สัมผัสสระ สัมผัสอักษร กลบท และละลอกทับ ละลอกฉลอง


1. สัมผัสสระ

1.1 คำเคียง มีสัมผัสเทียบกันสองตัว เช่น "จะเปรียบเทียบสองปอง"

1.2 คำเทียบเคียง มีสัมผัสชิดกันสามคู่ เช่น "ขอพบชาติหน้าใหม่ให้ได้ครอง"

1.3 คำทบเคียง มีสัมผัสชิดกันสองคู่ เช่น "ดูคมน้ำนวลยวนสวาท"

1.4 คำแทรกเคียง มีสัมผัสหนึ่งคู่อยู่กลางวรรคและมีคำอื่นแทรกกลางอยู่คำหนึ่ง เช่น
"แม่เป็นนารีผลวิมลจันทร์"

1.5 คำเทียมแอก มีสัมผัสหนึ่งคู่อยู่ท้ายวรรคและมีคำอื่นแทรกกลางอยู่คำหนึ่ง
เช่น ".........แสงทองสาดส่อง"

1.6 คำแทรกแอก มีสัมผัสหนึ่งคู่และมีคำอื่นคั่นกลางอยู่สองคำ เช่น "ไม่สมมาดเหมือนที่คาดคะเนฟัง"

2. สัมผัสอักษร

2.1 คำคู่ มีสัมผัสชิดกันสองคำเช่น มาโลมโลก

2.2 คำเทียมคู่ มีสัมผัสชิดกันสามคำ เช่น ผุดผ่องผาด

2.3 คำเทียมรถ มีสัมผัสชิดกันสี่คำ เช่น หวีดแว่ววิเวก

2.4 คำเทียบรถ มีสัมผัสชิดกันห้าคำ เช่น จำใจจำจากเจ้า

2.5 คำทบคู่ มีสัมผัสสองคู่ทบกัน ดายดวงพวงพุ่ม

2.6 คำแทรกคู่ มีสัมผัสโดยมีคำคั่นหนึ่งคำ เช่น เทียนดับวับเดียว

2.7 คำแทรกรถ มีสัมผัสโดยมีคำอื่นแทรกสองคำ เช่น น้อยมิให้แหนง

3. กลบท ที่ถือเป็นทางกลอนปัจจุบัน

3.1 ก้านต่อดอก ซ้ำสระหนึ่งคู่ท้ายวรรค
เช่น ทุกข์ระทมกรมทรวงดั่งศรรอน

3.2 อักษรสังวาส ซ้ำสระหนึ่งคู่ต้นวรรค-ท้ายวรรค
เช่น มาลาร้างห่างรสภิรมย์ชม

3.3 เทพชุมนุม ซ้ำสระสองคู่ ณ กลางวรรค
เช่น มีแต่เศร้าเปล่าใจให้รัญจวน

3.4 ช้างชูงวง วรรคหน้า ซ้ำสระสองคู่ ณ กลางวรรค แต่มีคำคั่นระหว่างวรรค หนึ่งคำ
เช่น บุตรบังคมก้มเศียรราบกราบทูล

3.5 สิงห์โตเล่นหาง วรรคหลัง ซ้ำสระสองคู่ ณ กลางวรรค แต่มีคำคั่นระหว่างวรรค สองคำ
เช่น แสนรักหนักหน่ายฤทัยใครเสมอ

3.6 มธุรสวาที

-วรรคที่ 1 และ 3 ซ้ำสระ 2 คู่
-วรรคที่ 2 และ 4 ซำสระ 1 คู่

เช่น

ดำรงภพ[ลพเลิศ]ประเสริฐโภค             เป็นจอมโลกจุลจักรอรรคมหา-
อานุภาพ[ปราบเปรื่อง]กระเดื่องปรา-     กฎเดชาเป็นเกษนิเวศน์เวียง

[ลพเลิศ] และ [ปราบเปรื่อง] ในวงเล็บคือ สัมผัสอักษร

4. ละลอกทับ และละลอกฉลอง

ข้อห้ามในการแต่งกลอน เรียกว่าละลอกทับ และละลอกฉลอง

4.1 ละลอกทับ
-ถ้าคำเอก (โท) อยู่ในที่สุดของกลอนส่ง คือผิดฉันทลักษณ์

4.2 ละลอกฉลอง
-ถ้า คำเอก (โท) อยู่ในที่สุดของกลอนรับ คือผิดฉันทลักษณ์
-คำเอก (โท) อยู่ในที่สุดของกลอนรอง คือผิดฉันทลักษณ์ 

คำสำคัญ (Tags): #ทางกลอน
หมายเลขบันทึก: 197694เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2008 23:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีครับ....

เข้ามาอ่านบันทึกที่ให้ความรู้ในทางวรรณศิลป์ .

พลอยได้ฟังเพลงแห่งมวลชนเช่นนี้  ยิ่งอดคิดถึงวันวัยที่ตนเองเป็นคนทำกิจกรรมในชุดของการเป็นนิสิตไม่ได้

"กิจกรรม เพื่อส่วนรวม..และสังคมที่ดีกว่า" ..นั่นคือปรัชญาที่เรายึดถือในสมัยหนึ่ง

ดังนั้น.. ชีวิตจึงไม่ได้อยู่แต่ในเพาะห้องเรียน...

....

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับพี่ . แผ่นดิน  ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมครับ นำมาลงไว้กันลืมน่ะครับและเผื่อมีคนสนใจได้อ่านและนำไปทดลองแต่ง ดูก็จะเพิ่มความวัฒนาถาวรในแวดวงวรรณกรรม :) เพลงมวลชนเพราะดีนะครับเหมาะนำไปร้องเวลาออกค่าย

มาเยี่ยม คุณกวิน

มาได้อ่านหลายคำเลยนะนี่ ชื่นชมนะ

สวัสดีครับอาจารย์ umi เป็นเคล็ดกลอน ที่จดๆ มาอีกทีนึงน่ะครับ ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมนะครับ

  • ขอบคุณค่ะ...
  • ได้รับความรู้เพิ่มไว้ใช้ยามแต่งกลอน...
  • พี่มาพร้อมกับพิธีปิดกีฬาโอลิมปิคอลังการงานสร้างจริงๆ เยี่ยมมากๆ

ขอบคุณครับพี่นุส ยังไม่ได้ดูเลยครับ พิธีปิด

ขอบคุณอีกครั้ง สำหรับสาระดีๆ

ปกติจะถนัดโคลงมากกว่ากลอน ว่างๆจะลองหัดดูครับ กลบทน่าสนใจ

ผมแต่งกลบทฟักพันร้านไว้บทนึง ที่บล็อกครับ ว่างๆขอเชิญครับ

อ่านเจอจากที่ต่างๆ จดไว้ในสมุดนานแล้ว นำมาลงไว้ ครับขอบคุณที่มาอ่านครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท