สอนมนุษย์ยุคศตวรรษที่ 21 (พ.ศ. 2544-2643)


ลองคลิกอ่าน http://www.p.21.org และ http://www.21stcenturyschools.com/What_is_21st_Century_Education.htm เพื่อพัฒนาพลเมืองดีของโลก

ผมได้รับความรู้ที่ทันสมัยจากทีมกองบริหารการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ และคณะอื่นๆ ใน ม.มหิดล ที่เตรียมปรับปรุงรูปแบบการศึกษาให้สอดคล้องกับ Mahidol Core Values, The 21st Century Skills, และ TQF-Thailand Quality Framework

ผมมุ่งหวังถึง "กิจกรรมบำบัดศึกษา" ที่เรียนรู้จากงานประชุมกิจกรรมบำบัดโลก และสหพันธ์นักกิจกรรมบำบัดโลก ที่มีสมาชิกกว่า 66 ประเทศ ซึ่งมีกรอบความคิดที่ชัดเจนในการพัฒนาพลเมืองดีของโลก

ผมจึงทบทวนความรู้เรื่อง Generation ของมนุษย์ เพื่อฝึกการปรับความคิดในการใช้ชีวิตกับคนหลากหลายรุ่น ได้แก่

Generation B (Baby Boomer Generation) เกิดปี พ.ศ. 2489-2507 เป็นคนที่รักการทำงาน เคารพกฎกติกา อดทน ทุ่มเท จงรักภักดีกับองค์กร ไม่เปลี่ยนงานบ่อย มีกำลังซื้อสินค้า และจัดการการเงินได้ดีเพื่อตัวเองและบุคคลใกล้ชิด

Generation X (Extraordinary Generation) เกิดปี พ.ศ. 2508-2522 รู้จักเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีกว่า รู้ว่าตนเองมีคุณค่าต่อองค์กร ทำงานได้ยืดหยุ่น ไม่ชอบประชุมและนั่งเห็นหน้ากันนานๆ ชอบทำงานผ่านสื่อต่าง ๆ ชอบประชุมกลุ่มเล็กที่มีประสิทธิภาพ ชอบอะไรง่าย ๆ ไม่ต้องเป็นทางการ ให้ความสำคัญกับเรื่องงานและครอบครัว รู้ทุกอย่างทำทุกอย่างได้โดยไม่พึ่งพาใคร เปิดใจพร้อมรับฟังข้อตำหนิเพื่อพัฒนาตนเอง กล้าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ชอบใช้ความคิดและเป็น สมาชิกหลักในครอบครัว และชอบใช้ชีวิตที่ทันสมัย 

Generation Y (Why Generation, Generation Next, Echo Boomers) เกิดปี พ.ศ. 2523-2533 ชอบสร้างประวัติการทำงานในองค์กรที่ดี ไม่สนใจสร้างฐานะทางการเงิน ชอบ Social Networking ด้วยเทคโนโลยี ชอบแสดงออกด้วยความเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ชอบอยู่ในกรอบ ชอบความชัดเจนในการทำงาน เป็นผู้บริโภคที่ใจร้อน ชอบใช้เครดิตการ์ดหลายใบ อยากเห็นผลสำเร็จทุกอย่างอย่างรวดเร็ว เชื่อว่าต้องทำงานหนักเพื่อความสำเร็จในชีวิต แต่งงานช้าลง เลิกกับแฟนที่มีปัญหาแล้วเลือกงาน และมักเปลี่ยนงานบ่อย

Generation Z (Generation I, Internet Generation) เกิดปี พ.ศ. 2534-2543  กับ Generation M (Millennium Generation, Generation of Hope) เกิดปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นไป อายุเด็กแนวน้อยกว่า 18 ปี ถึง 24 ปี  ทั้ง Gen Z กับ M นั้นได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ได้รับการสั่งสอนไม่ให้ใช้สารยาเสพติด ไม่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันสมควร  ชอบดู MTV มีชีวิตอยู่เพื่อแก้ไขความผิดพลาดของตนในอดีต ให้ความสำคัญกับคอมพิวเตอร์และภาษาอังกฤษ ไม่ชอบเป็นลูกจ้าง ชอบเป็นเจ้าของกิจการขนาดเล็ก มีแนวทางอิสระเป็นของตัวเอง ชอบสินค้าด้านสุขภาพ เปิดรับข้อมูลผ่านสื่อดิจิตอลกลุ่ม Gen-M สนใจศึกษาเล่าเรียนในระดับปริญญาตรีและสูงขึ้น ร่วมแสดงความคิดเห็นและทำกิจกรรมสาธารณสังคม

และอยากสรุปประเด็นการศึกษาที่เชื่อมโยงกับพุทธศาสนา (อ้างอิง "การบวชที่บ้าน" และ "ระบบการใช้ชีวิตที่สมบูรณ์แบบ" โดยท่านพุทธทาสภิกขุ) ที่ครูและคณาจารย์ทุกท่านน่าเรียนรู้เพื่อพัฒนาการศึกษาไทยต่อไป ดังนี้

  • "ชีวิตอยู่ด้วยปัญญา มีจิตว่างจากความคิดนึกรู้สึกว่า ตัวตนหรือของตนว่างจากความรู้สึกนึกคิดว่า ตัวกู-ของกู แล้วก็เป็นจิตว่าง"
  • "ความจริงที่ดับทุกข์ได้นั้น เป็นความจริงที่ควรรู้"
  • เรียนรู้อินทรีย์ทั้ง 5 ได้แก่ มีสัทธา-มีศรัทธาในตัวเองและธรรมะ (การกระทำที่ถูกต้องแก่ความเป็นมนุษย์), มีวิริยะ-มีความเพียรและกล้าหาญ (เสียสละ สร้างสรรค์ความดี ป้องกันความชั่ว และรักษาความดี), มีสติ-ในทุกกรณีที่มีการรับรู้ผ่านหู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจ), มีสมาธิ-มุ่งมีความคิดสิ่งเดียวให้นิพพานเป็นอารมณ์, และมีปัญญา-รู้ความจริงที่ควรรู้
  • "โดยปกติแล้ว เราจะต้องมีจิตใจชนิดที่ไม่เป็นฆราวาส ไม่เป็นบรรพชิตดีกว่า (อย่ายึดติด)"
  • ข้อปฏิบัติที่ทำให้มีธรรมะ คือ จะต้องมีความรู้จักตัวเอง, จะต้องเชื่อตัวเอง, จะต้องบังคับตัวเอง, จะต้องพอใจตัวเอง
  • การใช้ชีวิตที่สมบูรณ์ ควรเป็นคนให้ถูกต้องโดยรู้ความหมายของครอบครัว ความรัก ทรัพย์สมบัติ อาชีพ เกียรติยศชื่อเสียง เพื่อนฝูง-มิตรสหาย-สังคม และศาสนา-บุญกุศล

นอกจากนี้ ผมประทับใจบทกลอนของท่านพุทธทาสภิขุ เรื่อง "เรียนชีวิต" จึงขออนุญาตคัดลอกมาเพื่อเป็นคติชีวิตของความเป็นนักการศึกษาและนักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมของ ดร. ป๊อป

เรียนชีวิต อย่าแสวง จากแหล่งนอก

อย่าเข้าไป ในคอก แห่งศาสตร์ไหน

อย่ามัวคิด ยุ่งยาก ให้พากใจ

อย่าพิจารณา จาระไน ให้นุนนัง

อย่ายึดมั่น นั่นนี่ ที่เรียนกฎ

มันตรงตรง ลงไปที่ ชีวิตัง

ดูแล้วหยั่ง ลงไป ในชีวิต

ให้รู้รส หมดทุกด้าน ที่ผ่านมา

ให้ซึมซาบ วิญญาณ์ อย่างวิศิษฎ์

ประจักษ์ทุกข์ ทุกระดับ กระชับชัด

ปัญญาชีวิต จะเผยออก บอกตัวเองฯ

 

หมายเลขบันทึก: 434815เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2011 14:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท