Palliative Care Day 2010: Sharing the Care


เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ผมมีคิวบรรยายเยอะมาก และหนึ่งในนั้นคือ การบรรยายที่โรงพยาบาลศิริราช ในงาน  Siriraj Palliative Care Day ซึ่งปีนี้ World Hospice & Palliative Care Day มีคำขวัญเท่ห์ๆ ว่า Sharing the Care

หัวข้อที่ผมบรรยายชื่อเหมือนคำขวัญประจำปีที่ว่า Sharing the Care

ตอนผมรับปาก พี่รุ่งนิรันดร์..ผศ.นพ.รุ่งนิรันดร์ ประดิษฐ์สุวรรณ ที่จะเป็นคนพูดในหัวข้อนี้ ก็รู้สึกค่อนข้างหนักใจ เพราะเป็นการบรรยายคนแรกในช่วงเช้าของวัน ให้เวลาพูดคนเดียวตั้ง ๑ ชั่วโมง ๑๕ นาที และที่สำคัญ โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่า หัวข้อแบบนี้ การบรรยายเดี่ยวค่อนข้างยาก เพราะอารมณ์ไม่เป็นไปตามหัวข้อเอาเสียเลย คือ ไม่ค่อยได้ share กับใคร ว่างั้น

ผมจึงวางแผน ดึงการมีส่วนร่วมของผู้เข้าฟังการบรรยาย โดยใช้การตั้งคำถาม และกระตุ้นให้ช่วยออกความคิดเห็น

ผมแบ่งการบรรยายเป็น ๓ ช่วง คือ

 - ประโยชน์ของการทำงานเป็นทีม

 - ปัญหาของการทำงานเป็นทีม

 - ข้อเสนอของผมในการทำงานเป็นทีม

ทั้งหมดนี้ เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับวงการ Palliative Care ซึ่งให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีมสหวิชาชีพมาก จนมีกล่าวอยู่ในคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลก และปีนี้ก็ยังอยู่ในคำขวัญประจำปีด้วย แต่วงการอื่นก็คงไม่ต่างกัน

 

                                                                   ประโยชน์ของการทำงานเป็นทีม

  ผมต้องการสื่อถึงประโยชน์ที่ได้จากการทำงานเป็นทีม ที่ไม่มีทางเกิดขึ้นหรือได้ผลสำเร็จน้อยกว่า ถ้าเราทำงานแยกกันเป็นส่วนๆ

           T: together

           E: everyone

           A: achieves

           M: more

 โดยผมมีตัวอย่างประกอบเป็นสารคดี BBC เรื่องฝูงมดในลุ่มน้ำอเมซอน ข้างล่างนี้นะครับ

 ดูแล้ว รู้สึก และ คิด อย่างไรกันบ้างครับ เป็นคำถามเดียวกันกับที่ผมถามผู้เข้าฟังวันนั้น

 

                                                                       ปัญหาของการทำงานเป็นทีม

 ผมเริ่มช่วงนี้ด้วยการตั้งคำถามผู้เข้าฟังอีกแล้ว ว่า คิดว่าน่าจะมีปัญหาอย่างไร

 คำถามนี้ มีหน้าม้า..เอ้ย คนคุ้นเคยใน G2K มาเป็นคนช่วยตอบ ซึ่งตรงใจผมเป็นที่สุด เรียกว่า ตอบตรงจุด จนผมไม่ต้องพูดเลย

 จะเป็นใครนะหรือครับ ให้เขามาเปิดเผยตัวเองในบันทึกแล้วกันนะครับ

 ครับ มันเป็นเรื่องของ การสื่อสารที่เป็นปัญหา

 คำว่า มากหมอ มากความ แว็บเข้ามาเลย โดยเฉพาะในวงการที่มาแบบร้อยพ่อพันแม่อย่าง palliative care เพราะไม่ใช่เฉพาะบุคลากรสุขภาพเท่านั้น ที่แค่นี้ก็สารพัดที่มาแล้ว แต่รวมถึง อาสาสมัคร องค์กรในชุมชน ผู้นำทางศาสนา คนไข้และครอบครัว เรียกได้ว่า หลากความคิดหลายความเห็นเป็นยิ่งนัก

 แล้วเรื่องอะไรที่มีความเส่ียงสูง คำตอบ คือ การให้ความช่วยเหลือด้านจิตสังคม เพราะอะไรหรือครับ ลองดูความเห็นนี้ของสามเสาหลักด้าน palliative care คือ นักสังคมสงเคราะห์ พยาบาล แพทย์

"Whilst medical needs will be met from the medical disciplines,
no one discipline has the monopoly in fulfilling  the non-medical [i.e. psychosocial] roles.”
                               
        Barbara Monroe (1998)

                                        นักสังคมสงเคราะห์อาวุโส ของ St. Christopher’s Hospice อังกฤษ


 ครับ ไม่มีใครเป็นเจ้าภาพหลักเรื่องนี้

 

 "We contend, however, that  this realm is more than shared: it is a contested realm with palliative care nurses, social workers, counsellors, psychologists, chaplains and others all positioning themselves to address the psychosocial needs of patients”

                                              Margaret O'Connor

                                              ศาสตราจารย์ทางการพยาบาล ออสเตรเลีย

ถ้าทำไม่ดี จาก ร่วมด้วยช่วยกัน ก็กลายเป็น แข่งขันชิงดีชิงเด่น

แล้วที่สนุกไปใหญ่ครับ คือ เรื่องนี้ หมอก็ขอแจมด้วย

“Physicians who are drawn to palliative care tend to enjoy the psycho-social aspects of the work and may not want to give them up”

                                                    Daniel Stadler, M.D.
                                                    Program’s director, Dartmouth-Hitchcock Medical Center

 เมื่อมีตัวละครเข้ามาเกี่ยวข้องเรื่องนี้มากอย่างนี้ ถ้าต่างคนต่างทำ ไม่คุยกันให้ดีว่าใครจะทำอะไร ใครจะแนะนำคนไข้อย่างไร สุดท้าย ประสานงาน ก็กลายเป็น ประสานงา ได้ง่ายๆ

 

                                                                       ข้อเสนอในการทำงานเป็นทีม

 ผมใช้มุกเก่า หัวใจ palliative care ของผม คือ สนใจ เปิดใจ เข้าใจ ร่วมใจ ใส่ใจ

 ทีเด็ดของผมอยู่ที่ เปิดใจ เพราะมีคลิปเด็ดไปเปิดในห้องประชุม คลิปนี้ครับ


 

ปิดท้าย ผมสรุปว่า จะ sharing the care ได้ต้อง ร่วมใจ ร่วมคิด ร่วมมือ

หมายเลขบันทึก: 407140เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2010 18:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 15:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สวัสดีค่ะ

ยายคิมชอบเรื่องฝูงมดในลุ่มน้ำอเมซอน  ตอนที่มีปลามากินมด ทำให้นึกถึง "มดกินไส้เดือน" ของอาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์  "การเดินสู่อิสรภาพ" ค่ะ

ดูตั้งสองเที่ยว  เห็นความสำเร็จของมด  เพลงมีความหมายมากค่ะ

ขอขอบพระคุณมากค่ะ

  • สวัสดีค่ะ อาจารย์หมอเต็มศักดิ์
  • แวะมาทักทายด้วยความระลึกถึงค่ะ
  • อ่านแล้วเหมือนไปนั่งฟังคำบรรยายเลยค่ะ
  • เห็นฝูงมดแล้วเห็นพลังของการรวมกลุ่มที่ทำให้เอาตัวรอด
    มนุษย์ก็ไม่ต่างไปจากมดนะคะ...
  • ขอบพระคุณมุมมองและแนวคิดดี ๆ อ่านแล้วเกิดประโยชน์
  • เดินทางบ่อย ๆ รักษาสุขภาพให้มาก ๆ นะคะ

 

Ico32

  • สวัสดีครับพี่คิม
  • พี่ได้เมล์ผมเรื่องคุณครูที่ชาติตระการแล้วนะครับ
  • สงสัยจังครับ
  • ยังไม่ได้อ่านเรื่องของอาจารย์ประมวลนะครับ
  • พี่..ลุ้น..ไปกับมดมั้ย ทั้งๆที่เราเป็น..คน
  • ผมว่า นี่ละครับ พลังของทีม

Ico32

  • ผมเคยสงสัยว่า มดขยันทุกตัวหรือเปล่า มีมดนิสัยเสียมั้ย ที่นิสัยเอาแรงเพื่อน?
  • เพิ่งอ่านเรื่องของลิงชิมแพนซีใน NG คนที่ไปศึกษาพวกมัน พบว่า พวกสัตว์ก็มี นิสัยหรือลักษณะเฉพาะตัว เหมือนคนด้วย น่าทึ่งจังครับ

สวัสดีค่ะคุณหมอ

จริงค่ะ อ่านแล้วลุ้น  และมีความสุขที่กำลังมดเพิ่มขึ้น มีการแสดงออกที่ช่วยกันคาบไข่ พยุงตัวแมลง

อีเมล์ได้รับแล้วนะคะ  ไม่น่าเชื่อ  อาจจะมีแต่ไม่ถึงขนาดนั้น  หรือว่าเขาคิดอะไรอยู่

  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • ป้าแดงกำลังจะทำกิจกรรมคุณภาพ เรื่อง palliative care ที่ไม่อยากให้ต่างคนต่างทำ อยากทำเป็นทีมว่าช่วงไหนทำอะไรบ้าง
  • ยังไปไม่เป็นเลยค่ะ งานต้องเริ่มแล้ว
  • ขอบคุณอาจารย์ค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์หมอเต็ม การสื่อสารสำคัญกับการทำงานเป็นทีม มากๆ จริงๆ ยินดีที่ได้อ่านบันทึกนี้ค่ะ ส่งกำลังใจนะคะ ;)

เรียนอาจารย์เต็มศักดิ์ ดีใจทีได้เข้ามาอ่านบันทึกดีๆ คะ

เคยจำได้ว่า อาจารย์นิสิต สอนว่า การทำงานเป็นทีม ให้มองภาพรวม

ท่านมักพููดขำๆ ว่า "ผมไม่เก่งอะไรสักอย่าง" แต่จริงๆ แล้วท่านเป็นคนน่าทึ่งมากคะ

เอามดไปโชว์ใน workshop ก็สร้างพื้นที่พูดคุยได้เยอะมากเหมืิอนกัน (บรรยากาศประกอบ) เผลอๆง่ายกว่าพูดถึงคน เพราะพื้นที่ปลอดภัยมันเยอะกว่า การสะท้อนก็อิสระมากกว่า

Ico32

  • พี่แดงครับ
  • ผมก็ทำเรื่องนี้มานาน แต่ก็ยังเห็นจุดบกพร่องในเรื่องการทำงานเป็นทีมของตัวเองอยู่จนถึงทุกวันนี้ครับ

Ico32

  • แสดงว่าเรื่องนี้มีปัญหาในทุกวงการนะครับ

Ico32

  • มีประโยคเท่ห์ๆ คือ there is no "I" in TEAMWORK
  • คงจะตรงกับที่อ.​ปัทมาว่านะครับ

workshop SHA ของ อ.อนุวัฒน์ครับ ทำกับ รพ. 60 โรงที่สมัครโครงการ SHA

ลุ้นๆๆครับว่ามดจะข้ามน้ำไปได้ไหม ทึ่งจริงๆๆ

Ico32

  • เวลาพูดถึงคนอิื่น ความคิดหลั่งไหลกว่า พูดถึงตัวเอง ?
  • น่าสนใจนะครับ

Ico32

  • แวะมาตีท้ายครัวอาจารย์ที่กำแพงแสนอีกแล้ว ถึงวันอาทิตย์นี้ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท