บัณฑิต ต้องทำในสิ่งที่ถูกต้อง มากกว่า "ถูกใจ"


มีหลาย ๆ คนเคยถามผมว่าทำไมต้องเรียนหนังสือ ทำไมถึงต้องได้ปริญญา จบปริญญาตรีแล้วทำไมต้องเรียนปริญญาโท จบปริญญาโทแล้วทำไมต้องเรียนต่อปริญญาเอก แล้วก็มีหลาย ๆ ครั้งที่ผมเคยถามนักศึกษาว่าหนูจะเรียนปริญญากันไปทำไม และหลาย ๆ คำตอบที่ผมตอบและได้รับคำตอบมานั้นก็คือ "ผมและเขาอยากเป็นบัณฑิต"

บัณฑิตนั้นมีหลากหลายความหมาย หลากหลายระดับชั้น ที่จริงแล้วเป็นอย่างนั้นหรือไม่?

และสิ่งที่ผมพยายามทำอยู่ทุกวันนี้ก็เป็น "บัณฑิต" ในความหมายของอาจารย์ที่สอนผมไว้ ซึ่งผมพยายามปฏิบัติให้เป็นอย่างนั้นเสมอมา


บัณฑิตนั้นไซร้หมายถึงอะไร?

บัณฑิต คือผู้ที่ทำในสิ่งที่ "ถูกต้อง" มากกว่าการทำในสิ่งที่ ถูกใจ

สิ่งที่ถูกต้องมักจะไม่ถูกใจพาลชน

พาลชนแปลว่า คนที่จิตใจอ่อนแอ สิ่งที่ถูกใจมันมักจะไม่ถูกต้อง (พาละแปลว่าอ่อน)

จิตใจอ่อนแอเป็นไปตามอารมณ์ ไม่ใช้ปัญญาในการพิจารณา สิ่งที่ถูกต้องนั้นจะถูกใจบัณฑิต ราคะ คาโย โธสะคาโย โมหะคะโย ปริญญาเยื่อสันติ

แปลว่า ผู้ที่สิ้นไปจากราคะ สิ้นไปจากโทสะ สิ้นไปจากโมหะ

เรากล่าวว่า ผู้นั้นเป็นผู้จบปริญญา นั่นคือ "บัณฑิต "

 

หมายเลขบันทึก: 41863เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2006 18:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • แวะมาให้กำลังใจบัณฑิตครับ
  • สิ่งที่บอกว่าไว้ขอให้สำเร็จนะครับ

ขอบคุณมาก ๆ ครับพี่ขจิต

ผมจะพยายามอย่างเต็มที่ที่จะเป็นบัณฑิตให้ได้ครับ

 

ความเป็นบัณฑิตดูได้จากที่ไหน? ผมคิดว่าใบประกาศบอกความเป็นบัณฑิตไม่ได้นะครับ ปริญญาบัตรเป็นสัญลักษณ์แทนความหมายว่าเราศึกษาอะไรมาบ้าง แต่ไม่ได้ชี้วัดความเป็นบัณฑิตของผู้ครอบครองกระดาษแผ่นนั้น............................... ถ้าการเป็นบัณฑิตเสมือนการปฏิบัติธรรมแบบหนึ่ง มันก็คงยากและดูโง่เขลาที่คนผู้หนึ่งจะป่าวประกาศแก่ใครๆว่าตัวเขาเป็นบัณฑิต ความเป็นบัณฑิตไม่สามารถนำมาอวดอ้างได้ เพราะการอวดอ้างไม่ใช่วิสัยของบัณฑิต หากแต่ประชาชนจะรู้ว่าเขาเป็นบัณฑิตได้เมื่อเขาถูกทดสอบด้วยโลภ โกรธ หลง .............................................. เราจะรู้ว่าคนๆหนึ่งเป็นจิตรกรเอกได้ ก็ต่อเมื่อเห็นเขาวาดภาพ เราจะรู้ว่าเขาเป็นบัณฑิตได้ ด้วยการกระทำของเขา โดยเฉพาะเมื่อถูกยั่วยุด้วยกิเลสนานาประการ........................................ ความเป็นบัณฑิต มิอาจสัมผัสได้ด้วยตา แต่สัมผัสรู้ด้วยใจครับ
ให้กำลังใจเช่นกันค่ะ แต่แป้นว่าการเป็นบัณฑิต ไม่จำเป็นต้องมาจากการเรียนหนังสือเสมอไป เพราะมีหลายคน ที่เป็นบัณฑิตด้วยการเรียนรู้และลงมือทำด้วยตนเองโดยไม่ต้องมานั่งเรียนปริญญากันให้เหนื่อย

แวะมาอ่าน ชอบค่ะได้ไอเดียเขียนมุมของตนเองเกี่ยวกับ "บัณฑิต" นี่แหล่ะ จะเขียนมาให้อ่านค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท