกังวลว่าผู้อื่นจะตำหนิ  ปล่อยให้ลูกปรับอารมณ์เองโดยธรรมชาติ  อาจพาลูกกลับไปในที่สถานการณ์เดิมได้และไม่ต้องบอกลูกว่าเคยแสดงอารมณ์อะไร              
9. เริ่มแนะนำลูกสื่อสารกับผู้ปกครองในการใช้หรือขอใช้กระโถนด้วยตนเอง หรือผู้ปกครองสังเกตว่าลูกต้องการใช้กระโถนก่อน 2 วินาทีที่จะปัสสาวะราด หรือขับถ่ายหลังตื่นนอนระหว่างวัน อย่าบังคับลูกหากไม่สามารถใช้กระโถนได้ และไม่ควรฝึกขับถ่ายตอนกลางคืน                                                                                         
10. กระตุ้นให้ลูกสื่อสารแบบมีตัวเลือกไม่เกิน 3 อย่าง โดยไม่ต้องชี้นำตัวเลือกในกรณีที่ลูกไม่อยากเลือก เช่น อย่าถามว่า ลูกจะใส่เสื้อไหม ควรถามว่า ลูกจะใส่เสื้อสีแดงหรือสีฟ้า แต่เวลานอน อย่าถามว่า ลูกจะเล่นหรือจะนอน                                           
11. ต้องไม่รำคาญเวลาลูกถามเยอะๆ เช่น ทำไม อะไรนั้น ให้คิดว่า ลูกอยากค้นหาบางสิ่ง ผู้ปกครองควรใช้คำตอบที่ง่ายทันที อย่าตอบว่า ไม่รู้ ควรต่อยอดคำตอบของผู้ปกครองให้ลูกได้นานตามสถานการณ์สื่อสารหรือหาหนังสือมาเปิด เรียนรู้ และสื่อสารกับลูกได้ เช่น เวลาลูกอ่านหนังสือ ให้ผู้ปกครองถามถึงรูปภาพสีต่างๆ ว่าอยู่ที่ไหน คืออะไร เป็นต้น                                                                                                
12. อย่าเร่งเวลากับลูกในการทำกิจกรรมการแต่งกาย ให้สื่อสารไปเรื่อยๆ จนกว่าลูกจะแต่งกายเสร็จ  และบางครั้งอาจต้องเรียนรู้ช่วงความสนใจของลูกคือ 3-5 นาที ขึ้นอยู่กับสิ่งเร้าที่เกิดขึ้น ไม่ต้องบังคับให้ลูกสนใจตามเวลาใดๆ                                       
13. เวลาลูกชอบโกรธและกัดผู้อื่น ผู้ปกครองไม่ควรใช้เสียงดังดุด่า แต่แนะนำให้ลูกมาเขียนหรือบอกผู้ปกครองให้รู้ว่าทำไมหรืออะไรที่ลูกโกรธ                                    
14. กิจกรรมที่ควรส่งเสริมการพัฒนาเด็กในการสื่อสาร ได้แก่  ฝึกชี้ไปที่สิ่งที่เรียกชื่อ  ฝึกนึกชื่อคน สิ่งของ และส่วนต่างๆ ของร่างกายที่คุ้นเคย ฝึกใช้วลีสั้นๆ ประกอบด้วย 2-4 คำ ฝึกทำตามคำแนะนำง่ายๆ ฝึกใช้คำที่ลูกเคยได้ยินซ้ำๆ ฝึกหาของสามสิ่งที่ซ่อนใต้ผ้าห่ม ฝึกเลือกสิ่งของที่มีรูปร่างหรือสีเหมือนกัน และฝึกเล่นให้มีความสุข              
หากฝึกกิจกรรมข้างต้นแล้วลูกยังไม่ค่อยพูด เลียนคำพูดไม่ได้  พูดแบบไม่มีพยัญชนะ ใช้คำไม่เกิน 4 คำเมื่อย่างเข้าสามขวบ ไม่เคยถามคำถาม และกลัวที่จะเข้าใจคำพูดใดๆ ผู้ปกครองควรปรึกษากุมารแพทย์ นักแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย และนักกิจกรรมบำบัดเฉพาะทางการพัฒนาเด็ก
หมายเลขบันทึก: 401120เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2010 07:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณ Dr Pop สำหรับคำแนะนำค่ะ

เนื่องจากแม่เห็นว่า delay speech เป็นเรื่องสำคัญของการพัฒนาเพื่อเข้าสู่สังคมและเข้าโรงเรียน จึงได้พาลูกไปพบและทำกิจกรรม กับนักกิจกรรมบำบัด พบว่ามีความก้าวหน้าขึ้นจนระดับหนึ่ง เริ่มเรียกคนที่ต้องการสื่อสารด้วย

ในขณะเดียวกันก็คิดกลับมาหา defect ที่บ้านอาจเป็นไปได้ว่าลูกพูดช้าเพราะเป็นเด็กคนเดียวในบ้าน คนเลี้ยงรู้ใจ จึงไม่พยายามสื่อสารด้วยภาษาพูด แม่ทำงานนอกบ้าน ชม. ลูกเล่นคนเดียว ได้มีโอกาสอ่านเทคนิค Floor time จาก คำแนะนำของ นักกิจกรรมบำบัด เห็นว่าเราติดอยู่ที่ พัฒนาการระดับ 5 สื่อด้วยสัญลักษณ์ (การพูด และการเล่นสมมุติ) คิดว่าจะนำมา ประยุกต์ใช้กับลูก หรืออย่างน้อยก็เป็นการเปลื่ยนสิ่งที่เด็กทำอยู่คนเดียว ให้กลายเป็นกิจกรรมเพื่อการสื่อสาร ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

May

คุณ May เข้าใจถูกต้องแล้วในการปรับกิจกรรมที่เด็กทำอยู่คนเดียวให้มีการสื่อสารกับผู้อื่นโดยมีสื่อกิจกรรมที่มีเป้าหมาย อาจต้องประสมประสานหลายเทคนิค แต่เน้นว่าเด็กเกิดความสนใจจริงๆ

ปัจจัยที่เด็กอยู่คนเดียวอาจไม่มีผลมาก แต่ปัจจัยที่เด็กอยู่ว่างคนเดียวโดยคนเลี้ยงไม่จัดกิจกรรมการสื่อสารระหว่างกันก็จะมีผลทำให้เด็กพูดช้ามากขึ้น

ขอบคุณครับสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ขอขอบคุณทุกข้อความ

ดิฉันกำลังประสบปัญหานี้ ปัญหาเดียวกัยคุณMay แต่จะหนักกว่าด้วย ลูก 3 ขวบแล้ว นอกจากจะไม่พูดแล้ว ยังมีพฤติกรรมที่เอาแต่ใจถ้าไม่ถูกใจแล้วจะร้องไห้เสียดัง เดินขะเหย่งเท้าซนมากผิดปกติ ไม่อยู่นิ่งเลย พาลูกไปพบแพทย์แล้ว กำลังจะเข้ากิจกรรมบำบัด อยากหาหนังสือที่เกี่ยวกับเด็กออทิสติก มาอ่าน เพราะดิฉันไม่มีความรู้ทางด้านนี้เลย

ขอให้กำลังใจกับการฝึกกิจกรรมบำบัดแก่ลูกของคุณ nee ด้วยครับ หากมีอะไรอยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก็ส่งคำถามและความคิดเห็นมาที่ Blog นี้ได้เสมอครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท