ลองติดตั้ง VSFTPDบนลีนุกซ์(1)


วันนี้ 22 สิงหาคม 2552

        - การใช้เอดิเตอร์ วีไอบนลีนุกซ์

        - ใช้ vsftpd ร่วมกับ xampp

        - การเพิ่มยูสเซอร์บนcommand line

ได้ทำการติดตั้งเอฟทีพีบนลีนุกซ์เรดแฮ็ทได้ซะที

ทำให้รู้ว่าการที่มีความรู้แล้วไม่ได้ใช้นั้นก็จะเกิดการสูญเปล่า

 เดี๋ยวลืมเวลาต้องการใช้  ไหนจะเรื่องของเวลาที่เสียไปอีก

ฉะนั้นจึงสนับสนุนความเชื่อเรื่องการจะทำอะไรให้ได้ดีและคงเจริญก้าวหน้าตลอดไปนั้น

สำคัญคือต้องทำจากความชอบความรักในสิ่งที่ตนทำ เช่นเรื่องการโอนย้ายไฟล์ไปยังเครื่องให้บริการซึ่งเป็นเรื่องไม่ยากมากนัก  แต่หวังผลไปซะทุกทางเลยคือ ต้องการใช้ระบบปฏิบัติการที่เป็น

ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สที่ถือลิขสิทธิ์แบบ GNU General Public License คือ ลีนุกซ์ ระบบการบริหารจัดการข่าวสาร ระบบดาต้าเบส ทุกอย่างเป็นของที่ทำบนระบบแบบเดียวกัน

การทำเช่นนี้ทำให้งานเซ็ทระบบการทำการโอนย้ายไฟล์ ยากเย็นมากขึ้น

แบบนี้ทำให้สะท้อนถึงบุคลิกภาพของคนทำงาน

หากมีการบริหารจัดการตนเองดีดี ก็จะทำให้การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ สามารถเกิดขึ้นได้เร็วขึ้น 

เป้าหมายของการเซ็ทระบบก็คือการที่จะมีเว็บไซต์ภายในองค์กร ที่มีความเป็นอิสระ ตอบสนองความต้องการลูกค้า  ถ้าหากเขาสนใจพัฒนาเว็บไซต์ก็จะผ่องใส แต่ถ้าเขาอยากมีแต่ไม่ได้ต้องการจริงรูปร่างของเว็บไซต์ก็จะมีสภาพดังจิตใจของเขานั่นเอง

ในครั้งนี้ผมได้เรียนรู้คำสั่งง่ายๆ ของลีนุกซ์ผ่าน command line ก็ดีมากเลย

 

ไปดาวน์โหลดไฟล์ vsftpd-1.1.3-8.i386.rpm มาจาก http://rpmfind.net/linux/rpm2html/search.php?query=vsftpd (ต้องใช้กับ redhat9)

 

คำสั่งการตรวจสอบแพ็คเก็จ

rpm –q vsftpd

การติดตั้งแพ็คเก็จ

rpm –ivh vsftpd-1.1.3-8.i386.rpm

การปรับแต่งค่า ftp server

cd /etc/vsftpd

ใช้โปรแกรมแก้ไข

vi vsftpd.conf

การใช้งาน vi ก็น่าสนใจดังนี้คือ

viเป็นเอดิเตอร์ที่มีใช้คู่กับยูนิกซ์ มีโหมดการทำงาน 3 โหมด

1.command mode

2.insert mode

3.last line mode

    command mode จะเป็นโหมดปกติตอนเริ่มต้น เราใช้ในการเคลื่อนย้ายเคอร์เซอร์ ลบข้อความ สำเนาข้อความ และทำงานอื่นๆได้

    insert mode ในโหมดนี้เป็นโหมดที่เราสามารถทำการแก้ไขข้อความหรือพิมพ์ข้อความลงไปได้ เราสามารถเปลี่ยนจาก command mode เข้ามาอยู่ใน insert mode ได้โดยการกดปุ่ม i  และเราก็จะสามารถพิมพ์ข้อความต่างๆได้ และเมื่อเราต้องการจะกลับไปยัง command mode อีกที เราก็สามารถโดยทำการกดปุ่ม Esc

      last line mode จะเป็นโหมดที่อนุญาตให้เราสามารถ ใช้คำสั่งเพิ่มเติมของ vi ได้ โดยเราจะต้องกดปุ่ม : (โคล่อน) ซึ่ง vi จะแสดงเป็นพร้อมต์รอรับคำสั่งอยู่ด้านล่างสุดของจอภาพ เราสามารถทำการสั่งโดยการพิมพ์คำว่า wq แล้วกด Enter เพื่อทำการบันทึกข้อความลงไฟล์ แล้วออกจากโปรแกรม vi

การใช้งาน vi

เราสามารถเริ่มต้นการใช้งาน vi ได้โดยใช้คำสั่ง

vi (filename)

โดยที่ filename คือชื่อไฟล์ที่เราต้องการจะบันทึกข้อความ ตัวอย่างเช่น

vi myfirstfile

จะเป็นการสร้างไฟล์ที่ชื่อ myfirstfile ขึ้นมา แต่หากมีไฟล์นี้อยู่แล้วก็จะทำการอ่านข้อความที่มีอยู่ในไฟล์นี้ขึ้นมา ในตัวอย่างนี้เราจะถือว่าเป็นการสร้างไฟล์ใหม่ขึ้นมาและเมื่อ vi เริ่มต้นทำงานแล้ว เราจะเห็นจอภาพในลักษณะต่อไปนี้

เราจะเห็นว่าเคอร์เซอร์จะอยู่บรรทัดบนสุด แสดงว่ายังไม่มีข้อความใดๆอยู่ในไฟล์นี้ และบรรทัดถัดลงมาจะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ~ ซึ่งหมายความว่าเป็นตัวสิ้นสุดไฟล์ (End of file)
ให้เราทดลองเริ่มพิมพ์ข้อความ โดยให้เปลี่ยนไปอยู่ใน insert mode โดยใช้กดปุ่ม i แล้วทดลองพิมพ์ข้อความดู

ในระหว่างการพิมพ์ข้อความ เราสามารถจะใช้ปุ่มลูกศรทำการเลื่อนเคอร์เซอร์ไปมาระหว่างข้อความได้ และหากเราพิมพ์ผิดพลาด ก็ให้ใช้ปุ่ม Backspace หรือ Delete ทำการแก้ไขข้อผิดพลาดเหล่านั้นได้ ให้เรากลับคืนสู่ command mode โดยกดปุ่ม Esc

ในกรณีที่เราต้องการจะแทรกต่อท้ายข้อความ (append) ให้เรากดปุ่ม a โปรแกรม vi จะกลับไปอยู่ใน insert mode อีกครั้ง แต่จะมีการแทรกพิมพ์ข้อความในตำแหน่ง  ที่ถัดจากเคอร์เซอร์ออกไป ซึ่งจะต่างกับ i ที่จะแทรกในตำแหน่งที่เคอร์เซอร์อยู่พอดี

และหากเราต้องการจะแทรกข้อความในบรรทัดถัดไป เราจะต้องกดปุ่ม o โปรแกรม vi จะทำการขึ้นบรรทัดใหม่ให้ เราสามารถจะพิมพ์ข้อความในบรรทัดใหม่นั้นได้

จากรูปในตัวอย่างให้เราทดลองแทรกข้อความ 1234 ระหว่างข้อความ This is กับ the first line และพิมพ์ข้อความ end of line ต่อท้ายบรรทัด

จะเห็นว่าเราจะต้องอยู่ใน command mode และใช้ปุ่มลูกศรเลื่อนเคอร์เซอร์ไปตรงกับตัวอักษร s ของข้อความ This is และกดปุ่ม i เพื่อทำการแทรกข้อความ แล้วจึงพิมพ์ 1234 ตามลงไป  ส่วนการพิมพ์ต่อท้ายบรรทัดนั้น ให้เรากลับมาอยู่ในคอมมานด์โหมด แล้วเลื่อนเคอร์เซอร์ไปที่ท้ายบรรทัด จากนั้นก็กดปุ่ม a เพื่อเริ่มทำการ append และเราก็สามารถพิมพ์ข้อความ 

 end of line ลงไปได้

          ในตอนแรกๆเราอาจจะรู้สึกสับสนกับการสลับโหมดระหว่าง command mode และ insert mode แต่ขอให้เราทดลองฝึกฝนไปสักพักหนึ่ง โดยอาจทดลองพิมพ์ข้อความลงไป

และแก้ไขดู เมื่อเราฝึกไปสักระยะหนึ่งแล้ว เราจะพบว่าเราสามารถทำการคุ้นเคยกับการสลับโหมดของ vi ได้อย่างไม่ยากนัก

การลบข้อความ

           หากเราต้องการจะลบตัวอักษร (character delete) ให้เรากลับคืนสู่ command mode โดยกดปุ่ม Esc แล้วเลื่อนเคอร์เซอร์โดยใช้ปุ่มลูกศรไปอยู่ในตำแหน่งของตัวอักษร ที่เราต้องการจะลบออกนั้น แล้วกดปุ่ม x โปรแกรม vi จะทำการลบตัวอักษรให้หนึ่งตัวในตำแหน่งที่ตรงกับเคอร์เซอร์นั้น เมื่อลบตัวอักษรแล้ว vi ก็ยังอยู่ใน command mode อยู่เหมือนเดิม

หากเราต้องการจะลบตัวอักษรมากกว่าหนึ่งตัว เราจะต้องทำการกดปุ่ม x จำนวนเท่ากับตัวอักษรที่เราต้องการจะลบนั้น เช่นเราจะต้องกด x 4 ครั้ง เพื่อจะลบข้อความ 1234

หรือเราอาจจะใช้ 4x แทนการกด x 4 ครั้งก็ได้

          หากเราต้องการจะลบบรรทัด เราจะต้องเลื่อนเคอร์เซอร์ มาอยู่ในบรรทัดที่เราต้องการจะลบแล้วกดปุ่ม dd (กด d สองครั้งติดกัน)

การเปลี่ยนแปลงข้อความ

         การเปลี่ยนข้อความหนึ่งตัวอักษร สามารถทำได้โดยการกดปุ่ม r เมื่อเปลี่ยนเสร็จแล้วเราจะกลับสู่ command mode ถ้าเราต้องการเปลี่ยนข้อความมากกว่าหนึ่งตัวอักษรให้ทำการกดปุ่ม R เราจะสามารถเปลี่ยนข้อความไปเรื่อยๆได้จนกว่าจะกดปุ่ม Esc เพื่อกลับสู่ command mode

การเคลื่อนย้ายเคอร์เซอร์


       เมื่ออยู่ใน command mode นอกจากการใช้ปุ่มลูกศรทำการเคลื่อนย้ายเคอร์เซอร์แล้วเราอาจจะใช้ปุ่ม h, j, k, l ในการเคลื่อนย้ายได้เช่นกัน โดยมีรูปแบบดังนี้

  • ปุ่ม h สำหรับเลื่อนเคอร์เซอร์ไปทางซ้าย
  • ปุ่ม j สำหรับเลื่อนเคอร์เซอร์ลง
  • ปุ่ม k สำหรับเลื่อนเคอร์เซอร์ขึ้น
  • ปุ่ม l สำหรับเลื่อนเคอร์เซอร์ไปทางขวา

          มีต่อ...

คำสำคัญ (Tags): #vsftpd#xampp#ทำเว็บ
หมายเลขบันทึก: 290090เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2009 20:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท