เรื่องประทับใจโรงเรียนพ่อแม่ในเขต 3


วันหลังจะนำรูปมาลงคะ

       รวมเหตุการณ์การทำ KM โรงเรียนพ่อแม่ในเขต 3 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2550 เริ่มกิจกรรมเวลา 13.00 น.หลังรับประทานอาหารกลางวัน โดยจัดแบ่งกลุ่มตามสีที่ได้กำหนดไว้ที่แฟ้มเอกสารเมื่อลงทะเบียนในช่วงเช้า เพื่อกระจายกลุ่มเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลต่างๆไปให้ทั่วถึงกัน เฉลี่ยกลุ่มละประมาณ 20-23 คน แบ่งเป็น 6 กลุ่ม กำหนดหัวปลา  3 เรื่องๆละ 2 กลุ่ม ได้แก่ เรื่องกิจกรรมการดำเนินงานโรงเรียนพ่อแม่,แผนการสอนในโรงเรียนพ่อแม่และตัวชี้วัดในงานโรงเรียนพ่อแม่  โดยเจ้าหน้าที่ศูนย์อนามัยที่ 8 จำนวน1 ท่านประจำแต่ละกลุ่มมีหน้าที่ควบคุมการดำเนินกิจกรรมกลุ่มโดยรวม และให้สมาชิกในกลุ่มคัดเลือก FA และ Note taker เอง           

     ทีมศูนย์อนามัยสร้างสัมพันธภาพและบรรยากาศในกลุ่ม โดยให้แนะนำตัวและหน่วยงาน จากนั้นจึงให้ FA ดำเนินกิจกรรมต่อ  ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี  แม้ว่าตอนเริ่มจะยังไม่กล้าแสดงออก แต่เมื่อมีการพูดคุยกันมากขึ้นและได้รับการกระตุ้นจากผู้ควบคุมกลุ่มก็ทำให้คลายบรรยากาศดังกล่าวลงได้ดีขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างที่มีการเล่าเรื่องพบว่าในกลุ่มที่มีการดำเนินงานโรงเรียนพ่อแม่แล้วก็จะสนใจซักถามกันดี  โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตนเอง  เช่น นวัตกรรมใหม่ๆ  มีการอภิปรายความเป็นไปได้ของกิจกรรมแต่ละช่วงอายุ  ที่จะนำไปปรับใช้งานได้  การดำเนินงานส่วนใหญ่มีบริบทที่คล้ายคลึงกัน  มีความสนุกสนานครื้นเครงแทรกอยู่ในกิจกรรมเป็นระยะๆ จึงสร้างให้เกิดความคุ้นเคยมากขึ้น  อาหารว่างมื้อบ่ายเราเสริฟในห้องประชุมก็ไม่ได้ยินเสียงบ่นใดๆ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของผู้เข้าประชุมทุกท่านเป็นอย่างดียิ่ง           

     เมื่อสิ้นสุดการเล่าเรื่องจะมีการสรุปเนื้อหาและประเด็นสำคัญที่ได้ก่อนนำเสนอ สิ้นสุดการทำกิจกรรมกลุ่มเวลาประมาณ 15.30 น. แล้วส่งตัวแทนนำผลสรุปที่ได้ไปนำเสนอให้ที่ประชุม      

สรุปประเด็นกิจกรรมการดำเนินงานโรงเรียนพ่อแม่

1. ศูนย์อนามัยและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ผลักดันนโยบายสู่ผู้บริหารของโรงพยาบาล

2. ตั้งคณะกรรมการ

3. กำหนดนโยบาย

4. ประชาสัมพันธ์

5. ประชุมคณะกรรมการและทีมงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกำหนดแนวทางการดำเนินงาน กำหนดกิจกรรม(สถานที่,แผนการสอน,การจัดกลุ่มบริการ)

6. ดำเนินการ/Benchmark

7. สรุป/ติดตาม/ประเมินผล

  งานฝากครรภ์   

- ให้ข้อมูลโครงการโรงเรียนพ่อแม่โดยสมัครใจ

- สอนสุขศึกษารายกลุ่มโดยมีญาติ/สามีเข้าร่วม

- มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

- สอนโดยสหสาขาวิชาชีพ

- มีนวัตกรรม เช่น มีกระเป๋าความรู้ให้ยืม

- ทัวร์ห้องคลอด

ห้องคลอด

- สามี/ญาติเข้าห้องคลอด

- ประยุกต์สื่อการสอน/แบบสอบถามชุดเดียว

- มีการประสานข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อพัฒนางาน

หลังคลอด

- จัดทำทะเบียนหลังคลอด พร้อมขอเบอร์โทรศัพท์

- มีการส่งต่อข้อมูลไปPCU

- ติดตามเยี่ยมบ้านในรายที่มีปัญหา  

ตรวจสุขภาพเด็กดี 

- ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการตรวจประเมินการเจริญเติบโต(น้ำหนัก,ส่วนสูง) ตรวจพัฒนาการพร้อมลงบันทึก

- มี Pre test- Post test

- ทีมสหสาขาสอนในแต่ละช่วง

- ส่งต่อเด็กในรายที่มีภาวะผิดปกติ พบแพทย์

แล้วอีก 2 ประเด็นที่เหลือจะมาเล่าต่อบันทึกหน้านะคะ ตอนนี้ขอไปทำภารกิจของครอบครัวก่อนคะ....

 

   

หมายเลขบันทึก: 86854เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2007 16:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 11:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
เอาเนื้อหา หรือหน้าตานวัตกรรม หรือกิจกรรมที่เขาทำ เป็นยังไงกันบ้าง ผู้รับบริการชอบไหม มาเล่าให้ฟังบ้างสิคะ ... อยากรู้
พรุ่งนี้จะนำรูปมาลงคะ กล้องติดไปประชุมแผนยุทธศาสตร์คะ  เลยยังไม่มีโชว์เลยคะ
ขออภัยอีกหนึ่งรอบคะ วันนี้นำรูปมาลงยังไม่ได้เนื่องด้วยกล้องไปเที่ยวที่เชียงใหม่ต่อค่ะจะมาพร้อมเจ้าของวันที่ 5 โน่นเลยค่ะ (กล้องส่วนตัวของพี่เขาคะ..บ่นไม่ได้ ขอยืมเขาถ่ายตอนทำกิจกรรมคะ)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท