36 ปี แล้วไปไงต่อ


ต่อจากบันทึกก่อน ประชุมวิชาการคณะแพทยศาสตร์ มอ ประจำปี 2552  “36 ปี บทเส้นทางคุณภาพและความเป็นเลิศ”

องค์ปาฐกท่านที่สองในหัวข้อ “36 ปี คณะแพทยศาสตร์ มอ. เราจะไปทางไหน” คือ ศ.นพ.ธาดา ยิบอินซอย อดีตคณบดีของเรา

ปาฐกถาของท่าน สั้น กระชับ และ โดนใจมากๆๆๆ

แค่เริ่มต้น ก็ทำให้อมยิ้ม ด้วยชื่อเรื่องที่ปรับเป็น “36 ปี แล้วไปไงต่อ ”

ท่านบอกว่า เราจะฟังอะไรจากใคร น่าจะต้องรู้จักภูมิหลังของผู้พูด ท่านสรุปลักษณะของท่าน (“จุดเด่นของธาดา”) ว่า.. ไม่มีความสามารถในการดูแลองค์กร ไม่มีทักษะในการสื่อสาร  และ มีมุมมองแคบ   (ซึ่งทั้งสามข้อ ในความคิดเห็นส่วนตัว มีส่วนจริงน้อย)

ท่านยังบอกลักษณะการให้ความเห็นของท่านว่า...

  • ง่ายที่จะวิจารณ์ เพราะผู้พูดไม่ต้องตัดสินใจ 
  • ขอให้ถือว่าเป็นข้อคิดเห็น ที่ตั้งใจต่างทิศ
  • เน้นการตั้งคำถาม เพื่อกระตุ้น (แนะนำน้อย) การตั้งคำถามเป็นไปในการสร้างสรรค์ (constructive)

ไปไงต่อ...

       แนวคิดหลักที่จะเดินไป.. มี 3 ทางเลือก

  1.  ลากไปทั้งก้อน (มีรูปการ์ตูน คนลากก้อนหินก้อนใหญ่)
  2. ลากบางก้อน (คนลากก้อนหินบางก้อน มีก้อนหินหลายก้อน) จะลากก้อนไหน ใช้ปัจจัยอะไรตัดสิน
  3. ปรับเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด

ท่านให้ความเห็นใน 4 ประเด็นคือ การเป็นแหล่งฝึกแพทย์  อาจารย์แพทย์  ขาดแพทย์ทำงาน และเรื่องของผู้บริหาร

การเป็นแหล่งฝึกแพทย์ 

  • โดยกำลังที่มีอยู่ เรารับนักศึกษาแพทย์มากไปหรือเปล่า  หมายเหตุว่า  “กำลัง” ในที่นี้ คือ ครู (อาจารย์แพทย์) ที่อยากสอน
  • ปัจจุบัน ระดับความรู้พื้นฐานของนักศึกษาที่รับมีความหลากหลาย  ทำอย่างไร ให้ได้แพทย์ที่ multipotent คือมีศักยภาพมากพอที่จะทำอะไรก็ได้
  • เรากำลังสร้าง “technician” เพื่อรักษา “โรค” หรือ ดูแล “คน”

 อาจารย์แพทย์ 

  • เป็นไปได้หรือไม่ ที่จะให้อาจารย์ทุกคนทำได้ทุกอย่าง ทั้ง บริการ สอน วิจัย หากไม่  เราต้องตอบแทนทุกด้านอย่างเท่าเทียม
  • ความขัดแย้ง “มาก/แพง” เกินไป น่าจะอบรมหัวหน้าภาค หัวหน้าหน่วย ในบริบทความสมานฉันท์ เพื่อให้เข้าใจหลักของผู้นำ
  • การขาดแคลนแพทย์ ไม่ควรเป็นข้ออ้างเพื่อรับอาจารย์   จริงๆ แล้ว เราขาดแพทย์ที่อยากเป็นแพทย์ ?

พัฒนาหน่วยงานรอบข้าง

  • เช่น รพ.ศูนย์  รพ.ชุมชน  ถ้าไม่ เราก็หลุดจากคำว่า “อาจารย์”    เราจะปฏิบัติอย่างไร เพื่อพัฒนา “เขา” อันนี้รวมไปถึงสายงานอื่นที่ไม่ใช่อาจารย์ เช่น พยาบาล  (คงรวมถึงคนแล็บอย่างชาวพยาธิด้วย)

ผู้บริหาร

  • องค์กรจะยั่งยืนไหม หากผู้บริหารทำงานด้วยการ “สั่ง”
  • สร้างผู้ร่วมงานให้เข้มแข็ง กับการได้ ISO  ได้ HA เป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่
  • มองผลลัพธ์ (success) ขององค์กรในลักษณะใด

นิยามของ success??

  1. ได้รับการยกย่อง....  ยกย่องโดยใคร?
  2. ผู้ร่วมงานเคารพองค์กร...   เคารพเพราะอะไร
  3. สถาบันยังยืน...    แต่ ??? (จดไม่ทัน)

ทั้งหมดนี้ ดูเหมือน “น่ากลัว”  แต่หากมองอีกมุม ก็เป็นเรื่อง “ท้าทาย

มีคำถามจากพิธีกรประมาณคาดคั้นว่า ตกลง เราจะเดินไปทิศไหนดี ??

อาจารย์ตอบว่า

บ่อยครั้ง เราไม่มีเวลาคิด เพราะทำโน่นทำนี่ตลอดเวลา  วิธีหนึ่งคือ หยุดคิด  ดูที่เป้าหมายสุดท้าย  ตรวจสอบว่า เรายังอยู่ในทิศนั้นหรือไม่

หมายเลขบันทึก: 285010เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2009 15:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีคะอาจารย์

คิดถึงอาจารย์นะคะ

ลูกสาวบอกว่าจะเลือก มอ.

แต่คิดว่าไกลไปเดินทางลำบาก กำลังตัดสินใจนะคะ

สวัสดีคุณประกายค่ะ คิดถึงเช่นกันค่ะ

จากขอนแก่นมาหาดใหญ่ ไม่น่าจะลำบากนะคะ เพียงแต่ต้องนั่งเครื่องบินหรือรถไฟ 2 ต่อเท่านนั้นเอง!! ก่อนหน้าที่จะมีเหตุการณ์ความไม่สงบ เรามีทั้งนศ และ คนทำงานที่มาจากภาคอื่นมากกว่านี้ ทำให้มีความหลากหลาย หลายคนอยู่แล้วก็ติดใจ

ยินดีตอนรับสาวน้อยจากขอนแก่นล่วงหน้านะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท