แนวคิด R2R ของ ศ.นพ.ธาดา ยิบอินซอย


บริบท R2R คือการทำงานเป็นทีม คือทุกคนที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันใช้ความรู้ อยากร่วม และการร่วมกันนั้น ต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

ในการประชุมกรรมการคณะฯ เมื่อวันศุกร์ที่ 8 ธ.ค ที่ผ่านมา  ศ.นพ.ธาดา ยิบอินซอย อดีตคณบดี ได้ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ R2R  เพราะเห็นว่าคณะกำลังจะสนับสนุน R2R  ส่วนหนึ่งมาจากที่อาจารย์ไปเป็นที่ปรึกษาให้กับโครงการ R2R ที่ศิริราช แต่อาจารย์ก็ออกตัวว่าไปช่วยตอนโครงการเริ่มไปเยอะแล้ว 

R2R เริ่มอย่างไร
อาจารย์บอกว่า เริ่มจากงานประจำ (routine) อะไรก็ได้ แต่เห็นว่าแปลกตา แล้วอยากปรับ แล้วก็ศึกษา และปรับอย่างเป็นระบบ  แล้วก็ทบทวน วนเป็นวงจร

ว่าไปแล้ว ก็เป็นวงจร PDCA ในการพัฒนางานประจำนั่นเอง  แต่อาจารย์ธาดาเน้นว่า บริบท R2R คือการทำงานเป็นทีม คือทุกคนที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันใช้ความรู้  อยากร่วม และการร่วมกันนั้น ต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกัน  ประเด็นสำคัญยิ่งของ R2R คือ ผู้ปฏิบัติมองเห็นปัญหา ไม่ใช่สั่งให้ทำ และทำเป็นทีม (อาจารย์ย้ำหลายครั้งมาก)

คณะได้อะไรจากการทำ R2R (หมายถึงในแนวทางข้างต้น)

  1. ได้วิธีการแก้ปัญหา โดยผู้ปฏิบัติเป็นคนแก้
  2. ผู้ปฏิบัติเป็นคนแก้ปัญหา “เอง” อย่าง “เป็นระบบ”
  3. เป็นตัวอย่างให้หน่วยงานอื่นอยากทำ

ผู้ปฏิบัติได้อะไร

  1. ภูมิใจที่ได้แก้ปัญหาเอง
  2. ได้ฝึกทักษะแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
  3. ได้วิชาการจากการอ่าน และ การเขียนรายงาน

งานวิจัย vs งานประจำ

อีกประเด็นที่อาจารย์ชวนให้คิด คือ จำเป็นหรือไม่ที่ต้องแยกระหว่าง การเป็นวิจัยล้วน หรือ เป็น routine ล้วน  ประเด็นนี้ เชื่อมต่อไปถึงว่า พอคิดว่าเป็นวิจัย  คนก็จะคาดหวังว่า output คือผลงานตีพิมพ์

จึงมักเกิดคำถามตามมา ว่า ทำ R2R แล้ว ต้องเขียนตีพิมพ์หรือไม่
ดูเหมือนอาจารย์ก็ไม่ได้ฟันธงว่า จะต้องลงเอยด้วยผลงานตีพิมพ์  แต่อย่างน้อย ต้องเขียนรายงาน เพราะว่า การเขียนรายงาน จะทำให้เรารู้ว่า อะไรที่ยังขาด อะไรได้ และ มีคำถามอะไรอีก ที่เราต้องหาคำตอบต่อไป

สำหรับตนเอง.....
ฟังอาจารย์แล้ว รู้สึกอย่างไร

รู้สึกอิ่มเอิบใจ และ ภูมิใจอย่างบอกไม่ถูก  คิดถึง Patho OTOP ของเรา  สิ่งที่เราชาว Patho OTOP ทำมา เหมือนกับแนวคิดของอาจารย์มากๆ เลย  อยากจะตะโกนบอกอาจารย์ และ กรรมการคณะฯ ในวันนั้น ว่าในคณะแพทย์แห่งนี้ อย่างน้อย ก็มีเราชาวพยาธิ หนึ่งหน่วยงานหละ ที่ทำแล้ว และ ยังเดินหน้าในแนวทางดังกล่าวต่อไป 

ฟังแล้ว เกิดความอยาก ?

  • อยากให้โครงการใน Patho OTOP1 &2 ที่เข้าข่าย R2R เขียนผลงานตีพิมพ์เสร็จไวๆ  (ได้ข่าวว่ากำลังเขียนอยู่)
  • อยากให้ผู้บริหารคณะฯ  เห็นความสำคัญของ R2R และ สนใจที่จะให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง ในแนวทางที่อาจารย์ธาดาให้ไว้
หมายเลขบันทึก: 66359เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2006 14:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
ตกลงอาจารย์ได้บอกเล่าสิ่งที่มีในภาคฯให้ที่ประชุมรับทราบไหมคะ คิดว่าเหมือนตีเหล็กกำลังร้อนนะคะ มีอาจารย์ผู้ใหญ่มาให้แนวคิด แล้วก็มีตัวอย่างของโครงการที่ทำแล้วเห็นผล จะได้ ได้รับการขยายผลน่ะค่ะ เชื่อว่าในคณะแพทย์มีการทำงานแบบนี้ในหลายๆหน่วยงาน เพียงแต่ไม่มีการเชื่อมโยงเผยแพร่ ให้กำลังใจเพื่อการต่อยอด ทำให้คนทำภาคภูมิใจ เห็นประโยชน์และผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมจริงจัง เท่านั้นเองค่ะ เราคงต้องปลุก"คุณเอื้อ"ของหลายๆส่วนให้ช่วยกันเป็น แบบที่อาจารย์ทำตัวอย่างให้เห็นแล้ว

คุณโอ๋คะ บรรยากาศไม่ให้ค่ะ ที่จริงก็เคยเล่าเรื่อง Patho OTOP ให้ที่ประชุมฟังแล้ว แต่....

เราคงต้องทำงานให้ออกมาเป็นผลที่คนอื่นเห็นได้ชัดเจน (เช่นผลงานตีพิมพ์)

 

เรียน ท่าน อ.ปารมี

  • วงจรนี้ดูแล้วปรับใช้ได้กับทุกคนที่ทำงานครับ
  • ขอบคุณครับที่ นำมา ลปรร. มีรูปมาฝากท่าน อ.ด้วยครับ ที่นี่

คุณชาญวิทย์

  • ใช่ค่ะ การวิจัยจากงานประจำนั้น ทำได้ทุกงาน ทุกวิชาชีพ
  • ตามไปดูรูปแล้วค่ะ ขอบคุณค่ะ
  • อ. ครับ บันทึกของอาจารย์ช่วยตอบคำถามในใจผมได้เยอะทีเดียว
  • แต่ก็ยังมีคำถามคาใจผมอีกหลายอย่าง เช่น เดียวกัน เช่น
  • รูปแบบงานวิจัยแบบไหนที่เหมาะกับ R2R
  • เมื่อมีการเขียนผลงานแล้ว หรือมีการตีพิมพ์แล้ว ผลงานชิ้นนั้นต้องนำมาประยุกต์ใช้ต่อไปได้ด้วยใช่หรือไม่
  • เพราะฉะนั้นจะต้องมีทั้ง R2R และ routine to practice (R2P) หรือ research utilization(RU)  ไปพร้อมกันจึงจะนับเป็น R2R ที่ครบวงจรใช่หรือไม่
  • และ ขออนุญาตนำเข้าแพลเน็ตครับ

 เรียนอาจารย์ปารมีได้อ่านเกี่ยวกับ R2R ที่อาจารย์เล่าให้ฟังอยากร่วมวงสนทนาด้วยค่ะ เพราะตัวเองสนใจการทำ R2R มากแต่ไม่ทราบจะเริ่มอย่างไร ตรงไหน ได้เคยเข้าไปอ่านในเวปของศิริราชซึ่งมีอาจารย์ท่านหนึ่งได้เขียนและนำผลงานเกี่ยวกับR2Rของต่างประเทศมาให้อ่านเห็นแล้วทำให้เกิดไอเดียจึงได้มาทองทำในหน่วยงานดู แต่เพิ่งเริ่มค่ะ โดยจะทำเกี่ยวกับการเปลี่ยนตำแหน่ง HL ในผู้ป่วยเด็ก ได้ผลอย่างไรจะนำเสนอให้ทราบนะคะ

เรียนอ.สมบูรณ์

  • คิดว่า R2R ใช้รูปแบบงานวิจัยแบบไหนก็ได้ ขึ้นกับลักษณะคำถาม และวิธีการให้ได้มาซึ่งคำตอบที่น่าเชื่อถือ
  • ตามวงจรใน diagram จะเห็นว่า จริงๆ แล้วก็คือ routine to research to routine ...  ไปเรื่อยๆ ค่ะ ดังนั้น จุดหมายของ R2R ไม่ใช่ผลงานตีพิมพ์แน่นอน อยู่ที่การนำผลมาปรับใช้จริง
  • ขอบคุณอาจารย์ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนค่ะ 

คุณวัชรีย์

ลองอ่านเพิ่มเติมในบันทึกนี้ 1, 2, อาจจะช่วยให้เห็นภาพ R2R ชัดขึ้นค่ะ

  • หากทำวิจัยที่ต้องขอทุน ถ้าไม่วางแผนตีพิมพ์ก็คงยากที่จะได้รับทุนใช่ไม๊ครับ 
  • อาจารย์มีความเห็นเรื่อง RCT กับ R2R อย่างไรบ้างครับ
  • ผมจะแวะมาอ่านที่บันทึกนี้ครับ

เรียน อ.สมบูรณ์

  • ขออภัยค่ะ ที่เข้ามาตอบช้า รีๆ รอๆ อยู่ว่าจะตอบว่าอย่างไร  ต้องขอออกตัวก่อนว่า ไม่ได้มีประสบการณ์ R2R มากมายหลอกค่ะ เพียงแต่ได้มีโอกาสเรียนระบาดวิทยามาบ้าง เลยทำให้มีแนวคิดเรื่องวิจัยบ้าง
  • เรื่อง RCT (randomized control trial) กับ R2R นั้น ก็ยังยืนยันกับความคิดในความเห็นก่อนหน้าว่า งานวิจัยแบบไหนก็ได้ ขึ้นกับลักษณะคำถาม  ดังนั้นทำ RCT ใน R2R ได้แน่นอน และ เห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าทำมากๆ โดยเฉพาะเมื่อมียาใหม่ มีวิธีการรักษาใหม่ หากจะนำมาใช้ ก็ถือโอกาสทำการศึกษาไปด้วย  แต่ทั้งนี้ ก็ต้องดูว่า มีความจำเป็นต้องทำการศึกษาหรือไม่ (มีข้อพิจารณาอื่นๆ อีกหลายประเด็นค่ะ)
  • ขอบคุณอาจารย์มากครับ
  • ขออนุญาตแลกเปลี่ยนกับอาจารย์เรื่อง r2r ต่อ อีกหน่อย
  • คำว่า routine นั้น  จะต้องหมายความว่าอะไรก็ตามที่ทำอยู่แล้วเป็นประจำ ใช่หรือไม่
  • ดังนั้น การออกแบบงานวิจัยจะต้องใช้สิ่งที่เราทำอยู่แล้วให้เป็นงานวิจัย แต่ถ้าหากต้องมีการนำเข้าสิ่งที่เราไม่เคยใช้มาก่อน เช่น ยาใหม่ หรือวิธีการรักษาใหม่ จะเรียกว่า routine ได้หรือไม่ มองในแง่ผู้ให้ทุนด้วยนะครับ

 

เรียน อ.สมบูรณ์

  RCT ใน R2R ในความคิดเห็นส่วนตัว  น่าจะเป็นกรณีที่แพทย์จะเอายานั้นเข้ามาใช้อยู่แล้ว ไหนๆ ก็จะนำมาใช้เป็น routine อยู่แล้ว ก็หา gap เพื่อตั้งคำถาม และ เก็บข้อมูลพร้อมกับการ practice ปกติ   กรณี อาจารย์ธาดา หรือ ไม่แน่ใจว่า อาจารย์สีลม ท่านบอกว่า ทำ research ให้เป็น routine practice 

  • ใช่ครับ research ให้เป็น routine practice 
  • แต่ควรจะเป็นการพัฒนางานให้ดีขึ้น ทีนี้บางที RCT จะไม่ได้คำตอบ จนกว่าผลสรุปจะออกมา ซึ่งอาจไม่เป็นไปในทางที่ดีขึ้นก็ได้ จริงไม๊ ครับ
จริงค่ะอาจารย์
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท