เด็กมีเลข 13 หลักผิดประเภท และการแจ้งเกิดใหม่ : ด.ช.พลาม


แม้ว่าเด็กจะมีเลข 13 หลักอยู่แล้ว แต่ผิดประเภท ก็สามารถยกเลิกเลข 13 หลักนั้น แล้วแจ้งการเกิดใหม่ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้

กรณีด.ช.พลาม เป็นกรณีที่พ่อแม่ต้องเหนื่อยมากที่สุด ต้องวิ่งไปทั้งโรงพยาบาล ที่ว่าการอำเภอเมืองระนอง และเทศบาลเมืองระนอง หลายรอบครับ

 

เริ่มแรกเมื่อพวกเขารู้ว่าแจ้งการเกิดลูกได้ แต่ขาดพยานหลักฐานจากโรงพยาบาล พวกเขาต้องวิ่งไปที่โรงพยาบาลระนองเพื่อขอหนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาลระนอง อีกครั้ง แม้ว่าเวลาจะผ่านมา 10 ปี แล้วก็ตาม ทางโรงพยาบาลก็ยินดีที่จะออกท.ร.1/1 ให้ใหม่

 

เมื่อพวกเขามาหาผมโดยพาลูกมาด้วย ผมก็บอกว่าให้กลับไปที่โรงพยาบาลแก้ปีเกิดใหม่ เนื่องจากรูปร่างกับเอกสารผิดจากความเป็นจริง กล่าวคือในท.ร.1/1 ด.ช.พลาม ถือกำเนิดมาในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

 

และต้องไปยกเลิกทะเบียนประวัติท.ร.38/1 เลข 00 ของลูกที่ที่ว่าการอำเภอเมืองระนอง เนื่องจากกฎหมายห้ามไว้ไม่ให้แต่ละคนมีเลขบัตรประจำตัว 2 ชุด โดยให้เหตุผลว่าพวกเขาสำคัญผิดคิดว่าลูกของตัวเองจัดอยู่ในกลุ่มผู้ติดตามแรงงานชาวพม่า 3 สัญชาติ ทั้งนี้เพื่อจะได้ไปแจ้งเกิดลูกที่เทศบาลเมืองระนอง

 

ด.ช.พลาม เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2542 ที่โรงพยาบาลระนอง โดยพ่อถือบัตรหมายเลข 6 ส่วนแม่ถือบัตรหมายเลข 00 และได้นำลูกไปขึ้นทะเบียนประวัติหมายเลข 00 ด้วย

 

ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ แม้ว่าพวกเขาจะพูดภาษาไทยได้ แต่ก็ไม่รู้จะสื่อสารให้เจ้าหน้าที่เข้าใจอย่างไร ผมก็เข้าไปช่วยโดยอ้างเหตุสำคัญผิดข้างต้น และก็สามารถขอยกเลิกเลข 00 ได้

 

วันต่อมาไปขอแจ้งการเกิดที่เทศบาลเมืองระนอง โดยบอกเจ้าหน้าที่ว่าเลขประจำตัวของลูก 00 ได้ยกเลิกไปแล้ว มาขอแจ้งเกิดใหม่ตามความเป็นจริง ตามสิทธิอาศัยอยู่ของพ่อแม่ ณ เวลาที่เด็กเกิด

 

ปรากฏว่าแจ้งเกิดได้สำเร็จ ได้รับสูติบัตรท.ร. 3 หมายเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 7 ได้รับการย้ายเข้าบ้านของพ่อที่อยู่ในเขตเทศบาลไม่ต้องไปทำเรื่องแจ้งย้ายเข้าที่อำเภอ และบัดนี้ด.ช.พลาม ก็ไปทำบัตรประจำตัวที่เทศบาลเมืองระนองเรียบร้อยแล้ว

 

หมายเลขบันทึก: 273480เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2009 14:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เยี่ยมจริงค่ะ ชาติชาย 

พี่จะเอาไปเป็นบทเรียนในห้องเรียน ถ้ามีเอกสารจริง ส่งทางอีเมลล์ให้พี่หน่อยนะคะน้อง

สุดยอดจริงๆๆ ของดูเอกสารพ่อด้วย เราอาจช่วยเขาได้มากกว่านี้นะคะ

เลข ๗ มั่นคงกว่า เลข ๐๐ มาก

จะบันทึกในรายงาน iCCPR

เดี๋ยวให้ไหมสรุปข้อเท็จจริง และทำหนังสือขอบคุณทุกฝ่ายเพื่อ "พลาม"

อยากเห็นหน้าเด็กชายตัวน้อย

คุณชาติชายคะ

คุณพ่อและคุณแม่ของเจ้าพลามเค้ามีเลข ๑๓ หลัก เป็นคนต่างด้าวประเภทไหนคะ?

แม่เป็น ๐๐ 

พ่อเป็น ๖ 

ที่อยากทราบคือ พ่อเป็น ๖ แบบเกิดในไทย หรือนอกไทย

ชาติชายคะ ตอบหน่อย

อ.วีนัสมาให้ความเห็นในบันทึกของ อ.แหวว เกี่ยวกับกรณีน้องพลาม ดังนี้ค่ะ

http://gotoknow.org/blog/archanwell-and-maeai-study/273524

วีนัส [IP: 124.122.172.79] เมื่อ อ. 07 ก.ค. 2552 @ 12:32 1392398

กรณีนี้เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ เมื่อปี ๒๕๔๗ พ่อหรือแม่ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวก็พาลูกที่ไม่ได้แจ้งการเกิดไปขึ้นทะเบียนด้วยเป็นกลุ่มผู้ติดตาม ซึ่งตามหลักการแล้วเด็กที่เป็นลูกของพ่อหรือแม่เป็นบุคคลประเภท ๖ ย่อมสามารถแจ้งการเกิดได้ตามแบบ ท.ร.๓ ได้เลข ๗ เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านเลขที่เดียวกับบิดาหรือมารดาที่เป็นเลข ๖ สำหรับการแก้ไขเรื่องนี้ ควรจะต้องดู ท.ร.๓๘/๑ ของมารดา ด.ช.พลาม ว่ามีการต่ออายุสม่ำเสมอหรือไม่ ถ้าเว้นวรรคก็แสดงว่าสถานะการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นอันสิ้นสุดไปแล้วทั้งแม่ทั้งลูก กรณีนี้ก็ให้ผู้เป็นพ่อไปขอแจ้งการเกิดเกินกำหนดให้กับ ด.ช.พลาม โดยขอให้ยกเลิก ท.ร.๓๘ ตามระเบียบ สนท.กลางฯ ปี ๒๕๔๗ ปัญหาลักษณะนี้จะได้รับความคลี่คลายอย่างมากและชัดเจนยิ่งขึ้นถ้ากฎกระทรวงตามมาตรา ๗ ทวิ วรรคสาม ปรากฏตัวตนอย่างเหมาะสมและรวดเร็ว เพราะจะทำให้กระบวนการของการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของบุคคลในระบบการทะเบียนราษฎร เช่นเปลี่ยนจากเลข ๐๐ หรือเลข ๐ มาเป็นเลข ๖ หรือเลขอื่นๆ สามารถดำเนินการได้ตามกฎหมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท