"เงิน" กับ " การศึกษา"


ทำไมเวลาที่หลักสูตร หรือมหาวิทยาลัยจะลงทุนทำสิ่งใดสักอย่าง ถึงคิดแต่เพียงว่า "คุ้มค่า" กับ "เงิน" ที่จะลงไปไหม

อยากทำสิ่งนั้นให้นะ แต่ไม่คุ้มกับเงินลงทุน

อยากทำสิ่งนี้ให้นะ กลัวว่าจะขาดทุน ไม่คุ้ม

ตกลงการศึกษาบ้านเรากลายเป็นธุรกิจการศึกษาไปแล้วหรือนี่

ตั้งหลักสูตรมาเพื่อหวังหากำไรไปแล้วเหรอ

คำถามที่ได้รับมีแต่การถามว่า เมื่อไหร่คุณจะลงทะเบียน ทำไมคุณถึงไม่ขึ้นทะเบียนสักที

แต่ไม่มีการถามเลยว่า "คุณจะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร" "คุณจะอยู่ได้ไหม" "เย็นนี้คุณจะเอาอะไรกิน" "คุณไม่คิดถึงบ้านเหรอจะกลับบ้านอย่างไร" 

สนใจแต่เฉพาะเรื่อง "เงิน" ลงทะเบียน ค่าหน่วยกิตเท่านั้นเหรอ

เจ้าหน้าที่มีหน้าที่หลักคือเจอหน้าแล้วก็ "ทวงเงิน"

ถ้าไม่มี "เงิน" เขาคงจะไม่คุยกับเราเลยมั๊ง

ตกลงเขาจะ "พัฒนา" เราหรือว่า "จะหากำไร" หรือผลประโยชน์จากเรากันแน่

ชักเริ่มไม่แน่ใจ

 

หมายเลขบันทึก: 42562เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2006 16:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นบันทึกอยากให้ความคิดเห็นค่ะ

อยากคิดอย่างนี้ค่ะว่า 1 การหารายได้ด้วยตัวเองเป็นความจำเป็นหนึ่งของสถานศึกษาค่ะโดยเฉพาะถ้าจะเป็นมหาวิทยาลัยนอกระบบ ซึ่งจะต้อง "ยืน" ได้ด้วยตัวเอง

2 ดูเหมือนว่ามีความพยายามจะทำ healthy university ในมหาวิทยาลัยต่างๆ แต่ตอนนี้ในรูปธรรมมักไปลงที่ "กิจกรรมการออกกำลังกาย" ยังไปไม่ถึง "คุณภาพชีวิต" ของผู้ที่อยู่ในองค์กรทั้งหมด

3 ไม่ว่าในแง่ใดๆ ชีวิตนักศึกษามีค่ากับสถานศึกษามากค่ะเพราะเป็นลูกค้าที่มีพลังมาก ถ้าไม่มีนักศึกษาสถานศึกษาอยู่ไม่ได้ และถ้าผลผลิตไม่ดีจบไม่ตามเกณฑ์ สถานศึกษาก็อยู่ไม่ได้ แต่นักศึกษาอาจจะยังไม่คิดอย่างนั้นเพราะระบบต่างๆที่ยังยึดแนวปฏิบัติเจ้าขุนมูลนายเช่นเรื่องการต้องไปกรอกเอกสาร ต้องยื่นเรื่อง ต้องเดินตามระบบโดยไม่มีอำนาจต่อรอง

4 ลองมองรอบๆ ตัวซิคะ คนที่ทวงเงินก็คงหน้าตาไม่ได้แจ่มใส เพราะคนทำงานเองก็คงคุณภาพชีวิตไม่ดี จึงมุ่งแต่ทำงานของตนให้เสร็จโดยไม่คิดจะถามถึงความเป็นอยู่ของคนอื่น

ขอให้มีกำลังใจ

มีกำลังใจมากขึ้นเยอะเลยครับ สำหรับคำแนะนำทั้งสี่ข้อครับ

ขอบพระคุณมาก ๆ ครับ

     ผมเคยนึกถึงสมัยก่อนที่ผมเรียนอยู่ชั้นประถม  การศึกษาควบคู่ไปกับวิถีชีวิต  ช่วงฤดูกาลทำนา  ผมยังจำได้ว่า โรงเรียนที่ผมเรียนปิดให้ นร.ช่วยเหลือพ่อแม่ 10 วัน  เพื่อช่วยเฝ้าบ้าน ดูแลน้อง  เลี้ยงดูวัวควาย หมูเป็ดไก่  ช่วงผมเรียนมัธยม (โรงเรียนเรียนเอกชน) เพื่อนผมที่เป็นนักเรียนเชื้อสายจีน  ต้องกรีดยาง  ผู้ปกครองมาขออนุญาตให้ลูกมาโรงเรียนช้ากว่าปกติ 1 ชั่วโมง  โดยชั่วโมงแรกไม่เข้าเรียนเพราะยังทำยางแผ่นไม่เสร็จ 

       ทางโรงเรียนเขาก็ให้  ทุกคนก็ยิ้มแย้มแจ่มใส  และเพื่อน ๆ ผมทุกคนก็ประสบความสำเร็จ  เป็นหมอก็หลายคน เป็นตำรวจ เป็นครูอาจารย์ เป็นพยบาล ฯลฯ  เพราะความเอื้ออาทรกัน  ค่าเทอมก็พูดคุยกันได้ถ้าหามาไม่ทัน  ผิดกับสมัยนี้เยอะมากจริง ๆ ครับ อะไรที่เปลี่ยนแปลงไปมากมายขนาดนี้  จริงหรือเปล่าครับที่ว่าเราพัฒนาแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท