แลกเปลี่ยนเรียนรู้ R2R : (1) เกริ่นนำ


การทำเพื่อมนุษยชาติ เป็นความงาม การเห็นความงาม ทำให้เกิดความสุข

สองวันนี้  (1-2 ก.ย.) ได้มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโครงการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ R2R (พัฒนางานประจำสู่งานวิจัย หรือ routine to research) ซึ่งจัดโดยคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (สมช.)    ผู้เข้าร่วมประชุม นอกจากทีมใหญ่จากศิริราช เจ้าภาพ ซึ่งมีประสบการณ์การทำ R2R ที่มีระบบการบริหารจัดการเต็มรูปแบบ แล้ว ยังมี  สถาบันสุขภาพเด็กฯ  รพ.ยโสธร รพศรีสังวาลย์ แม่ฮ่องสอน  รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์    สำนักงานศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถ  และ จากภาควิชาพยา-ธิ มอ.  คือ ตนเองกับอาจารย์พรพรต  และที่ surprise ก็คือ อาจารย์ธาดา ยิบอินซอยมาร่วมประชุม รวมทั้งหมดประมาณ 38 ท่าน

การมา R2R ครั้งนี้ ไม่รู้จะนับเป็นดวงหรือโชคของตนเองหรือเปล่า   เรื่อง R2R นี้ ตนเองคิดมาเกือบปีแล้ว แต่ยังไม่มีแนวร่วม   ที่จริงเราก็ได้งานที่เป็น R2R มาบ้างแล้วจาก Patho Otop  จึงคิดว่าหากสนันสนุนจริงจังน่าได้มากกว่านี้  หลังจากงานประชุมวิชาการคณะฯ  ที่พวกเราบางคนไปคว้ารางวัลนำเสนอผลงานวิจัย  ก็เลยปรารภกับอาจารย์พรพรตว่า อยากให้เกิด R2R อย่างจริงจังสักที  เพราะดูศักยภาพของคนพยาธิแล้ว เพียงออกแรงลุ้นอีกหน่อย คงมี R2R ปีละหลายเรื่อง  เพียงหนึ่งสัปดาห์หลังจากนั้น  ตนเองกับอ.พรพรต เผอิญได้ทานข้าวร่วมกับ อ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์   อาจารย์ได้รับการบอกกล่าวจากอาจารย์วิจารณ์ว่า น่าจะชวนทีมพยาธิจาก มอ.ไปร่วมประชุมด้วย ก็เลยได้รับโอกาสในครั้งนี้  ต้องกราบขอบพระคุณอาจารย์วิจารณ์ มากๆ เลยค่ะ 

กลับมาที่การประชุม   เริ่มด้วย อ.สมศักดิ์  ชุณหรัศมิ์  เลขาธิการ สมช. .เล่าถึงที่มาที่ไปของการประชุม   อาจารย์ประเวศ วะสี กล่าวเปิดงานสั้นๆตามด้วย อาจารย์วิจารณ์ บอกวิธีในการลปรร แบบ KM 

ข้อคิดสำคัญจากอาจารย์ประเวศ (คิดว่าเป็นหลักที่อาจารย์ให้ความสำคัญมาก เพราะได้ยินอาจารย์พูดครั้งนี้ เป็นครั้งที่สามแล้ว)  อาจารย์บอกว่า จะทำอะไรก็ตาม ต้องหาความหมาย  ถ้าเรารู้ว่าสิ่งที่เราจะทำมีความหมายอะไร ก็จะทำให้เกิดพลัง และ ทำให้เกิดความสุขในการทำสิ่งนั้น   การทำ r2r นั้น เป็นสิ่งที่มีความหมาย    สิ่งที่เราทำอยู่ (หมายถึงการปฏิบัติ เช่นการดูแลรักษา  การใช้ยา ฯลฯ) กับในภาวะในอุดมคตินั้น  ยังมีช่องว่างอยู่  ช่องว่างตรงนี้ ต้องใช้กระบวนการวิจัย หาคำตอบ (เช่น ฝรั่งขายยาใหม่อยู่เรื่อยๆ ยาใหม่ส่วนใหญ่ ก็เปลี่ยนแปลงอะไรเล็กน้อยจากสูตรเก่า  แล้วก็มาขายเรา หากเราไม่ทำอะไร ก็จะตกเป็นเหยื่อเขา)   อาจารย์ทิ้งท้ายว่า หลักก็คือ ทำให้มนุษยชาติดีขึ้น  การทำเพื่อมนุษยชาติ เป็นความงาม   การเห็นความงาม  ทำให้เกิดความสุข 

อาจารย์วิจารณ์ อธิบายสั้นๆ เกี่ยวกับกระบวนการ ลปรร.แบบ KM ว่า

  • ใช้การเล่าเรื่องความสำเร็จ  ความสำเร็จที่ว่านี้ เป็นความสำเร็จเล็กๆ ก็ได้
  • ขนาดของกลุ่มต้องไม่ใหญ่เกินไป ที่ perfect คือ 8 คน
  • บรรยากาศต้องเป็นแบบสบายๆ เป็นอิสระ
  • เน้นว่า ไม่มีถูก ไม่มีผิด
  • ไม่ต้องกลัวว่าจะปล่อยโง่ออกมา สิ่งที่ปล่อยออกมา เป็นความรู้จากสิ่งที่ได้สัมผัส จากการปฏิบัติ
  • ต้องฟังผู้อื่นพูดอย่างตั้งใจ บางเรื่องอาจไม่ตรงใจ ก็รอให้เขาเล่าจบ
  • ต้องเข้าใจว่า ความรู้ที่เล่านั้น ควบคู่กับบริบท

นี่แค่การเกริ่นนำนะคะ  ก็ได้ข้อคิด และความรู้ดีๆ มากมาย แล้วตามต่อในบันทึกหน้านะคะ

     

(รูปได้อภินันทนาการจากคุณกะปุ๋มผู้น่ารัก ขอบคุณมากๆ ค่ะ)

 

หมายเลขบันทึก: 47896เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2006 00:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ตันแบบ R2R ที่กะปุ๋มดูนอกจากที่ศิริราชแล้วก็มีที่ ภาควิชาพยาธิ มอ. นี่แหละคะ...อาจเป็นเพราะช่องทางการสื่อสารที่มีเรื่องเล่าผ่าน Blog นี่เองที่ทำให้กะปุ๋มมาเข้าใจเพิ่มขึ้นจากบันทึกของ อ.หมอปารมี เพราะก่อนหน้านี้เพื่อนร่วมรุ่นที่จุฬาฯ ที่ทำงานอยู่ศิริราชเล่าและแนะนำ R2R ให้เข้าไปศึกษา http://www.si.mahidol.ac.th/r2r/ 

...

กะปุ๋มหวังว่าคนรักการพัฒนางาน น่าจะมาได้แลกเปลี่ยนรูปแบบที่ดีจากที่ Patho Otop  นะคะ

*^__^*

ขอบคุณคะ

กะปุ๋ม

 ผมมีความรู้สึกว่าผมเข้าใจความหมายของ R2R มากขึ้นครับ ....จากข้อความที่อาจารย์เก็บมาฝาก....สิ่งที่เราทำอยู่ (หมายถึงการปฏิบัติ เช่นการดูแลรักษา  การใช้ยา ฯลฯ) กับในภาวะในอุดมคตินั้น  ยังมีช่องว่างอยู่  ช่องว่างตรงนี้ ต้องใช้กระบวนการวิจัย หาคำตอบ
มาขอร่วมแจมอีกครั้งกับครูนงเมืองคอนนะคะ...หลักสำคัญที่ อ.หมอวิจารณ์เน้นมากคือ จะคือ อะไรก็ตามแต่ แต่ขอให้เป็นการพัฒนางานที่มุ่งเป้าไปที่ผู้รับบริการได้รับบริการที่ดีขึ้น...
เรียนท่านเอื้อค่ะ
  • พี่เม่ยว่ามี R2R ทั้งเก่าและใหม่ ซ่อนตัวอยู่แถวๆหน้างานของบุคลากรภาควิชามากมายนะคะ...ขาดแต่ตาวิเศษเท่านั้นค่ะ ที่จะไป "เห็นนะ...เห็นนะ"
  • ว่าแล้วก็ปิ๊งไอเดีย "ตามหา R2R กับตาวิเศษ" อันนี้แค่ตามหาผลงานที่มีอยู่แล้ว ยังไม่คิดถึงการสนับสนุนให้เกิดงานใหม่  แต่ต้องเพิ่มให้มีการติดตามประเมินผลประโยชน์ที่ได้รับตั้งแต่เริ่มใช้งาน R2R นั้นๆ ...
  • ส่วนงานใหม่ก็ต้องเป็น...นี่เลยค่ะ .. "R2R กับ Patho-OtopIII.."
  • หากไอเดียนี้ใช้ได้ พี่เม่ยคิดเรื่องละร้อยบาทขาดตัวค่ะ....

กะปุ๋มตามพี่เม่ยมาคะ...มาขอร่วมทีมกับพี่เม่ย...โครงการ"ตามหา R2R กับตาวิเศษ"คะ...ตามหาเจอแล้วไปที่นี่เลยนะคะ...CoP R2R

*^__^*

สามารถแจ้งกะปุ๋มได้ทุกช่องทางการสื่อสารเลยนะคะ...เพื่อนำเข้าสู่ planet แลกเปลี่ยนเรียนรู้

ขอบคุณคะ

กะปุ๋ม

 

คุณกะปุ๋มค่ะ หมอ get สิ่งดีๆ จากทีมงานยโสธรมากเลยค่ะ ดังในบันทึกต่อไป

ครูนงค่ะ  คิดว่าแนวคิด R2R ใช้ได้กับทุกงานค่ะ รวมทั้งการศึกษา ดีใจที่บันทึกเป็นประโยชน์

 

 

พี่เม่ยค่ะ

  • อ.วิจารณ์ก็คิดเช่นกันว่า พิจารณาให้ดี คงมี R2R ที่ทำอยู่แล้ว แต่เขาไม่ได้เรียก R2R
  • ถือเป็นสัญญานะ  "ตามหา R2R กับตาวิเศษ"
  • กับการสนับสนุนงานใหม่ อ.พรพรตก็มี idea บรรเจิดบอกว่าจะกลับมา print ที่คิดอยู่ในสมองหมดแล้ว  Patho Otop ปี 3 จะเป็นประมาณว่า จากใจสู่ (วิ) จัย แล้วจะเชิญมาคุยกันนะ
เรียนท่านเอื้อค่ะ
  • พี่เม่ยแค่ปิ๊งไอเดียเท่านั้นเองค่ะ อย่าเพิ่งจับเซ็นสัญญาสิคะ...ต๊กใจหมด.....
  • ขอคุยก่อนนะคะ
อ่านแล้วได้ "ยิ้ม"ใหญ่เลยค่ะ เป็นปลื้ม...อะไรรอบๆตัว
  • มาร่วมแสดงความยินดีด้วยครับ

R2Rดีขอชื่นชม น่าจะนำไปประยุกต์ใช้ในหลายด้าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท