สูตรพัฒนา "คนทำงาน" ให้เรียนรู้ด้วยใจ


ต่อยอดจาก http://gotoknow.org/blog/otpop/436614 มีการประชุม AAR ทีมผู้จัดงาน เกิด KM ที่น่าสนใจหลายประเด็นที่อาจพัฒนา LO ให้ ม.มหิดล เป็นตัวอย่างที่ดีเลิศได้

ขอบคุณท่าน ผอ.กองพัฒนาคุณภาพ และทีมงาน UKM ทุกท่าน ที่เปิดโอกาสให้ ดร. ป๊อป ได้บริหารความคิดและจิตวิญญาณในการแปลความรู้ (Knowledge Translation, KT) ตามบรรยาการของการจัดการความรู้ (Knowledge Management, KM) ในหลายบุคคล หลายสถานที่ และหลายโอกาส ทำให้เกิดพลังบวก++ ที่จะพัฒนาตน พัฒนาคน และพัฒนางานประจำให้มีชีวิตชีวาในหลายมหาวิทยาลัยที่ร่วมเป็นเครือข่ายแห่งการเรียนรู้ (Learning Networks) และสร้างสรรค์องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization, LO) ที่ประกอบด้วยการพัฒนาทรัพยากรแห่งการเรียนรู้ (ขอยืมคำ อ.วิรัตน์ มาต่อยอดด้วยความขอบคุณมากครับ) ที่มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Community of Practice, CoP) ที่มีเป้าหมายในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าและมีคุณภาพอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมีการชี้นำ การติดตาม การสังเกต และการเรียนรู้ด้วยกระบวนการที่ยืดหยุ่นและหลากหลายจากเทคโนโลยีที่จำเป็นและเหมาะสมกับบริบทของทีมงานที่เป็นต้นแบบที่ดีที่สุดในกระบวนการใดๆ (Best Practice Team) เทียบเคียง (Benchmarking) กับทีมงานที่มีใจเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น (Inspritual Working Team)

จาก BAR สู่ AAR ครั้งนี้ จุดประกายความคิดเพื่อการเรียนรู้ชีวิตที่ท้าทาย คือ

MAN + S = MEN + MC = LO

Management of Changes - dynamic planning

Active learner & practitioner - right way of action, but flexible solutions for unexpected events

Natural organization - well-plans for hardware, software (process), and peopleware worked by heart

+ Self-management (skills for life, esp. problem-solving & decision-making)

= Manpower Empowerment Neutral + Master of Ceremony in good organizer, good director, and good moderator

= Learning Organization as the Best Practice

ดร.ป๊อป สกัดความรู้ที่ได้ในการประชุม AAR จากอาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่มีใจ มีความมั่นใจ มีความเป็นผู้นำ มีความมุ่งมั่น มีความสามารถที่มาจากพรสวรรค์และพรแสวง มีความตั้งใจในการเรียนรู้อย่างเปิดใจ และรู้จักปรับตัวต่อการทำงานแบบทีมมืออาชีพ (ไม่เป็นทางการ คิดลุ่มลึก ฉับพลัน เรียนรู้ไว ปฏิบัติจริง เน้นคุณภาพ) ซึ่งหากองค์กรใดมีกลุ่มทำงานแบบนี้มากๆ จะนำพาให้เกิด Best Practice มากมาย การทำงานตรงนี้คิดว่าเป็น "Transdisciplinary Teamwork, การทำงานแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยและนับถือความชำนาญหลากหลายวิชาชีพ"

ความหวังหลังจากการประชุมครั้งนี้ คือ การสร้าง CoPs เน้นหลายระดับของผู้มีใจในการทำงานเป็นทีม มีความคิดสร้างสรรค์ต่อยอดจากโครงการรวมพลคนทำสื่อ และมีการติดตามผล CoPs ในกลุ่มที่ร่วม UKM และกำลังจะเกิด FKM (เริ่มจากส่วนงานที่น่าจะมีพลังบวก++ ของม.มหิดล) พร้อมมีการจัด Meet-Share-Learn ในศูนย์การเรียนรู้ของ ม.มหิดล เพื่อให้มี "กลุ่มคนที่ใช่" ในการจัดงานสู่สาธารณชนมากขึ้นและเกิดผลกระทบเชิงสร้างสรรค์สังคมไทยมากขึ้น คล้ายการทำงานของสื่อมวลชนในงาน Ignite Thailand อีกไม่นานคงจะมี Ignite Mahidol แน่นอน

ติดตามรูปแบบงาน Ignite Thailand ที่ http://www.ignite.in.th/

    

 

 

หมายเลขบันทึก: 438859เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2011 17:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณครับ อ.นุ

ขอบคุณครับ อ.ณัฐพัชร์

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ดร.ป๊อบ :

  • แวะมามอบ + ให้คนเก่งพลังบวก+++++++ อีกหลายๆ บวกเลยค่ะ =)
  • คนเก่งที่ใช้ใจทำงานของกลุ่มคน(อาจารย์ทุกท่าน)ทำงานในวันนี้ที่ห้องประชุม AAR งาน UKM ทำให้รับรู้ได้ว่ามากันได้ไปกันได้ก็เพราะใจนำค่ะ .. จนเกิดกลุ่ม CoPs กลุ่ม FA ของมหา'ลัย มหิดล .. อ้อ! ไม่ได้ค่ะเดี๋ยวอาจารย์นุ้ยว่าเอา มหาวิทยาลัยมหิดล ค่ะ อิอิ ...
  • ขอบพระคุณสำหรับวันนี้ค่ะ ^^V

ขอบคุณ อ.ณัฐพัชร์ สำหรับ presentation ที่ลุ่มลึกและกินใจกับภาพชีวิตที่มีความหมายใน UKM ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท