อัฐมีบูชา ณ เมืองทุ่งยั้ง : อุตรดิตถ์ไดอารี่


 ในช่วงระหว่างการทำงาน ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ภาระงานที่สำคัญของอาจารย์อย่างหนึ่งก็คือ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลและเขียนบทความที่เกี่ยวข้องกับประเพณี อัฐมีบูชา ซึ่งเป็นประเพณีที่สำคัญอย่างหนึ่งของจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อเผยแพร่และสืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามอย่างนี้ตลอดไปครับ

   อัฐมีบูชา ณ เมืองทุ่งยั้ง

            ชุมชนทุ่งยั้ง อำเภอลับแล เป็นชุมชนที่มีความเก่าแก่ ชุมชนหนึ่ง จากตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า ชื่อหมู่บ้านทุ่งยั้งใต้นี้  ถือกำเนิดมาครั้งก่อนพุทธกาล  เชื่อว่ามีการเสด็จมาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อมาถึงทุ่งนาที่กว้างใหญ่พระองค์ทรงหยุดทอดพระเนตรออกไปสู่ทุ่งนาดังกล่าว  จึงเป็นสาเหตุที่ใช้ชื่อเรียกชุมชนที่อยู่ละแวกนี้ว่า  ทุ่งยั้ง




ชุมชนทุ่งยั้งเป็นชุมชนที่เก่าแก่และมีประวัติศาสตร์ที่มีความเชื่อถือและขนบธรรมเนียม ประเพณีที่เป็นศูนย์กลางความเคารพศรัทธาอยู่หลาย ๆ อย่างด้วยกันประกอบด้วย



                งานอัฐมีบูชา  จัดว่าเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาของชาวทุ่งยั้ง เป็นการจัดงานช่วงของวันวิสาขบูชา ซึ่งจะมีการจัดงานถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า  หรือที่เรียกกันว่า อัฐมีบูชา ซึ่งถือได้ว่าในปัจจุบันมีแห่งเดียวของประเทศ ซึ่งจะจัดหลังจากวันวิสาหกิจบูชา คือวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้  10  วัน  



              การจัดงานมีมาตั้งแต่สมัยดั้งเดิม โดยชาวบ้านจะนำไม้ไผ่มาสานจำลองเป็นพระพุทธรูป  เมื่อถึงวันวิสาขบูชาหลังจากที่มีการเวียนเทียนเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะมีเผาหรือถวายพระเพลิงพระบรมรูปจำลองที่ได้ร่วมกันทำนั้น ซึ่งก่อนที่จะมีการถวายพระเพลิงก็จะจัดให้มีการเทศน์และกล่าวสรุปประวัติวันวิสาขบูชา ภายหลังได้เปลี่ยนให้มีการจัดงานทั้งหมด 10  วัน


 โดยมีการบำเพ็ญกุศลนับเริ่มตั้งแต่วันวิสาขบูชา  รูปแบบเมรุก็เปลี่ยนให้เป็นแบบทรงไทย  ซึ่งแต่เดิมเป็นแบบอินเดียซึ่งมีการทำบุญ 7 วัน ตามจำนวนลูกของท้าวสามล  ได้แก่  มลิวรรณ์  ถันวิลา  มลุลี ยี่สุ่นเทศ  เกษเมือง  เรืองยศ  และรจนา โดยวันที่ จะมีการจัดงานสลากภัต  ส่วนในวันที่ </span>9 ของการจัดงานก็จะมีการเลี้ยงพระ และวันที่ 10 จะเป็นการจัดงานอัฐมีบูชา ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจำลอง ประกอบการแสดงแสง สี เสียง ซึ่งเป็นความร่วมมือร่วมใจในการจัดงานของชาวทุ่งยั้งอย่างแท้จริง เพื่อสืบทอดประเพณีอันดีงามอันนี้ให้สืบต่อไปตราบจนชั่วลูกสืบหลาน
<p>

หมายเลขบันทึก: 37837เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2006 21:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2014 11:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

งานอัฐมีบูชา  ภาอังกฤษเขียนยังงัยคับ

งานถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า ภาษาอังกฤษเขียงยังงัยคับ

งานเผาพระพุทธเจ้า ภาษาอังกฤษเขียนยังงัย

ช่วยน่อยนะคับ

*** ปี 2551 ได้ไปร่วมงานอัฐมีบูชาด้วย *** สวย *** น่าเลื่อมใสดี** แต่มีข้อที่ควรปรับปรุงคือ การกล่าวรายงานยาวเกินไป น่าจะสั้นกว่านี้ เพราะว่ากล่าวกันทุก ๆ ปี รู้กันอยู่แล้ว...ยิ่งปีนี้ท่านประธาน (ผู้ว่าฯ) ไม่สบายด้วย และเสียงเวลาที่กล่าวรายงานฟังไม่ชัดเจน เสียง อ้อม /แอ้ม ยังไงก็ไม้รู้ ... ถ้าปรับปรุงในส่วนนี้ได้..แจ๋ว สุดเลยล่ะ

ประเพณีนี้เป็นสิ่งดีที่คู่ไทย

เราทั้งหลายที่ชื่อว่าลูกหลานไทยควรสืบไว้ให้ดำรง

พุทธศาสนาเคียงคู่อยู่ดำรง

ไทยสุขสงบร่มเย็นนิรันดร์...

ได้มีโอกาสไปร่วมงานในปีนี้มาเหมือนกันครับ น่าส่งเสริมครับ เป็นกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาที่ทำให้เราเข้าใจพุทธประวัติได้อย่างง่ายๆ

ภาพที่เก็บมา http://surit001.multiply.com/photos/album/109

เดียร์ เด็กทุ่งยั้ง

ว้าว เมื่อคืนไปดูมาสวยมากมาย

พี่นี้อลังกาลโคตรเลยค่ะ

ชอบการแสดงโขนมากเลยข๊ะ

น่าประทับใจ ที่เมืองไทยมีงานแบบนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท