วิเคราะห์การประกันคุณภาพการศึกษา


วิเคราะห์การประกันคุณภาพการศึกษา

กลุ่ม 3  ศูนย์พยัค  จังหวัดมหาสารคาม

 ความหมายและความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา

                รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 81 ได้กำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิด “ความรู้คู่คุณธรรม” และจัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งนำไปสู่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ก่อให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ที่มุ่งเน้นคุณภาพการศึกษา คือ ได้กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542: มาตรา 47)

ประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง การบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง สร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับบริการโดยตรง ได้แก่ ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม ได้แก่ สถานประกอบการ ประชาชน และสังคมโดยรวม

ความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา

                มีความสำคัญ 3 ประการ คือ

1.ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้ เกิดความเชื่อมั่นและสามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน

2.ป้องกันการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและเกิดความเสมอภาคในโอกาสที่จะได้รับการบริการการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง

3.ทำให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการศึกษาสู่คุณภาพและมาตรฐานอย่างจริงจัง ซึ่งมีผลให้การศึกษามีพลังที่จะพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

    การประกันคุณภาพการศึกษาจึงเป็นการบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการการศึกษา ทั้งยังเป็นการป้องกันการจัดการศึกษาที่ด้อยคุณภาพ

การประกันคุณภาพการศึกษาเกี่ยวข้องกับ

การดำเนินการที่สำคัญ 2 เรื่องดังนี้

1.การกำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษา

2.กระบวนการตรวจสอบและประเมินการดำเนินการจัดการศึกษา

ระบบและกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา

                ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาไทยตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 47 ประกอบด้วย 2 ระบบคือ

1.ระบบการประกันคุณภาพภายในและ

2. ระบบการประกันคุณภาพภายนอก

การเปรียบเทียบเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษา

รอบที่ 1    การประเมินอิงสถานศึกษา

รอบที่ 2  การประเมินอิงเกณฑ์  และการประเมินอิงสถานศึกษา

รอบที่ 3 จะเน้นมาตรฐานที่ 5   ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ตามหลักสูตร  (ประเมินทุกกล่มสาระการเรียนรู้) น้ำหนักในการประเมิน  20 %

การเปรียบเทียบระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อรองรับการประเมินจาก  สมศ.

รอบที่ 1   การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ การพัฒนามาตรฐานการศึกษา  การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา  การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา   การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา การประเมินคุณภาพการศึกษา  การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

รอบที่ 2 การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ การพัฒนามาตรฐานการศึกษา  การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา  การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา   การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา การประเมินคุณภาพการศึกษา  การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

รอบที่ 3 กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จัดระบบบริหารและสารสนเทศ ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายในจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

การเปรียบเทียบมาตรฐานการศึกษาและตัวชี้วัด

รอบที่ 1  มาตรฐานแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้ มาตรฐานด้านผู้เรียนมี  7 มาตรฐานมี 35ตัวชี้วัด มาตรฐานด้านครู มี 2 มาตรฐาน  18 ตัวชี้วัด มาตรฐานด้านผู้บริหารมี  5 มาตรฐาน 22  ตัวชี้วัด

รอบที่ 2  มีมาตรฐานทั้งหมด 14  มาตรฐานแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้ มาตรฐานด้านผู้เรียนมี  7 มาตรฐาน มี 32 ตัวชี้วัด  มาตรฐานด้านครู มี 2 มาตรฐาน 13 ตัวชี้วัด มาตรฐานด้านผู้บริหารมี  5 มาตรฐาน  มี 15 ตัวชี้วัด

รอบที่ 3  มีทั้งหมด  7  มาตรฐาน (ร่าง) มาตรฐานด้านผู้เรียน มี 5 มาตรฐานมี 25  ตัวชี้วัด  มาตรฐานด้านการบริหารจัดการ  มี 1  มาตรฐาน  4  ตัวชี้วัด มาตรฐานด้านผู้บริหาร  1 มาตรฐาน  2 ตัวชี้วัด

การเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของการประเมินคุณภาพการศึกษา  โดย สมศ.

ข้อดี

1.  สามารถตรวจสอบคุณภาพ และผลการปฏิบัติงานของโรงเรียน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2.  สามารถนำผลการประเมินมาจัดทำข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน และนำมาใช้ในการตัดสินใจวางแผนพัฒนา และปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน

3. รายงานผลการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสาธารณชน

4. เตรียมความพร้อมในการรับการประเมินจากองค์กรภายนอก เพื่อนำไปสู่การรับรองคุณภาพการศึกษา

5.ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้ เกิดความเชื่อมั่นและสามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน

6.ป้องกันการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและเกิดความเสมอภาคในโอกาสที่จะได้รับการบริการการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง

7.ทำให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการศึกษาสู่คุณภาพและมาตรฐานอย่างจริงจัง ซึ่งมีผลให้การศึกษามีพลังที่จะพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

ข้อเสีย

1.  คณะกรรมการที่มาประเมินไม่ใช่ชุดเดียวกันอาจทำให้การประเมินไม่ได้มาตรฐานเดียวกัน

2.  คณะกรรมการที่มาประเมินในแต่ละรอบไม่ใช่คณะกรรมการชุดเดิมอาจทำให้ผลการประเมินไม่ได้มาตรฐานเดียวกันและไม่ทราบข้อมูลพื้นฐานเดิมของโรงเรียน

3.  มาตรฐานและตัวชี้วัดในการประเมินแต่ละรอบไม่เหมือนกันและตัวชี้วัดแตกต่างกันทำให้โรงเรียนมีความสับสนใจการเตรียมข้อมูลรองรับการประเมิน

4.  วิธีการตรวจสอบข้อมูลของคณะกรรมการแต่ละคณะมีมุมมองที่แตกต่างกันจึงทำให้ผลการประเมินไม่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด

5. ไม่เป็นกันเอง ทำให้ผู้รับการตรวจประเมินไม่สบายใจ และรู้สึกว่ากำลังถูกจับผิด

6.ขาดการสนับสนุนของฝ่ายบริหารหน่วยงานต้นสังกัดก่อนที่จะรับการประเมิน

และระหว่างที่ทำการตรวจประเมิน

7. ไม่มีการแจ้งกำหนดการตรวจประเมินไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และก่อนเข้าไปตรวจประเมิน ต้องแจ้งซ้ำอีกครั้งหนึ่ง

หมายเลขบันทึก: 393031เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2010 13:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:30 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท