10 steps ของการเรียนรู้


การเรียนรู้ไม่หยุดนิ่ง

จากบันทึกคำบรรยายของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ในการประชุมประจำปี R2R ที่ศิริราช เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2551ศ.นพ.ประเวศ วะสี จากบันทึกท่านผอ.นพ.อนุวัฒน์ ได้บันทึกไว้ http://gotoknow.org/blog/anuwat/185305 โดนใจตรงที่ท่านได้กล่าวถึงขั้นตอนของการเรียนรู้ ไว้ดังนี้

     1.  ฝึกสังเกต observe

2.  ฝึกบันทึกเพื่อแก้นิสัยเรา คนไทยมีนิสัยไม่ชอบเขียน เมื่อก่อนบันทึกการแพทย์ก็ไม่ค่อยมี ต้องระลึกชาติ ญี่ปุ่น จีน ฝรั่งชอบบันทึก  เราต้องฝึกตรงนี้  การบันทึกที่ดีทำให้เราฉลาดขึ้น

3.  ฝึกการนำเสนอ presentation การนำเสนอเป็นการเรียนรู้ เป็นปัญญา  เราจะต้องดูว่าใครเป็นผู้ฟัง เขาเรียนรู้แค่ไหน จะนำเสนออะไรก่อนอะไรหลัง

4.  ฝึกการฟัง ต้องฝึก เพราะเราไม่ค่อยฟัง ต่างคนต่างพูด  ถ้าเราฟังดี ตั้งใจฟังดีเราก็ฉลาดขึ้น  ตอนนี้มีคนพยายามส่งเสริมสุนทรียสนทนา  ไม่เน้นการโต้เถียงไปมา เน้นการฟังอย่างลึก deep listening ฟังอย่างตั้งใจ  การฟังคนใดคนหนึ่งอย่างตั้งใจ เป็นการเคารพเขา ความรู้สึกเขาจะดี  สกว.เวลามีนายกใหม่ต้องไป brief นายก ไปแล้วก็ล้มเหลว เพราะนายกท่านไม่มีหูที่จะฟัง

5.   ฝึกปุจฉาวิสัชนา ถามกันไปมา ทำให้เกิดความชัดเจนขึ้น 

6.   ฝึกตั้งสมมติฐานและคำถาม ว่าเราฟังเรื่องราวทั้งหมด สมมติฐานมี 4 อย่าง คำถามใหญ่ในโลก  อริยสัจทำไมมี 4 เพราะคำถามใหญ่มี 4 คำถาม (1) สิ่งนี้คืออะไร what is it (2) สิ่งนี้เกิดจากอะไร (3) อะไรดีสำหรับอะไร อาจจะเป็นยา วัคซีน (4) ทำอย่างไรจะสำเร็จประโยชน์ ช่วยกันดูคำถามว่าอันนี้สำคัญ  บางทีเราไปถามสิ่งที่เป็น non question ก็มี มันไม่มีประโยชน์ ต้องช่วยกันดูว่าเป็นคำถามที่มีประโยชน์  บางคำถามมีค่าเป็นหมื่นล้าน

7.  แสวงหาคำตอบ จะไปอ่านหนังสือ ค้น internet อะไรก็แล้วแต่ ช่วยกัน  คำถามบางอันไม่มีคำตอบในหนังสือ แต่อาจจะมีคำตอบอยู่ในคนเฒ่าคนแก่  เพราะในคนเฒ่าคนแก่มีความรู้เชิงวัฒนธรรม มีความรู้ที่ถ่ายทอดกันมาแต่ไม่ได้ตีพิมพ์ เรียกว่ามุขปาถะ ต้องไปคุยกับคนเฒ่าคนแก่

8.   ถ้าค้นหมดแล้วก็ไม่ได้ แปลว่าไม่มีความรู้อยู่ในโลก แต่คำถามยังมีอยู่  เราก็ต้องออกแบบการวิจัยเพื่อตอบคำถาม  ได้คำตอบมา ก็เอาไปใช้งาน

9.   เอาความรู้มาบูรณาการให้เกิดปัญญา คือรู้ทั้งหมด  ความรู้ที่แยกส่วนยังไม่ดี และบางทีทำให้เกิดเรื่อง  มันต้องบูรณาการ เหมือนร่างกายเราที่มีความหลากหลายเหลือประมาณแต่เชื่อมโยงกันเป็นเอกภาพ เราจึงเป็นคนอยู่อย่างนี้ได้ มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน  ได้ความรู้มาแล้วต้องพยายามบูรณาการ

10. ฝึกเขียนจากประสบการณ์ของเรา จากการเรียนรู้ของเรา จากการวิจัยของเรา พยายามเขียน อาจจะเขียนเรื่องเล่าแบบนวนิยายมีตัวละคร หรือจะเขียนรายงานการวิจัย  คนจะรู้สึกว่าเขียนไม่ได้เพราะการเรียนของเราทำให้เขียนไม่เป็น ถ้าเราอ่านมาก ฝึกเขียนเรื่อยๆ

    

     เป็นสิ่งที่ตัวเองต้องฝึกฝนเพิ่มเติมทุกข้อเลยค่ะ สำหรับ gotoknow เป็นที่ฝึกฝนในการเขียนบันทึก ฝึกฝนการอ่าน การตั้งคำถาม ผอ.พอลล่าท่านบอกว่า คำถามจากคนอื่นเป็นสิ่งที่เราต้องค้นหามาตอบให้ได้ต่อไป ซึ่งเป็นการพัฒนาเรียนรู้ของเราอย่างหนึ่งด้วย

 

คำสำคัญ (Tags): #เรียนรู้
หมายเลขบันทึก: 186281เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2008 08:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับ พรหล้า

  • สงสัยต้องรีบไปฝึกแล้วหล่ะ
  • ตีองทำให้ได้
  • เอาสู้ๆๆๆๆๆๆ
  • ฝึก ๆๆๆๆๆๆ

 

 

ขอบคุณครูโย่งมาก ขอรับ

พอลล่ารบกวนครูโย่ง สอนน้อง amp เอารูปขึ้นบล็อกหน่อยสิคะ

โอเคครับ

รีบดำเนินการ ให้ ณ บัดนาว

ตามคำสั่ง อิอิ

ขอบคุณค่ะ หน้าตาดี แล้วยังใจดีอีกนะคะ

จับ ตัวไว้ให้หน่อย

ลอยแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท