เบื้องหลังการรับการตรวจเยี่ยมจากสภาการพยาบาลฯกับบทบาทผู้ตรวจการพยาบาล


การรับรองคุณภาพการพยาบาล สภาการพยาบาลฯ แผนกการพยาบาลอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน

13-14 พฤศจิกายน2551 งานบริการพยาบาล ต้อนรับผู้มาตรวจเยี่ยมจากสภาการพยาลฯ ดร.ยุวดี เกตุสัมพันธ์และคณะ (จำนวน5 ท่าน) ใช้เวลา2วันที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ตรวจเยี่ยมตามมาตรฐาน3หมวด คือ 1.การนำองค์กร 2.การปฏิบัติการพยาบาล3.ผลลัพธ์ทางการพยาบาล

แผนกการพยาบาลอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน รับการเยี่ยมตรวจในวันที่13พฤศจิกายน เวลา 10.30-12.30น.ตรวจ2หน่วยงานคืออีอาร์และหอผู้ป่วยเออี2หรือTrauma(ทราบก่อน1-2วัน เพราะระบุมาจากคณะผู้เยี่ยม)

ผู้ตรวจการพยาบาล ถือว่าเป็นผู้นำสุงสุดระดับแผนกการพยาบาล จึงมีหน้าที่เตรียมต้อนรับการเยี่ยมตรวจครั้งนี้ และในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการบริหารงานบริการพยาบาล จึงมีหน้าที่โดยตรง

1.ผู้นำการเขียนUnit profileและการประเมินตนเองตามแบบฟอร์มของสภาการพยาบาลร่วมกับหัวหน้าหอผู้ป่วย

2.สื่อสารกับผู้ปฏิบัติระดับหอผู้ป่วย โดยการประชุม สัมมนา ให้เป็นการสื่อสาร2 ทาง

3.ตรวจเยี่ยมภายในหน่วยงานโดยคณะกรรมการบริหารแผนกการพยาบาลและงานบริการพยาบาล เยี่ยมทุกหน่วยงาน

4.เยี่ยมตรวจรายวัน ให้การนิเทศหัวหน้าหอผู้ป่วย และทีมผู้ปฏิบัติการพยาบาล

5.ร่วมConference กับหน่วยงานที่ได้โอกาสรับการตรวจเยี่ยม

6.ประชุมTue ผู้ปฏิบัติที่จะรับการตรวจเยี่ยม

7.ให้กำลังใจและคอยลุ้นวันรับการตรวจเยี่ยมเพื่อเก็บประเด็นสำคัญเพื่อหาโอกาสพัฒนา

8.สรุปประเด็นสะท้อนสู่ผู้ปฏิบัติหาโอกาสพัฒนาร่วมกับเป็น แสดงความรับผิดชอบต่องานที่เป็นจุดอ่อนและไม่ควรอย่างยิ่งในการตำหนิผู้ปฏิบัติงาน

สรุปบทเรียนครั้งนี้ คือ การเปิดใจ จะเห็นความชัดเจนสิ่งที่จะพัฒนาในอนาคต

การพัฒนางานและสมรถนะของผู้ปฏิบัติงาน เข้าไปเป็นกลมกลืนกับการเปลี่ยนแปลง ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ ให้ตรงประเด็น นั่นหมายความพยาบาลต้องสามารถประเมินปัญหาด้านสุขภาพเป็นเบื้องต้น โดยต้องมีความชำนาญการในการใช้กระบวนการพยาบาลเป็นอย่างดี ในทุกขั้นตอน

เน้นการเป็นNursing Profession ต้องสามารถปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างชัดเจน และบันทึกสิ่งที่ตนเองปฏิบัติลงในบันทึกการพยาบาล และสามารถแสดงออกถึงการปฏิบัติการพยาบาลที่ส่งผลต่อการแก้ปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยในกลุ่มเป้าหมายที่ตนรับผิดชอบ จนสามารถวัดผลลัพธ์ได้

ตัวช่วยที่ดีของการพัฒนา คือ ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง

ขอบคุณ คณะผู้ตรวจเยี่ยม สภาการพยาบาลฯ อาจเป็นเรื่องที่เคยรู้มาบ้างแล้ว แต่ในครั้งนี้ไม่เหมือนทุกครั้ง คือสภาฯ ได้สร้างการรับรู้ให้ตรงกันทั้งองค์กร ถือเป็นตัวกระตุ้นเชิงบวก

หมายเลขบันทึก: 223050เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2008 11:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 19:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีคะพี่แขก

มาอ่านของทีมหนึ่งคะ เข้มข้นมากคะ

  • เป็นคำถามที่ทีม3 ก็ถูกถามคะ ยกตัวอย่าง
  • บันทึกไว้ที่ไหน ความเสี่ยงมีอะไรบ้าง จัดการอย่างไร
  • ยาที่มีความเสี่ยสูงที่จะต้องมีการเฝ้าระวังอย่างไร มียาตัววไหนบ้างในหอผู้ป่วย
  • ทำอย่างไร มีแนวทางเฉพาะหรือไม่ ได้บันทึกไว้ที่ไหน ว่ามี
  • พยาบาลมีป้องกันความเสี่ยงให้กับผู้ป่วย
  • จัดระดับความเสี่ยงแล้วต้องรายงานทันทีคืออะไร 
  • มีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ละใช้ทำอะไรบ้าง

  • พยาบาลต้องสามารถประเมินปัญหาด้านสุขภาพเป็นเบื้องต้น
  • โดยต้องมีความชำนาญการในการใช้กระบวนการพยาบาลเป็นอย่างดี ในทุกขั้นตอน
  • เน้นการเป็นNursing Profession ต้องสามารถปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างชัดเจน และบันทึกสิ่งที่ตนเองปฏิบัติลงในบันทึกการพยาบาล และสามารถแสดงออกถึงการปฏิบัติการพยาบาลที่ส่งผลต่อการแก้ปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยในกลุ่มเป้าหมายที่ตนรับผิดชอบ จนสามารถวัดผลลัพธ์ได้

ตามมาให้กำลังใจ พวกเราชาว AE ต้องร่วมด้วยช่วยกันนะคะพี่ สู้ ๆ ๆ

คำถามของอีอาร์

1.การคัดกรองผู้ป่วยทำอย่างไร

....คัดกรองผู้ป่วยอุบัติเหตุ ผู้ป่วยฉุกเฉิน

2.พยาบาลรู้ได้อย่างไรว่าผู้ป่วยคนไหน ด่วน/รีบเร่ง หรือ ไม่รีบเร่ง

...มีใบบันทึกคัดกรองผู้ป่วย/พยาบาลอีอาร์มองดูก็รู้ได้เลยว่าด่วนหรือไม่ด่วน พยาบาลต้องได้ระดับนั้นเลย ถ้ามาวัดสัญญาณชีพ หรือวัดระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนอยุ่ ไม่น่าใช่การคัดกรองที่ควรทำให้ช่วงนี้

3.ทำอะไรก่อนระหว่าง หยิบใบคัดกรอง(สีแดง เหลือง เขียว)กับการดูผู้ป่วย

...ดูผุ้ป่วยก่อน/ต้องเข้าไปหาผู้ป่วยเลย ถ้ามาเลือกใบคัดกรองอยุ่ ไม่น่าใช่

4.คัดกรองแล้วผู้ป่วยไปไหน

....เร่งด่วยส่งไปห้องช่วยชีวิต(Resuscitation)

5.ผุ้ป่วยมารอตรวจนานเท่าไร

....เฉลี่ย 20 นาที

6.ถ้านานเกินเวลากำหนดพยาบาลทำอะไรบ้าง

....ให้ข้อมุล

 7.ปัญหาของผู้ป่วยรอตรวจมีอะไร พยาบาลแก้ปัญหาอย่างไร

....รอนาน /พยาบาลเข้าใจปัญหาของผู้ป่วย แต่ถ้าจะแสดงการพยาบาลแบบองค์รวมจะทำอย่างไรที่ตรงนี้ จะให้การพยาบาลอย่างไรบ้าง

8.ปัญหานี้หัวหน้าช่วยอย่างไร

....แนะนำ และมาช่วยเหลือ /ทำงาน 4 ปีแล้วต้องแก้ปัญหาได้ คงไม่ต้องให้หัวหน้าช่วย

9.ผู้ป่วยนอนรอตรวจจะรู้อย่างไรไม่ฉีดยาผิดคน

....ดูชื่อในบัตรตรวจ/ควรหาวิธีระบุตัวผู้ป่วยให้ชัดเจนตั้งแต่ต้น เพื่อป้องกันความเสี่ยง

10.จำเป็นต้องเก็บยาปฏิติชีวนะไว้ที่อีอาร์หรือไม่ เวลาที่รอได้เท่าไหร สามารถเบิกยาด่วนได้หรือไม่

....บันทึกการใช้ และตรวจนับจำนวนทุกผลัด/ ถ้าสามารถจัดระบบการเบิกด่วนทันทีได้ตามเกณฑ์เวลาไม่ควรจัดเก็บยาไว้ที่ห้องฉุกเฉิน

11.เตียงไหนที่จะบอกว่าจะใช้กู้ชีพในผู้ป่วยฉุกเฉินที่ต้องการการซีพีอาร์

....................................../ ควรมีการระบุพื้นเตียง หรือบริเวณที่ตียงผู้ป่วยจะเข้า

สรุปคำตอบ คือ

สิ่งที่ผู้ปฏิบัติเข้าใจจะอธิบายวิธีการทำงานใหผู้เยี่ยมตรวจจากสภาการพยาบาลรับทราบ ก็จะบ่งบอกสมรรถะของผู้ปฏิบัติรายบุคคลและเป็นการอธิบายถึงวางระบบสู่การปฏิบัติอยุ่ในระดับใด จากการสังเกตและลุ้นคำตอบ พอสรุปได้ว่าพยาบาลมีความตั้งใจ ทั้งการปฏิบัติที่ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง แต่เข้าใจหลักการ แต่สำหรับวิธีการ ยังต้องการตัวอย่างการปฏิบัติที่ชัดเจนมากเพิ่มขึ้น เพราะการเข้าถึงเรื่องการพยาบาลแบบองค์รวม การSharingกับผู้ใช้บริการ อาจยังไม่สามารนำมาปฏิบัติในเชิงรูปธรรมได้ตามมารตรฐานของสภาการพยาบาล อะไรประมาณนั้น

ตรงนี้น่าจะเป็นประโยชน์ เพื่อการพัฒนาพยาบาลและหน่วยงานต่อไป ให้สามารถแสดงถึงNursing Profession

 

โอกาสพัฒนาของเราที่จับประเด็นได้

กระบวนการพยาบาล

การดูแลแบบองค์รวม

การใช้บันทึกทางการพยาบาล

การสื่อสาร

ระบบยา

ระบบ IC

Bed side nursing care

ฯลฯ

หวังว่าพี่น้องพยาบาลเรา จะช่วยกันทำงานให้ดีขึ้นเรื่อยๆนะคะ

คำถามของหอผู้ป่วยเออี2(Trauma)

1.หอผู้ป่วยอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน1และ2แตกต่างกันอย่างไร

....กลุ่มผู้ป่วยเออี2 รับผู้ป่วยTruama เออี1จะรับ non trauma..

2.ผุ้ป่วยตรงนี้ที่เขาส่งเข้ามา ขอดูใบส่งต่อ

...มีใบบันทึกรับข้อมูลจากอีอาร์

ตรงไหนที่เรารับ ใบบันทึกทางการพยาบาล Nurse,s note รับใหม่ที่บอกว่าต้อนรับ ต้อนรับใคร ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว

.... แบบฟอร์มรับใหม่เป็นสำเร็จรูปใช้วิธีchecklist เพื่อช่วยให้พยาบาลสามารถจดจำขั้นตอนการพยาบาลได้

แต่การบันทึกไม่ตรงกับข้อมูล เป็นแบบการบันทึกส่วนใหญ่ประเมินแล้ว ประเมินอีกครั้ง ยังไม่เห็นการบันทึกกิจกรรมพยาบาลที่แสดงNursing Profesion (เน้นๆ) อยากให้เก็นตรงนี้ชัดเจนขึ้น

3.ข้อมูลอะไรที่พยาบาลต้องการรู้เมื่อมีการส่งต่อผู้ป่วยเข้ามา

....อาการของผู้ป่วย สัญญาณชีพครั้งสุดท้าย

อยากให้พยาบาลรู้ว่าต้องการข้อมูลอะไรต้องที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการพยาบาลต่อเนื่องได้ ที่จำเป็นจริงๆ ไม่ใช่ว่ามีข้อมูลแล้วก็ต้องการ บางเรื่องก็มีบันทึกอยู่แล้ว ขอให้เอาข้อมูลที่จำเป็นจริง อยากให้ผู้ปฏิบัติคุยกัน

4.การบันทึกการให้ยา ระบบที่วางไว้คิดว่ามีปัญหาในเออีอย่างไร เวลาตรวจสอบการให้ยาทำอย่างไร

................................................

5.ทบทวนการบันทึกทางการพยาบาล บอกความเป็นNursing profession หรือไม่ ควรทำอย่างไร

อยากให้พยาบาลให้การพยาบาลอย่างไรแล้วช่วยบันทึก สิ่งที่เรียกว่าNursing Activity

6.การเขียนแผนการพยาบาลมีข้อมูลจำนวนมาก ตรงประเด็นปัญหาของผู้ป่วยหรือไม่ จะทำให้งานยากเป็นง่ายอย่างไร

อยากให้พยาบาลบันทึกข้อมูลเฉพาะเป็นประเด็นปัญหาไม่จำเป็นต้องมาก แต่ให้ตรงประเด็น

7.การพยาบาลด้านจิตใจ ควรใช้การพยาบาลบำบัดอะไร ที่สอดคล้องกับภาวะของผู้ป่วยอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน

ช่วยระบุการพยาบาลและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นให้ชัดเจน

จากการเก็บตกประเด็นคำถาม สิ่งที่เน้นมาก เป็นเรื่องบทบาทอิสระของพยาบาล

  • สวัสดีค่ะ
  • ขอบคุณนะคะที่ถ่ายทอดสิ่งที่เราควรจะเป็นค่ะ
  • บางครั้ง ทำอย่างเดียวก็ไม่ค่อยรู้เป้าหมาย
  • ขอก๊อปนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีคะพี่มณีแดง

ยินดีมากคะ หลังจากนี้ เราไม่ตกงาน เพราะมีสิ่งท้าทายรออยู่คะพี่

  • สวัสดีค่ะพี่แขก
  • เมื่อไรจะเก่งแบบพี่แขกมั่งนะ  อิอิ

ขอบคุณคะ น้องสุธิดา หมูหวาน

ได้ติดตามงานที่น้องทำ คือ เส้นทางการพัฒนาตนเอง และงาน ถูกต้องแล้ว มีความชำนาญในงานที่รับผิดชอบ และต้องทำงานวิชาการควบคู่กันไป สร้างผลงาน ได้การเรียนจากการปฏิบัติส่วนหนึ่ง นอกจากนั้นต้องทบทวนสิ่งที่คนอื่นปฏิบัติ งานวิจัย หลักฐานประจักษ์ เอามาผสมผสานกัน ริเริ่มการพยาบาลแบบใหม่ๆ

ปีนี้คณะแพทยศาสตร์ มข มีงบประมาณสนับสนุนการทำR2R คะ เราอาจลองเขียนโครงการ ของบประมาณมาบริหารดู เป็นการฝึกฝนตนเองในลักษณะทำงานมีขอบเขตเวลา ลองดูนะคะ

เรียนท่านพี่แขก คล้ายกับ HA+PMQA+TQA เลยครับ

ขอคาระวะ ท่านอาจารย์JJ ที่เคารพ

ที่กรุณาสรุปกรอบแนวคิดให้ คงเป็นส่วนหนึ่งที่จะสานฝันของคณะแพทยศ่าสตร์ ที่จะพัฒนาสู่ TQA แขกก็ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ อาจไปแบบลูกทุ่งๆก่อนคะ

ขอบคุณมากคะ ที่ท่านให้โอกาสการเรียนรู้แก่พยาบาล มาตลอด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท