นิทานเรื่อง "คนไม่มีตาหลัง"


ในวันนี้เนื่องจากในช่วงของการนั่งคิดหัวเรื่องของงานวิจัยและวางแผนงานวิจัยประกอบกับการเรียนเรื่องของวัฒนธรรมชุมชนและสิทธิชุมชน ผมก็ได้คิดถึงนิทานเรื่องหนึ่งที่อาจารย์เคยเล่าให้ฟังครับ ที่เมื่ออ่านแล้วก็ยังนึกถึงแง่คิดที่ดี ๆ หลายอย่างที่สามารถใช้ในการทำกรอบแนวคิดได้ ก็เลยนำนิทานเรื่องนี้มาเผยแพร่ให้ทุก ๆ ท่านได้อ่านครับ

"คนไม่มีตาหลัง"

กาลครั้งหนึ่งไม่นานมานี่เอง..........

            ฤาษีตนหนึ่งมีวิชาอาคมที่แก่กล้ามาก เก่งกล้าจนกระทั่งสามารถรู้ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นชาวบ้านบ้าง ชาวบ้านเกิดเหลื่อมศัยศรัทธาเป็นอย่างมาก ทุกครั้งที่มาปรึกษาปัญหากับษี ฤาษีบอกสิ่งใดชาวบ้านไปชาวบ้านก็ทำตามหมด

แต่อยู่มาวันหนึ่ง ฤาษีบอกว่า

"คืนนี้ฝนจะตกใหญ่แต่อย่าไปรับฝนไว้นะ ถ้ารับน้ำฝนไว้ใครดื่มกิน จะมีอาการผิดปกติ คือ จะเดินถอยหลังกันหมด"

ชาวบ้านที่เคยเชื่อมาตลอด แต่คราวนี้พอฤาษีพอบอกว่าคืนนี้ฝนตก แล้วถ้าใครรับน้ำฝนมาดื่มกินแล้วจะเดินถอยหลัง

แต่คราวนี้ชาวบ้านกลับบอกว่า "มันเป็นไปไม่ได้" เพราะว่าไม่เคยปรากฎไม่เคยรู้อยู่มาช่วงในช่วงอายุคน ไม่เคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้

เพราะฉะนั้นชาวบ้านไม่เชื่อต้องการทดลอง อยากรู้ว่าฤาษีคราวนี้พูดจริงหรือเปล่า ก็รับน้ำฝนกันไว้ทุกบ้านทุกหลังคาเรือนแล้วดื่มด้วย 

จากนั้นแล้วเกิดอะไรขึ้นหรือครับ

คนทั้งชุมชนยกเว้นฤาษีตนเดียวเดินถอยหลังหมด มีฤาษีตนเดียวเดินไปข้างหน้า


หลังจากที่ฟังนิทานแล้ว

ถ้าถามว่า ถ้าเรามองในแง่ของ Social norm ใครผิดใครถูกเหรอครับ

"ชาวบ้านถูกนะครับ"  เพราะดูบันทัดฐาน คือ คนส่วนใหญ่เขาปฏิบัติกัน

แล้วฤาษีทำไมครับ

ทำผิดเพื่อนเป็น "บ้า" ไปครับ ทำไม่เหมือนกับคนอื่น ทำไม่เหมือนกับสิ่งที่ชาวบ้านเขาทำ (เหมือนสิ่งที่ผมกำลังทำ ซึ่งเป็นสิ่งที่เพื่อน ๆ และอาจารย์มองผมในตอนนี้ครับ)

ดังเช่น ท่านอาจารย์พุทธาติ ถูกกล่าวหามา สิบห้าปี ที่ทำผิดเพื่อนเพราะพระแสวงธรรมมายืนปาฐกฐานหน้าไมโครโฟนไม่ได้ครับ

เมื่อก่อนแสดงธรรมต้องนั่งบนธรรมมาต และอ่านใบลานเท่านั้น พอท่านทำปั๊บชาวบ้านไม่ยอมรับ 15 ปี  

นี่คือทำวิจัย "จะต้องให้เกิดการปลี่ยน"

เพราะฉะนั้นไม่จำเป็นจะต้องทำเหมือนคนอื่น ไม่ได้หมายความว่าคิดไปเรื่อย ทำไปเรื่อยนะครับ

"ต้องมีกรอบ แต่ไม่ยึดติดกับกรอบ"

เพราะถ้าเรามัวแต่ยึดติดกับกรอบเดิม ๆ ทำไปก็ไม่ได้อะไรมากมายหรือบางครั้งก็ไม่ได้อะไรเลยครับ แต่ไม่ใช่ไม่มีกรอบเลยนะครับ

แต่อีกด้านหนึ่งถ้ามองถึงความถูกต้องและการไม่ทำให้ชีวิตและสังคมมีปัญหาใครถูกครับ

"ฤาษีถูก"

ทำไมฤาษีถูก?

เพราะ ฤาษีถูกธรรมชาติ 

ตามันอยู่ข้างหน้าครับ ถ้าเราเดินไปข้างหน้ามีบ่อก็หลบได้ เดินได้ไม่ตกหลุมตกบ่อ

แต่คนที่ไม่มีตาข้างหลังเวลาเดินไปเป็นอย่างไงครับ ตกหลุมตกบ่อ

คนส่วนใหญ่ตกหลุมอะไรอยู่ เพราะไม่มีตา

"หลุมราคะ หลุมโทสะ" เดี๋ยวเบื่อ เดี๋ยวเซ็ง

นั่นแสดงว่าตกหลุมไม่มีตา

"ตาที่นี้เกิดคือปัญญา"


การที่เราจะเข้าไปทำงานวิจัยในชุมชน คือ การร่วมกันสร้างปัญญาให้เกิดขึ้นกับทั้งเราและเขา โดยยึดถือปัญหาของชุมชนหรือ "ทุนภูมิปัญญา" ของชุมชนเป็นที่ตั้ง 

ความรู้กับปัญญาคนละตัวกันนะครับ

ปัญญาตัวนี้คือ การสามารถกำหนดได้หมายรู้ 

การจำได้หมายรู้นั่นเป็นแค่ตัวความรู้ 

การสามารถกำหนดได้หมายรู้ นี่คือตัวปัญญา

พอมีปัญหา กำหนดได้เลยจะจัดการอย่างไร จะไปหาความรู้อย่างไง จะแก้กันอย่างไร "เพราะนี่คือตัวปัญญา"ครับ

ขอขอบคุณ รศ.ดร.มารุต ดำชะอม มาก ๆ ครับ ที่เล่านิทานเรื่องนี้ให้ผมได้ฟังครับ

หมายเลขบันทึก: 41341เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2006 15:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

หืมมมม เรื่องเล่า ...ลุ่มลึกดีจัง !!  เป็นอะไรที่เข็มขัดสั้นคะ...

  อาจารย์ค่ะ คนเราพัฒนากันได้ และคนที่อยากจะเปลี่ยนแนวคิดแต่เขายังไม่เข้าใจแนวคิดนั้นจะดีและไม่ เขาจะเข้าใจอย่างนั้นดีพอ ถ้าอยากให้เขาได้รับรู้ว่า ถ้าทำอย่างนี้มันอาจจะดีนะ ซึ่งบางครั้งคนเราก็พร้อมที่จะเปลี่ยนอยู่แล้ว ลองหันหน้าเข้าหากันพูดคุยให้เข้าใจ ไม่ใช่นิ่งเฉยอย่างนี่ ไลรู้ถึงเจตนารมณ์ที่อาจารย์พยายามสื่อนะค่ะ

ปล. ทุกคนพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงเสมอค่ะ

ไลรู้ว่าจุดมุ่งหมายของแต่ละคนที่อยากจะเรียนนั้นมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน  ก็คือ ขอเป็นพลังผลักดันให้สังคมไทยมันดีขึ้น

เปรียบเทียบคำพังเพยว่า " ฤาษีลิงดำ คลำไม่ถูกถูกจุด นั้นหมายถึง...จุดยืน จุดหมายแห่งการพัฒนาต่างหากที่แตกต่าง ความแตกต่างจะไม่ลงตัว หากไม่ช่วยกัน "สร้างพลังเพื่อขับเคลื่อนสิ่งนั้นที่จะเกิดขึ้น บนกระแส ของคำว่า " จงสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้น " แล้วใครล่ะจะเป็นผู้สร้าง...ก็พวกเราทุก ๆ คนไงครับ จงเร่งสร้าง หน่วยครูอาจารย์ก็ผลิตลูกศิษย์ที่มีคุณภาพ... หน่วยต่าง ๆ ก็ผลิตผลให้ก่อเกิดงานทุกอย่างจะดีเองล่ะครับท่าน ๆ ทั้งหลายเอ๋ย......

แหม ไม่ขนาดนั้นหรอกครับน้องนิว ถ้าผมไปเรียนคอมพิวเตอร์อย่างน้องนิวผมก็เข็มขัดสั้นเหมือนกันครับ

แต่นิทานนี้สามารถนำไปใช้กับชีวิตประจำวันได้นะครับ ลองนำไปใช้ดูนะครับ ถ้าได้ผลอย่างไรนำมาบอกกันบ้างนะครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

ขอบคุณมาก ๆ ครับน้องพิไล

แล้วน้องพิไลพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงหรือเปล่าครับ

ถ้าเปลี่ยนแปลงแล้วอย่าลืมแสดงตนออกมาเชิงประจักษ์ด้วยนะครับ

ขอบคุณคุณ น.เมืองสรวงมาก ๆ ครับ ที่มาช่วยสร้างสมานฉันท์ทางความคิดให้พวกเรามากขึ้น ๆ ครับ

สาส

พ่ออะ

น่าหิ

หากุห่ายเจอ

นะ

สาส

เมลล์มั่ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท