90 วันกับการแก้ CAR


และแล้ว เมื่อวันศุกร์ที่ 20 มิย ที่ผ่านมา  เราชาวพยาธิ มอ. ก็ได้เสร็จภารกิจชิ้นสำคัญมากๆๆ แล้วค่ะ
นั่นก็คือ การแก้ไขความไม่สอดคล้อง หรือที่เรียกว่าแก้ CAR (corrective action report)  ตามที่ท่านผู้ตรวจประเมินมาตรฐานห้องปฏิบัติการระบบ ISO 15189 จาก สมป. ท่านได้ให้คำแนะนำเราไว้

ท่านให้โอกาสเราในการแก้ไขความไม่สอดคล้อง และ ส่งรายงานตั้ง 90 วัน  เป็นเวลาที่ไม่น้อยเลย  คาดว่าเราน่าจะได้ทยอยส่งรายงานให้ท่านได้ตรวจก่อน 90 วันเป็นแน่แท้

แต่พอเอาเข้าจริงๆ ก็ไม่ง่ายอย่างที่คิดค่ะ ทำเอา กินไม่ได้ นอนไม่หลับไปหลายวัน  แต่อย่างไรเสีย สวรรค์ก็ยังเข้าข้างคนที่ดีอย่างชาวแล็บพยาธิ มอ.  เอกสารเสร็จในเช้าวันศุกร์ที่ 20 มิ.ย. ที่ผ่านมา และ pack ส่ง EMS ในช่วงบ่าย  คิดว่าอย่างช้าสุดน่าจะถึง สมป. ในวันอังคารที่ 24 ซึ่งก็จะนับเวลาได้ 90 วันพอดิบ พอดี๊ พอดี   โอ้โฮ ..อะไรจะทำได้ดีขนาดนี้  ทันเวลา deadline เป๊ะ !!

เบื้องหลังกว่าจะมาถึงวันที่นำเอกสารบรรจุกล่องได้ ทำเอาเหนื่อยและเครียดไม่น้อยเลย
งานนี้ ได้บทเรียนสำคัญไปมากโขค่ะ เช่น

การวางแผนงานที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม และ กำกับเวลาการส่งงานที่แน่นอน

ที่ว่าเป็นรูปธรรม หมายถึง ต้องรู้ว่า แก้ไขข้อนี้ สิ่งที่จะต้องทำคืออะไร  กับใคร ที่ไหน เมื่อไร และ เอกสารที่จะต้องมีประกอบการรายงานแก้ไข เพื่อส่งเป็นหลักฐานคืออะไร 

ถัดมา ต้องประมาณความยากง่ายของการดำเนินการแต่ละอย่างนั้น เพื่อประมาณเวลาในการดำเนินการ  ที่สำคัญต้องกำหนด deadline ของงานแต่ละชิ้น  ถ้างานมีทีท่าว่าไม่เสร็จตาม deadline จะต้องหาทางเลือกอื่นที่เหมาะสมให้ทันการณ์ 

อีกอย่างคือ ต้องประเมินว่า ผู้รับผิดชอบในการแก้ไข เขาต้องการความช่วยเหลือ และ สนับสนุนให้กำลังใจ (หมายถึงกระตุ้น) มากน้อย  จุดนี้ ตนเองทำได้ไม่ดี  ทำให้ต้องเหนื่อยและลุ้นมาก ในสัปดาห์ที่ผ่านมา

บางทีม เขาได้ car ไปมาก แต่เขาเข้มแข็ง ช่วยเหลือตัวเองได้  ปล่อยได้
แต่บางทีม ได้ car ไปไม่กี่ข้อ  คิดว่า เขาน่าจะแก้ปัญหาได้ทัน  คิดแบบนี้ ไม่ได้เลยค่ะ
ศักยภาพคนเราไม่เท่ากัน  ต้องประเมินให้ดี  ใครต้องการความช่วยเหลือ  แม้จะเป็นเรื่อง (ที่เราเห็นว่า) เล็กน้อย  เขาก็ยังต้องการความช่วยเหลืออยู่ดี  ต้องเข้าไปดูตั้งแต่เนิ่นๆ และ ติดตามถามไถ่ รวมทั้งขอหลักฐานเป็นระยะ ..

ไม่เช่นนั้น ก็จะต้องเหนื่อย และลุ้นจนตัวโก่งว่าจะเสร็จทัน deadline หรือไม่

อย่างไรก็ตาม ถึงจะส่งงานแบบเฉียดเส้นยาแดง  ก็เห็นถึงความทุ่มเทของคนที่มีส่วนร่วมในการแก้ CAR อย่างน่าประทับใจมากๆ ๆ   ขอบคุณทุกๆ คนค่ะ 

หมายเลขบันทึก: 189819เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2008 15:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ตามมาเรียนรู้ครับ เอกสารหลายโพด ส่ง CD ได้ใหมครับ

  • ตามมาดูครับ
  • ดีใจที่ส่งทันเวลาพอดี
  • บันทึกนี้เป็น AAR ที่เยี่ยมมากครับ
  • ต่อไปประเมินใหม่จะได้ทราบว่าจุดอ่อนที่ทำเฉียดฉิวคืออะไร ยิ้มๆๆ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับผม...
  • ไม่ค่อยรู้เรื่อง CAR (corrective action report) 
  • รู้แต่วิธี Drive a Car ล่ะครับ (เกียร์ออโต้ขับง่าย)
  • คา (CAR) =คารา คาซัง
  • ขอให้ CAR ขับเตคลื่อนไปสู่เส้นทางแห่งความสำเร็จนะครับ

เข้าใจความรู้สึกเลยค่ะอาจารย์ 90วันฟังดูเหมือนนานแต่พอต้องตามงาน ปรับงานเพื่อส่งตามใบ CAR ต้องทำเอกสาร ถ่ายภาพ CD ชุลมุนไปหมด

แต่ก็สามารถ pack เอกสารลงกล่องส่งอาจารย์ทันก่อน 90วัน

ตอนนี้ก็รอลุ้นว่าคณาจารย์(คณะกรรมการประเมินฯ)จะขอเอกสารอะไรเพิ่ม

ขอเป็นกำลังให้ชาวlab.ทุกท่านค่ะ

จากทีม LAB.รพ.ชุมชน60เตียงที่มีโอกาสขอประเมิน LA ค่ะ

CAR ที่แก้ไม่สำเร็จ เรียกว่า "CAR ที่คาอยู่" ครับ

เอาใจช่วยให้ผ่านเกณฑ์นะครับ

สวัสดีคุณ ศจี และ คุณหมอรักษ์พงศ์ ค่ะ

  • ขอบคุณค่ะ ที่เป็นกำลังใจ
  • ข่าวดีคือ ตอนนี้ คณะกรรมการพิจารณาให้เราผ่าน ISO15189 แล้วค่ะ แต่ถึงจะแก้ CAR สำเร็จ แต่ก็ยังมีที่ "คา" อยู่ให้แก้ไขได้เรื่อยๆ ค่ะ
  • ขอบคุณอีกครั้งค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท