Amazing สุภาษิตญี่ปุ่นกับสุภาษิตไทย


ความคล้ายคลึงสอดคล้องกันของสุภาษิตไทยกับญี่ปุ่น
สมัยที่เรียนที่ญี่ปุ่น ได้มีโอกาสเรียนภาษาและได้รู้จักกับภาษิตญี่ปุ่นที่มีความหมายเหมือนกับสุภาษิตไทย ทำให้เกิดความประหลาดใจ และประทับใจว่าคนไทยกับคนญี่ปุ่นคิดเปรียบเทียบเหมือนกันมาก แต่ไม่ทราบว่ามีที่มาอย่างไรใครตามใคร หรือต่างคนต่างคิดแล้วมาตรงกัน สุภาษิตที่จำได้ไม่ลืมมี 2 สุภาษิต คือ UMA NO MIMI NI NENBUTSU อ่านว่า อุมะ โนะ มิมิ นิ เนมบุทซึ แปลว่า เทศนาให้ม้าฟัง หรือ กล่าวธรรมะที่หูของม้า ความหมาย คือว่า การสอนธรรมะซึ่งเป็นสิ่งที่ประเสริฐให้ม้าฟัง ม้าก็ไม่รู้เรื่อง ซึ่งก็มาสอดคล้องกับสุภาษิตไทยที่ว่า สีซอให้ควายฟัง .... แปลกดีมั้ยค่ะ.... ISSEKI NICHOU อ่านว่า อิซ เซะคิ นิโจช แปลว่า หินก้อนเดียวได้นกสองตัว สอดคล้องกับสุภาษิตไทย ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว....เห็นมั้ยค่ะ ไม่น่าเชื่อ...
หมายเลขบันทึก: 57627เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2006 12:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
  • Kill two birds with one stone
  • เหมือนกันเลยนะครับ
  • แวะมาขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมครับ

 Hysterical น่าทึ่งค่ะ

Hysterical อาจารย์น่าจะมาสอนภาษาญี่ปุ่นวันละคำนะคะ

Hystericalหรือ เรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นสไตล์อาจารย์แป๋วก็ไม่เลว

Hystericalสนใจ-สนใจค่ะ

                             -น้อง-

   เรียนท่านอาจารย์ ดร.แป๋ว และ อาจารย์ ดร.ขจิต

 Horseอย่าฆ่าสิ่งมีชีวิตครับ

 ปัจจุบัน ฅนพันธ์ใหม่ ปรับตัวเร็ว

 เLionสือ สิงห์ กระทิง แรด และ ไดโนเสาร์น่าเป็นห่วงครับ





แวะมาขอบคุณครับ เจอมุขท่านอาจารย์หมอ JJ อึ้งเลยครับ
ขอบคุณอาจารย์ขจิตค่ะ ที่แวะมาเยี่ยมเยือนเสมอๆ
  • ขอบคุณมากครับ
  • อาจารย์ลองเอาบันทึกที่อาจารย์สนใจเข้าในบล็อกแพลนเน็ตนะครับ
  • คนจะได้อ่านบันทึกของอาจารย์ด้วย
ขอบคุณอาจารย์ขจิตค่ะ ทำยังไงค่ะ ช่วยแนะนำด้วยค่ะ ยังไม่เก่งเรื่อง Blog เลยค่ะอาจารย์

สว้สดีค่ะอ.แป๋ว

บล็อกสีสันอ่อนหวาน สดชื่นค่ะ

ความจริงเรื่อง สุภาษิตน่าจะมีที่มาจาก...การกลั่นกรองประสบการณ์ จนกลายมาเป็น...คำคม...สอนใจ  ประสบการณ์ของคนชาติต่าง ๆ คงมีความคล้ายคลึงกัน เพราะเป็น...ประสบการณ์ร่วมของมนุษย์นะคะ

คำคม สุภาษิตของทุกชาติจึงเป็นสิ่งที่ใช้ได้ร่วมกันนะค่ะ...^__^..

มือไวไปหน่อยค่ะ

จะฝากภาพนี้ให้อ.แป๋ว... เพราะดูจะเหมาะกับบล็อกสีสวยอ่อนหวานค่ะ...^_^...

ขอบคุณคุณวี และคุณคนไม่มีรากมากค่ะ

เห็นด้วยและน่าจะเป็นตามที่คุณคนไม่มีราก ให้ความเห็นค่ะ ว่า "สุภาษิตน่าจะมีที่มาจาก...การกลั่นกรองประสบการณ์ จนกลายมาเป็น...คำคม...สอนใจ  ประสบการณ์ของคนชาติต่าง ๆ คงมีความคล้ายคลึงกัน เพราะเป็น...ประสบการณ์ร่วมของมนุษย์...คำคม สุภาษิตของทุกชาติจึงเป็นสิ่งที่ใช้ได้ร่วมกัน"

ฉะนั้น พื้นฐานของพฤติกรรม แนวคิดของมนุษย์ไม่ว่าจะชนชาติใด ภาษาใด ก็คงไม่ต่างกันนะค่ะ

สวัสดีครับ UMA NO MIMI NI NENBUTSU อ่านว่า อุมะ โนะ มิมิ นิ เนมบุทซึ แปลว่า เทศนาให้ม้าฟัง หรือ กล่าวธรรมะที่หูของม้า ความหมาย คือว่า การสอนธรรมะซึ่งเป็นสิ่งที่ประเสริฐให้ม้าฟัง ม้าก็ไม่รู้เรื่อง ซึ่งก็มาสอดคล้องกับสุภาษิตไทยที่ว่า สีซอให้ควายฟัง

อาจารย์ครับในหนังสือ กรรมทีปนี ที่กวินเคยยืมมาจากห้องสมุดของโรงพยาบาล เล่าไว้ว่า งูตัวหนึ่ง เลื้อยผ่านหมู่พระสงฆ์ (ผู้เป็นพระอรหันต์) ซึ่งกำลังสนทนาธรรม และสวด ทบทวน พุทธสุภาษิต งูนั้นถึงจะฟังไม่รู้เรื่อง แต่มันก็ รู้สึกว่า เสียงสวดนั้นไพเราะดี ก็เลยชูคอฟัง อย่างตั้งใจ และทุกๆวัน งู ตัวนั้นก็จะคอยมาฟังพระสวดมนต์ กระทั่ง ตอนงู ตัวนั้นมันกำลังจะตาย มันก็หวนระลึกถึง บทสวดมนต์อันไพเราะที่มันเคยฟังก่อนจะขาดใจตาย พอขาดใจตายปุ๊บ มันก็ไปจุติ เป็นเทวดา จากสัตว์เดรัจฉานที่ฟังภาษามนุษย์ไม่รู้เรื่อง แต่ทว่าได้ยินท่วงทำนองอันไพเราะ ก็จดจำเสียงนั้นไว้เป็น เอกัคคตารมณ์ ตายไปแล้วก็ยังพ้นจากสภาวะเดรัจฉาน ผมว่าถ้าผมเป็นพระอรหันต์ แม้นแต่ควายผมก็จะเทสนาให้มันฟังนะครับ ฮ่าๆ

+ตามมาคิดกับพี่ peaw ด้วยคนครับ น่าจะใกล้เคียงสุภาษิตไทยอีกบทที่่ว่า "ตำน้ำพริกละลายทะเล" อะไรทำนองนี้ แต่กระนั้นก็อย่าดูถูกควายกันนะครับ เพราะบางอย่างความหมายของภาษาตรงกันข้าก็มี เช่น ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ (เท่าที่ศึกษามาเล็กน้อย คืออาย ดร.ขจิตนะครับ) เช่น ภาษาไทยถ้าไปว่าคนไทย "แกคือควาย!!!" คนไทยทุกคนโกรธแน่ครับ เพราะแปลว่าโง่ แต่ถ้าไปว่าฝรั่งว่า"You are a buffalo" ฝรั่งมีแต่ดีใจหรืองงนะครับ   ดีใจเพราะเข้าใจว่า ไปยกย่องว่าเขาเป็นคนที่แข็งแรง แข็งแกร่ง บึกบึน อย่างควาย..ทำนองนั้น.. ที่งงก็เพราะ ..งง.. นะซิ (ไม่น่าอธิบาย) ดังนั้นฝรั่งไม่รู้หรอกว่าควายคือสัญลักษ์แห่งความโง่อย่างภาษาไทยนะครับ

แต่ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเจตนา เพราะเจตนาก็คือสภาวะจิตใจ

ณ เวลานั้น ทุกคนย่อมรู้อยู่แก่ใจตนเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท