ป้าเจี๊ยบ
น้อง พี่ อา ป้า ครู อาจารย์ คุณ นางสาว ดร. รศ. ฯลฯ รสสุคนธ์ โรส มกรมณี

ขอบคุณหลายๆที่มีระบบชื่อ learners.in.th


คารวะจากดวงใจ..

     วันนี้ต้องเขียนขอบคุณ learners.in.th อย่างเป็นเรื่องเป็นราว ซะที...ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม...

     ป้าเจี๊ยบเป็นครูอุดมศึกษามา 25 ปีแล้วค่ะ
เริ่มใช้ระบบ learners.in.th เมื่อ 30 พฤศจิกายน 2549 เวลา 22:43
เข้ามาใช้แบบว่า...ทันทีที่ได้รับแจ้งเตือนจากผู้ดูแลระบบ gotoknow.org ทำนองว่า ป้าเจี๊ยบใช้ระบบนี้ผิดวัตถุประสงค์
เค้าตั้งใจเอาไว้ให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างคนทำงาน แต่ป้าเจี๊ยบดันเอาไปใช้สอนหนังสือซะนี่

     ก็ใครจะอดใจไหวล่ะคะ เครื่องมือดีดีที่มีคุณสมบัติเข้าตาครูอย่างป้าเจี๊ยบมาก
จึงพาลูกศิษย์เข้าไปป่วนอยู่หลายสิบชีวิตและหลายวิชา...
พอมีหนังสือเตือนก็อพยพไปตั้งรกรากอยู่ที่ learners.in.th เรื่อยมา

     จนถึงวันนี้ ป้าเจี๊ยบก็เปิดสอนวิชาต่างๆ ที่นั่นรวมแล้ว 18 วิชา
ภาคเรียนไหนสอนอะไรก็เปิดบล็อกที่ปิดไว้ชั่วคราวขึ้นมาใช้
เรียกว่ามีหลักฐานร่องรอยเก็บไว้ใช้ได้ตลอดเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง (ถ้าระบบไม่เกเร) 
ออกแบบการสอนแตกต่างกันไปตามธรรมชาติของวิชา แต่ทุกวิชาใช้บล็อกเป็นเครื่องมือจัดการเรียนรู้

     ในจำนวนวิชาเหล่านี้ มีวิชาหนึ่งที่ป้าเจี๊ยบรักมากชื่อว่า "นวัตกรรมแห่งการเรียนรู้" 


     สอนทุกปีค่ะ บางปีก็สอนทั้งสองภาคเรียน
ใช้บล็อกเป็นส่วนสำคัญในการให้นักศึกษาทำงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างป้าเจี๊ยบกับนักศึกษา นักศึกษากับนักศึกษา และนักศึกษากับบุคคลทั่วไป

     ป้าเจี๊ยบยายามปรับกระบวนยุทธ์วิธีสอนวิชานี้ไปเรื่อยๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่นักศึกษาให้มากที่สุด
โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ “จิตนวัตกรรม” (คำนี้บัญญัติขึ้นมาเอง..ฮ่า ฮ่า ฮ่า..)
นั่นคือ มุ่งให้นักศึกษาคิดเป็น คิดนอกกรอบ มองโลกด้วยสายตาที่แปลกใหม่ทุกวัน และมีความสุข

     ป้าเจี๊ยบแน่ใจว่ามีนักศึกษาเจริญงอกงามทางปัญญา มากบ้างน้อยบ้าง ผ่านการเรียนรู้ทางบล็อกนี้จำนวนมากมาย
เพราะมีหลักฐานเชิงประจักษ์อยู่เยอะเหมือนกัน
เหตุเพราะเรื่องราวต่างๆ ได้รับการบันทึกไว้ในบล็อก
แต่ภาพก็ยังไม่ชัดเจนมากนัก เพราะหลายบันทึกเป็นสิ่งที่ป้าเจี๊ยบกำหนดให้นักศึกษาทำและนักศึกษาก็ทำเพื่อเกรด ไม่ใช่จากใจ

     จนกระทั่งเมื่อวานนี้ ป้าเจี๊ยบเกิดความมั่นใจเต็มร้อยว่าการใช้ learners.in.th เป็นเรื่องดีแท้แน่นอน
ก็ด้วยฤทธิ์ของจดหมายเพียงฉบับเดียวที่ได้รับทางอีเมล์
ตอนแรกไม่อยากเปิดอ่านเลย เพราะเห็นชื่อเรื่องว่า “เรียน...”
เหตุเพราะป้าเจี๊ยบอยู่ในตำแหน่งบริหารด้วย ทำให้หนังสือร้องเรียน สนเท่ห์บ้าง ไม่เท่ห์บ้าง เข้ามาปะปนในกล่องจดหมายเป็นปกติวิสัย

     แต่พอเปิดอ่านแล้วก็ “ยิ้มออก” ทันใด แล้วก็ต้องลงมือเขียนบันทึกนี้ไง..

     ผู้เขียนเป็นนักศึกษาชื่อ “จักรพันธ์ พานสอาด” เธอเขียนว่าอย่างไรนั้น อ่านได้ที่นี่ค่ะ
สิ่งที่สะท้อนในจดหมายน้อยดังกล่าว บอกป้าเจี๊ยบว่า
ความพยายามที่จะสอนนักศึกษาให้คิดเป็น สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และใฝ่รู้นั้น
ขณะนี้มีดอกออกผลให้เห็นแล้ว (หนึ่งเดียวก็ชื่นใจนัก..)

     ในช่วงที่เรียน 4 เดือน คุณจักรพันธ์เขียน “บล็อกจิตนวัตกรรม” ของตนเอง 100 กว่าเรื่องค่ะ ทั้งๆที่ป้าเจี๊ยบกำหนดให้เขียนเพียง 20 เรื่องเท่านั้น

 

     ส่วน “บล็อกนวัตกร” ซึ่งป้าเจี๊ยบกำหนดให้ส่งงานกิจกรรมที่ให้นักศึกษาคิดนั้น
คุณจักรพันธ์ก็ตั้งใจทำและเรียนรู้อย่างจริงจัง
ทั้งยัง "พยายาม" เขียนบันทึกเป็นภาษาอังกฤษด้วย (อันนี้ป้าเจี๊ยบขอร้อง ไม่ได้บังคับนักศึกษาค่ะ)

 

     ฉะนั้น แม้จะช้าไปมาก.. 
แต่ป้าเจี๊ยบก็ขอขอบคุณ learners.in.th อย่างยิ่ง
ด้วยใจสำนึกในความเสียสละและความตั้งใจดีของบุคลากรที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของระบบทุกท่านค่ะ...รักนะ

หมายเลขบันทึก: 430434เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2011 21:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ด้วยความยินดีค่ะป้าเจี๊ยบ และประมาณเดือนพฤษภาคมนี้จะมีระบบส่งการบ้าน (แห่งชาติ) ออกมาให้ใช้บริการด้วยค่ะที่ class.in.th แล้วจะ integrate เข้ากับระบบของ Learners.in.th ต่อไปค่ะ มาเรียนเชิญป้าเจี๊ยบมาใช้บริการเป็นคนแรกเลยนะคะนี่ :)

ป้าเจี๊ยบคะ

บันทึกนี้ เป็นอีก 1 ตัวอย่างหนึ่งของการใช้งานบล็อกเพื่อพัฒนาสังคม หนูขออนุญาตนำลิงก์ไปใส่ไว้ในบันทึกนี้นะคะ ชวนกันคุย : เขียนบล็อกใน GotoKnow ช่วยพัฒนาสังคม เพราะเป็นประเด็นที่กำลังชวนกันคุยอยู่ใน GotoKnow ค่ะ

ขอบคุณมากๆ ค่ะ

มาเยี่มชมและชื่นชมที่ช่วยกันพัฒนาสังคมครับ

เรียน ดร.จันทวรรณ
อีกหนึ่งนวัตกรรม- ระบบส่งการบ้าน(แห่งชาติ)
ยินดีที่จะได้ใช้ในภาคเรียน 1/54 ค่ะ 

คุณมะปรางเปรี้ยว
ถ้าเห็นว่าสิ่งนี้เป็นประโยชน์แก่ประชาสังคม ป้าเจี๊ยบก็ดีใจค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท