เม็กดำ ภาคสอง (1) : อนุรักษ์ใบลาน ..ขอเพียงชุมชนพร้อม ผมก็พร้อม !


การปลุกกระแสสำนึกของคนในหมู่บ้านให้ตื่นฟื้นขึ้นมาตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญในมรดกวัฒนธรรมของตนเอง

ผมเชื่ออยู่อย่างแรงกล้าว่าเราต่างมีความมุ่งมาดปรารถนาที่จะทำสิ่งดี ๆ ให้กับสังคมเสมอ  ถึงแม้จะรู้อยู่แก่ใจว่าสิ่งที่อยากจะทำนั้น  ตัวเราเองก็อาจจะไม่มีความรู้ความจัดเจนในเรื่องดังกล่าวเลยแม้แต่น้อย  แต่กระนั้นสำหรับผมแล้ว -  ผมไม่เคยสิ้นหวัง  และไม่เคยท้อแท้จนต้องวางมือและหันเหหัวใจหนีหายไปจากสิ่งที่อยากจะทำ !

   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ล่าสุดเมื่อวันที่  10  เมษายนที่ผ่านมา  ผมเดินทางลงพื้นที่ชุมชนบ้านเม็กดำอีกครั้ง  โดยมีคณาจารย์และบุคลากรในมหาวิทยาลัยร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางไม่น้อยกว่า  6  ชีวิต</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">   </p><p>ก่อนการเดินทางร่วมสัปดาห์ผมประสานงานโดยตรงกับท่าน ผอ.ศักดิ์พงศ์  หอมหวล  (เม็กดำ 1)   เพื่อประชุมร่วมกับชาวบ้านเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่องการอนุรักษ์ธรรมาสน์เสาเดียวและการอนุรักษ์ใบลานอันเก่าแก่ที่ถูกทิ้งร้างไว้บนศาลาวัดในชุมชนบ้านเม็กดำ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ย้อนกลับไปเมื่อครั้งที่เคยได้สัญจรสู่พื้นที่เม็กดำ,  ผมมีโอกาสได้สัมผัสกับมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนทั้งสองอย่างชนิดที่แตะต้องด้วยมือและสัมผัสด้วยใจอย่างลึกซึ้ง  กอปรกับได้รับรู้ข้อมูลหลากเรื่องราวจากท่าน ผอ.ศักดิ์พงศ์ฯ ยิ่งเกิดแรงบันดาลใจที่อยากจะเป็นส่วนหนึ่งของการกระตุ้นเตือนให้ชุมชนได้ลุกขึ้นมาปกป้องและอนุรักษ์ทั้งสองสิ่งไว้อย่างจริงจัง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมครุ่นคิดและวิตกอยู่ไม่น้อยกับกระบวนการที่จะต้องทำงานในเรื่องดังกล่าว  โดยเริ่มคิดว่าจะขับเคลื่อน หรือเริ่มต้นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไรบ้าง  และด้วยความสัตย์จริง -  ผมไม่มีความรู้ในเรื่องใบลานเลยแม้แต่น้อย อ่านไม่ออก บอกไม่ถูก  ตลอดจนไม่รู้แม้กระทั่งกระบวนการของการดูแลรักษาใบลาน !</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>   </p><p>แต่เมื่อต้องเริ่มต้นลงมือทำ  ผมก็ไม่เคยหวาดหวั่นต่อสิ่งเหล่านั้น  ผมได้รับไฟเขียวให้ประสานงานกับโครงการอนุรักษ์ใบลานในภาคะวันออกเฉียงเหนือของมหาวิทยาลัยฯ อย่างเต็มที่ -  ลุยได้เต็มพิกัดเท่าที่ผมจะทำได้  และเป็นความโชคดีของผมที่หน่วยงานในสังกัดของมหาวิทยาลัยเห็นความสำคัญกระโจนลงมาช่วยเหลือผมอย่างเต็มเรี่ยวแรง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">สิ่งที่เราต้องการให้เกิดขึ้นในชุมชนก็คือ…  การปลุกกระแสสำนึกของคนในหมู่บ้านให้ตื่นฟื้นขึ้นมาตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญในมรดกวัฒนธรรมของตนเอง  ซึ่งเราก็กำหนดวัตถุประสงค์ก้าวแรกอย่างกว้าง ๆ  คือ การประเมินดูว่าชุมชนมีความปรารถนาที่จะเรียนรู้และปกป้องในเรื่องใบลานของตนเองแค่ไหน.. มีใครในชุมชนที่มีความรู้ในเรื่องการอ่าน การเขียน หรือแม้แต่การอนุรักษ์บ้างหรือเปล่า !</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">การเดินทางไปยังชุมชนเม็กดำในวันนั้น  จึงเป็นเสมือนการไปหยั่งวัดข้อมูลและสถานการณ์ทางชุมชนว่ามีองค์ความรู้และมีสำนึกของการหวงแหนใบลานอันเก่าแก่ของตนเองสักปานใด</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">คณะของผมไปถึงจุดนัดหมายอันเป็นศาลาวัดในเวลาประมาณ 09.00  น.  ผู้เฒ่าผู้แก่ทั้งหญิงและชายเตรียมพร้อมอยู่อย่างน่านับถือ  อีกทั้งนิสิตของมหาวิทยาลัยที่มาฝังตัวอยู่ในหมู่บ้านตามโครงการ เรียนรู้คุณธรรม  นำชีวิตพอเพียง  ก็พร้อมเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้นี้อย่างใจจดใจจ่อ</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">กระบวนการแห่งการเรียนรู้เริ่มขึ้น  เราแยกกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม  โดยกลุ่มแรกแยกตัวไปเสวนาแลกเปลี่ยนในเรื่องธรรมาสน์เสาเดียว  ส่วนผมปักหลักอยู่ในวงเสวนาของเรื่องใบลาน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เป็นที่น่าเสียดายว่าผู้เฒ่าผู้แก่ที่อาวุโสสุดของหมู่บ้านกลายกลับไม่สามารถให้ข้อมูลใด ๆ กับเราได้นัก -   ทั้งประวัติความเป็นมา, เรื่องราวที่จารึกในใบลาน,  หรือแม้แต่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  เราก็ไม่สามารถรับรู้ได้จากปากคำประวัติศาสตร์ของชุมชน  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>   </p><p>ผมได้เชิญให้บุคลากรของมหาวิทยาลัย  คือ อาจารย์สมัย  วรรณอุดร   ช่วยสะท้อนความรู้เกี่ยวกับใบลานให้นิสิตและชาวบ้านได้เรียนรู้ร่วมกัน   ซึ่งก็ถือว่าประสบความสำเร็จเกินคาด  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แต่สภาพของใบลานที่ถูกทิ้งร้างไม่ได้รับการอนุรักษ์อย่างที่ควรจะเป็นก็ยากยิ่งต่อการรวบรวมเป็นเรื่องเป็นราวได้ในเวลาอันสั้น  หลายชุดกรอบแห้ง ผุพังไม่เป็นชิ้นดี  หลายผูก แตกยับและเลือนรางไปไม่น้อย  แต่เท่าที่ทีมงานของเราเพียรพยายามจัดเก็บและรวบรวมเป็นชุดก็พอรับรู้ได้บ้างว่าใบลานเหล่านี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระสูตร, โหราศาสตร์,  นิทานคำสอน  เป็นต้น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">จากนั้นก็ทำการสาธิตวิธีทำความสะอาดใบลาน, การห่อเก็บใบลาน,  รวมถึงการฝึกปฏิบัติโดยให้ชาวบ้านทั้งกลุ่มช้างน้าวและนักเรียนเม็กดำได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาและอนุรักษ์ใบลาน  รวมถึงการมอบหมายให้นิสิตของมหาวิทยาลัยช่วยเป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินการในส่วนที่เหลือให้แล้วเสร็จในช่วงบ่ายของวันนี้</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>    </p><p>ก่อนเดินทางกลับผมแจ้งอย่างตรงไปตรงมาต่อชุมชนและท่าน ผอ.ศักดิ์พงศ์ ฯ (เม็กดำ 1)  ด้วยสุ่มเสียงอันจริงจังในทำนองที่ว่าผมยินดีช่วยเหลือทุกอย่าง  ขอเพียงอย่างเดียว  คือ  ชุมชนต้องจริงจังที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งเหล่านี้อย่างจริงใจ  และถ้าพร้อมเมื่อไหร่ทางเรายินดีที่จะมาจัดอบรมการอ่านใบลานและอนุรักษ์ใบลานให้ชาวบ้านและนักเรียนของโรงเรียนเม็กดำอย่างไม่มีเงื่อนไข</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมมีความมุ่งมั่นอยู่อย่างเงียบ ๆ  ว่า  สักวันจะต้องประสานความร่วมมือมายังชุมชนเพื่อสร้าง ห้องเรียนชุมชน..คนรักษ์ท้องถิ่น  ให้เกิดขึ้นที่นี่ให้จงได้</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>นั่นคือความฝันที่ผมอยากทำให้เป็นจริง  ถึงแม้จะเป็นกิจกรรมที่ผมไม่มีความรู้  ความสามารถและความจัดเจนในเรื่องดังกล่าว  แต่ก็พร้อมที่จะทุ่มเทแรงกายและแรงใจประสานรอบทิศเพื่อให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นให้จงได้….    </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">พรุ่งนี้ผมจะเดินเรื่องอีกครั้งในมหาวิทยาลัย  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมเชื่อว่ายังมีคนที่จะช่วยผมอีกเยอะ  และขอเพียงอย่างเดียวเท่านั้น  คือ  ชุมชนต้องเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องเหล่านี้อย่างจริงจัง และจริงใจ   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เพราะนั่นคือ  หนทางเดียวที่จะทำให้มรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นใบลานคงอยู่ในชุมชนสืบไปอย่างไม่รู้จบ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> 

หมายเลขบันทึก: 92060เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2007 22:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอใช้โอกาสนี้ขอบพระคุณท่าน ผอ. ศักดิ์พงษ์ หอมหวล เป็นอย่างสูง ด้วยนะคะ  วันนั้น ผอ.ท่านอยู่กับพวกเราจน 16.00 น.

ที่จริงทุกกิจกรรมที่ ค่ายฯเม็กดำ  ท่านผอ. ไม่เคยทอดทิ้งพวกเราเลยค่ะ  ทั้งอำนวยความสะดวก มาช่วยและเป็นกำลังใจให้เสมอ

สวัสดีค่ะ

P

ใบลาน (palmleaves) มีอยู่ที่ไหนบ้างนอกจากชัยภูมิคะ

เขาจาร เป็นอะไรคะ นิทานชาดก หรืออะไร

เห็นมีเก็บที่ไว้ที่ศูนย์ ศิลปวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา  

 เล่าเรื่องพญาคันคากเป็นพระโพธิสัตว์ นำทหารไพร่พลไปรบกับพระยาแถน ผู้ครองสวรรค์ให้แบ่งน้ำลงมาให้ชาวมนุษย์บนโลกได้ใช้ทำไร่ไถนา จนได้รับชัยชนะฝนตก ต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารสมบูรณ์ ผู้คนในเมืองมนุษย์ประสบความสุขถ้วนหน้า

สวัสดีครับ เจ้
P
ส่วนหนึ่งของบันทึกนี้ก็ต้องการที่จะบอกกล่าวขอบคุณท่าน ผอ.ศักดิ์พงศ์ฯ  ด้วยเช่นกันและกิจกรรมที่เหลือก็ยังต้องอาศัยท่านเป็นผู้ประสานในภาคพื้นชุมชน  ซึ่งตอนนี้ผมก็รอการยืนยันความชัดเจนอีกครั้งจากท่าน ผอ.  ที่เหลือก็คงระดมกำลังใหม่อีกรอบให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
สวัสดีครับ
P

ใบลานยังคงพบหลากหลายตามชุมชนต่าง ๆ  แต่ที่เม็กดำนั้น  สภาพเก่ากรอบเกรียมค่อนข้างมาก  และไม่อยู่ในสภาพเป็น "ผูก"  จึงยากที่จะดูและศึกษาได้ว่ามีการจารเป็นเรื่องราวใด ๆ บ้าง  แต่หลังจากขับเคลื่อนกิจกรรมแล้ว  คงมีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวในเร็ววันนี้  รวมถึงสามารถจัดเก็บเป็นมัดหรือเป็นผูกแต่ละเรื่อง ๆ ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น

ขอบคุณครับ

ขอบคุณพี่พนัสครับ

ปัจจุบันกระแสจากสังคมเมืองนั้นแรง ซึม กระจายเข้าชนบท หมู่บ้านมากเท่าที่เห็น ทำให้ชาวบ้านส่วนมากลืมกับสิ่งเก่าๆที่ทรงคุณค่า

ผมว่าสถาบันการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นระดับขั้นพื้นฐาน (โรงเรียน) ซึ่งอยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว เกือบทุกๆบ้าน ต้องร่วมมือกันสถาบันการศึกษาที่เราเรียกว่า "อุดมศึกษา มหาวิทยาลัย" ซึ่งต้องเป็นที่พึ่งหลักให้ชุมชน นอกจาการจัดการศึกษาให้ลูกหลานเขาแล้วในท้องถิ่น

ผมว่า มมส ของเรามีทั้งคน สถาบันวิจัย ที่มีความรู้เรื่องเหล่านี้อยู่มาก จะเป็นที่ปรึกษา สนับสนุนเพื่อการอนุรักษ์สิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่เพียงเก็บ และแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์

ขอบคุณพี่พนัสอีกครั้งที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมเหล่านี้ครั

เป็นกิจกรรมที่ปิติครับ ชื่นชมอาจารย์และอาจารย์สมัยครับ ผมเคยเจออาจารย์สมัยในคราวเก็บข้อมูลด้านวัฒนะรรมให้กรมศิลปากร นับเป็นคนรุ่นใหม่ที่สนใจวัฒนธรรมดีมาก ฝากความคิดถึงด้วยนะครับ
สวัสดีครับ
P

กิจกรรมนี้ที่กำลังทำเข้าประกันได้หรือเปล่าน้อ..(ยิ้ม ๆ )

....

เป็นความสัตย์จริงนะครับน้องแจ๊คที่พี่มีความสุขกับการที่จะได้เป็นส่วนร่วมกับกิจกรรมนี้  ถึงแม้จะเป็นผู้ประสานก็เถอะ  กระนั้นก็รู้สึกเสมอว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมอย่างแท้จริง

มหาวิทยาลัยมีหน้าที่ที่จะต้องดูแลเรื่องเหล่านี้ร่วมกับชุมชนบ้าง..เพราะชุมชนก็จำต้องอาศัยศักยภาพทางวิชาการของสถานศึกษาไปช่วยให้ชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืนขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

ขอบคุณนะครับ

สวัสดีครับ คุณออต
P
  • ท่าน ผอ.ศักดิ์พงศ์  หอมหวล  ท่านยังแกร่งและมีไฟ  รวมถึงมีมิติสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน  จึงช่วยให้โรงเรียนและชุมชนสอดรับเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
  • นี่เพิ่งเริ่มต้น - และผมก็ขบคิดอยู่เกือบทุกวันในการเตรียมการที่จะลงสู่พื้นที่ในเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้
  • เหนื่อยน่าดู...แต่ก็ยังมีความสุขอย่างมากมาย
  • ขอบคุณครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท