กลุ่มกิจกรรมบำบัดจิตสังคม


ผมเตรียมสอนแนวทางการจัดกลุ่มกิจกรรมฟื้นฟูสุขภาวะผู้ป่วยทางจิตเวช เลยคิดว่าเนื้อหาบางส่วนน่าจะเป็นประโยชน์แก่กัลยาณมิตรทั้งหลาย

การจัดกลุ่มกิจกรรมบำบัดแบบพลวัต (Group Dynamics) คือ กระบวนการการเคลื่อนไหวของกลุ่มที่มีการเรียนรู้ระหว่างบุคคล ซึ่งต่างจากการจัดกลุ่มแสดงความคิดเห็นตามหัวข้อในการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยในปัจจุบันที่เน้นเนื้อหาที่ทำและที่พูดมากเกินไป ควรปรับให้เป็นการจัดกลุ่มกิจกรรมบำบัดแบบพลวัติโดยปรึกษานักกิจกรรมบำบัดในการประเมินและออกแบบกระบวนการ กิจกรรม และวิธีการตามกรอบอ้างอิงสากล ทั้งนี้แนวทางการจัดกลุ่มแบบพลวัติมีมานานกว่า 50 ปี ในนักวิทยาศาสตร์ทางพฤติกรรม เน้นการเคลื่อนไหวทางความรู้สึกนึกคิดของสมาชิกในกลุ่ม – ประสบการณ์ที่นี่และตอนนี้ว่าสมาขิกกลุ่มรู้สึกชอบอย่างไร 

อ่านเพิ่มเติมที่

Cole, Marilyn B. (2005). Group dynamics in occupational therapy: the theoretical basis and practice application of group treatment. 3rd ed. Thorofare, NJ: Slack.

http://gotoknow.org/blog/otpop/162247

http://gotoknow.org/blog/otpop/162295

http://gotoknow.org/blog/otpop/165450

http://gotoknow.org/blog/otpop/371435

นอกจากนี้ควรพัฒนารูปแบบการจัดกลุ่มกิจกรรมแบบพลวัตให้เชื่อมโยงกันระหว่างวิชาชีพที่จัดกลุ่มให้ผู้รับบริการทางจิตเวช เช่น จิตแพทย์ พยาบาลจิตเวช นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคม นักอาชีวบำบัด นักจิตวิทยาคลินิก เป็นต้น ทั้งนี้ นักกิจกรรมบำบัดควรใช้กรอบอ้างอิงเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทีมสหวิชาชีพ เช่น A Humanistic Approach, A Psychoanalytic Approach, Behavioral-Cognitive Continuum, Allen’s Cognitive Disabilities, Developmental Approach, Sensory Motor Approach, Model of Human Occupation และ Recovery Model

 ทำอย่างไรให้กลุ่มมีวุฒิภาวะ (Maturity) เมื่อจัดกลุ่มกิจกรรมบำบัดแบบพลวัต

•มุ่งความสนใจที่เป้าหมายของกลุ่ม

•สนใจความรู้สึกที่กำลังเกิดขึ้นภายในกลุ่ม

•มีผู้เข้าร่วมกลุ่มที่กระตือรือร้น

•มีการสะท้อนความรู้สึกนึกคิดภายในกลุ่ม

•มีการเปิดใจในการสะท้อนความรู้สึกนึกคิด

•รับผิดชอบความสำเร็จของกลุ่มร่วมกัน

ตัวอย่างการจัดกลุ่มกิจกรรมบำบัด
(ปรับจาก 5-24 คนต่อหนึ่งกลุ่ม 45 นาที – 2 ชม. 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์)

•กลุ่มประเมินความสามารถ – ทักษะการทำงานและสังคมไม่เกิน 8 คน –กำหนดรูปแบบ ควรจำกัดการเลือกสื่อกิจกรรม –ไม่กำหนดรูปแบบ เปิดโอกาสให้ระบายความรู้สึกและความคิด

•กลุ่มสำรวจตนเองเพื่อเรียนรู้อารมณ์ ความรู้สึก และความเข้าใจตนเอง

•กลุ่มสอนทักษะและความรู้ใหม่ในกิจกรรมที่สนใจและจำเป็นในการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมจริง เช่น การรับรู้ การเคลื่อนไหว การฝึกกิจวัตรประจำวัน การจัดการเวลาและพลังงาน เป็นต้น

•กลุ่มอภิปรายเพื่อเตรียมการ/กลุ่มอภิปรายปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่

•กลุ่มอุปกรณ์เพื่อคงระดับความสามารถจากเกมส์กีฬา ละคร งานอดิเรก

•กลุ่มพัฒนาทักษะการสร้างสัมพันธภาพ - พิจารณาระดับความสามารถทางสังคม

แนวปฏิบัติของการจัดกลุ่มกิจกรรมบำบัด

•การผนึกแน่นของกลุ่ม – ร่วมมือกัน ไม่แข่งขัน เลือกเพื่อนร่วมงานกลุ่มย่อยได้ ระบายความในใจส่วนตัวบ้าง

•การแสดงบทบาทของกลุ่ม – ระบุบทบาทให้สมาขิกเข้าใจ ควบคุมสมาชิกที่เป็นอุปสรรค อะลุ้มอล่วยให้ผู้ทำนอกบทบาทบ้าง สื่อสารให้เท่าเทียมกัน เป็นผู้นำแบบมีส่วนร่วม

•การสื่อสารของกลุ่ม – เหตุผลและเทคนิคที่ถูกต้องเป็นจริงและยอมรับในกลุ่ม ใช้บทลงโทษน้อยที่สุดอย่างเปิดเผย เข้าใจการตัดสินใจและเหตุผลของกลุ่มที่ต่างจากระเบียบบ้าง

• การมีส่วนร่วมของกลุ่ม – ขนาด 5 คนสื่อสารได้ดีที่สุด นั่งเป็นวงกลมใกล้กัน บรรยากาศกันเอง สร้างการยอมรับและความไว้วางใจในหมู่สมาชิก

•การมีเป้าหมายของกลุ่ม – สนับสนุนเป้าหมายรายบุคคลให้สอดคล้องกับเป้าหมายกลุ่ม และแสดงความตกลงในการทำงานระหว่างสมาชิกให้ชัดเจน

หมายเลขบันทึก: 404448เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2010 08:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2018 11:56 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมขอเพิ่มการจัดกลุ่มกิจกรรมตามระดับความสามารถทางสังคม ได้แก่

ระดับ 1 กลุ่มคู่ขนาน: ผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มได้ แต่สับสน เงียบเฉย พูดมาก ไม่อยู่นิ่ง และไม่สนใจเข้าร่วมกลุ่มด้วยตนเอง (กิจกรรมที่กำหนดรูปแบบ)

ระดับ 2 กลุ่มผลงาน: ผู้ป่วยทำกิจกรรมของตนเองในกลุ่ม แต่อึดอัด เขินอายที่จะพูดคุยและทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น (กิจกรรมหนึ่งชิ้นในเวลาอันสั้น)

ระดับ 3 กลุ่มช่วยกันคิดช่วยกันทำ: ผู้ป่วยทำกิจกรรมกับผู้อื่นได้ แต่ไม่รู้จักแสดงความคิดเห็นของตนเอง ไม่รู้จักฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ตั้งเป้าหมายในการทำกิจกรรม (กิจกรรมที่ใช้เวลานานและทุกคนสนใจทำร่วมกัน)

ระดับ 4 กลุ่มอารมณ์ร่วมใจ: ผู้ป่วยทำกิจกรรมกับผู้อื่นได้ แต่ไม่เปิดเผยตนเอง ไม่แลกเปลี่ยนความรู้สึกบวกลบกับผู้อื่น (กิจกรรมที่ทุกคนสนใจและมีพื้นฐานคล้ายกัน เน้นพึงพอใจมากกว่าผลงาน)

ระดับ 5 กลุ่มวุฒิภาวะ: ผู้ป่วยทำกิจกรรมกับผู้อื่นได้ ช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้ แต่มีปัญหาการวางตัวแสดงบทบาทที่เหมาะสม (กิจกรรมต่างวัย ต่างบทบาท เกิดความสำเร็จสมบูรณ์ได้)

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็ติดต่อทางอีเมล์ ดร. ป๊อป [email protected] ได้เสมอครับ

  • น่าสนใจมาก
  • ตอนจัดกิจกรรมจะได้เอาไปประยุกต์ใช้
  • น้องดร.Pop สบายดีนะครับ

สบายดีครับพี่ ดร. ขจิต ลองนำไปประยุกต์ใช้แล้วเล่าสู่กันฟังว่าต้องมีกระบวนการใดๆ เพิ่มเติมได้ครับผม

มีนศ.พยาบาลท่านหนึ่งถามว่า อาจารย์ค่ะ หนูเป็นนศ.พยาบาลกำลังเรียนการพยาบาลจิตเวช อยากขอคำปรึกษาเรื่องการทำกิจกรรมกลุ่มบำบัดค่ะ อาจาารย์มีกิจกรรมแนะนำไมค่ะว่าควรทำกลุ่มแบบไหน กับคนไข้แบบไหนดีค่ะ ขอรบกวนด้วยนะคะ

ผมจึงตอบว่า ลองอ่านบันทึกนี้ดู ข้อมูลที่นักศึกษาต้องการมันกว้างเกินไป เพราะกลุ่มบำบัดมีหลายรูปแบบ เช่น Psychoeducation, Group Dynamics, Group activity, Group Therapy, Group exercise, Self-help group ซึ่งแต่ละกลุ่มจะใช้กับคนไข้ในรูปแบบแตกต่างกันตามแต่ความสนใจ ความสุข ระดับความคิดความเข้าใจ และความสามารถในการทำกิจกรรมกลุ่มด้วยครับ ลองค้นจาก Google เองนะครับโดยระบุชนิดของกลุ่มและชื่อโรคจิตเวชที่นักศึกษาสนใจครับ เช่น Group activity and depression

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท