บอกข่าวร้าย


ไม่ให้ ยืนคนละข้าง แล้ว ต่อสู้กันเองระหว่างฝั่งแพทย์พยาบาล และฝั่งผู้ป่วยญาติ แทนที่จะทั้งสองฝ่ายจะช่วยกัน ต่อสู้ความเจ็บป่วยและความทุกข์ทรมานจากโรคร้าย

ปัจฉิมนิเทศ แพทย์ใช้ทุนปีที่สอง เชียงรายปีนี้ จัดขึ้นหลังจากหมอใหม่ ของจังหวัดเชียงราย ไป รับใช้ชาติ โดยทำงานที่ รพ ชุมชน ได้ ประมาณ 1 เดือน


ทาง สำนักงานสาธารณสุข จ เชียงรายจัดอบรม  2 วัน  มีเป้าหมาย  ว่า แพทย์ใหม่ต้องทราบเรื่องโรคเอดส์ เรื่องวัณโรค การสอบสวนโรค ระบาดวิทยา ฯลฯ

เพื่อให้น้องแพทย์ใหม่ของเรา อยู่บริการ ประชาชนที่โรงพยาบาลชุมชน อีก สองปี โดยมีความรู้ในการดูแลโรคพบบ่อย  โรคที่เป็นปัญหาของจังหวัดเชียงราย   และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 ปีนี้ แพทย์ใหม่ เรามีเพียง 12 คน และมีเพียง 6 คน ที่จะไปประจำอยู่ที่ รพช อีก 6 คน อยู่ต่อ ที่ รพ เชียงรายฯ และทำหน้าที่แพทย์ พี่เลี้ยงประจำแผนก ต่างๆ


ปัจฉิมนิเทศนี้เป็นครั้งที่สอง เราจัดครั้งแรกในปีที่ผ่านไปแล้ว เรื่องที่สอนเกี่ยวกับ โรคเอดส์ วัณโรค การควบคุมโรคระบาด   ที่นี่

ปีนี้ เรามีเรื่องสำคัญ ที่คุณหมอใหม่ทุกท่านควร ได้ทราบ และทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเป็นช้วโมง ใหม่ ที่ได้เชิญ อาจารย์ใหม่มาสอน 

เรื่องบอกข่าวร้าย 

เนื่องจากการเจ็บป่วย และเสียชีวิต ของผู้ป่วย เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในการทำงานของแพทย์ทุกคน

แพทย์ทุกคนต้องทราบและมีทักษะในการบอกข่าวร้าย 

เพราะการสื่อสารที่ดีกับ ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย สร้างไมตรี และความเห็นอกเห็นใจของทั้งสองฝ่าย ให้ยืนข้างเดียวกัน สนับสนุนการรักษา

ไม่ให้ เกิดความไม่พอใจ ยืนคนละข้าง ละฝ่าย ฝั่งแพทย์พยาบาล และฝั่งผู้ป่วยญาติ

แล้ว ต่อสู้กันเอง

แทนที่จะทั้งสองฝ่ายจะช่วยกัน ต่อสู้ความเจ็บป่วยและความทุกข์ทรมานจากโรคร้าย

  อ พัชราพร เอ้า ซึ่งเชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาเด็ก และพี่พรพัชรา(พี่นุช)นักจิตวิทยาที่ชำนาญด้านนี้โดยตรงมา เป็นวิทยากร โดยมี อ รวิวรรณร่วมแจม

เราเคยจัดให้พชทปี 1 หรือ อินเทอร์นเมื่อตอนปฐมนิเทศไปแล้ว ปรากฏทั้งคนฟังและคนเป็นวิทยากร ต่างรู้สึกดีมาก หลังจบกิจกรรม สรุปกันว่า ควรจะทำให้ น้องๆ แพทย์ใหม่ทุกคน

อาจารย์ พัชแบ่ง  การเรียนรู้ครั้งนี้ เป็น 3 ตอน

เริ่มด้วยคนที่เป็นต้นแบบของเรา


ตามด้วยแบ่งกลุ่ม ให้เล่าประสบการณ์การบอก และรับข่าวร้าย


ท้ายสุด เป็นการสรุปและ เพิ่มเติม

ช่วงที่ 1 พี่นุช และ อาจารย์ หมอ พัชราพร เริ่มต้นด้วยให้คุณหมอใหม่มาช่วยกันคิด ลองคิดถึงคนที่เราชื่นชม ระดับนานาชาติ ระดับชาติ และคนที่ใกล้ตัวเรา 


 และลองคิดแล้ว อธิบายถึงเหตุผลว่าทำไมเราชอบ  ชื่นชม ในตัวเขา  เขามีคุณสมบัติดี อย่างไร 


"คุณหมอชอบใครคะ ได้หมดเลย พี่นุช เคยทำในกลุ่มอื่น มีคนชอบ แม้กระทั่ง น้องเมีย อิ อิ " 

ถามว่า ต้องเล่าทุกคนเลยหรือ? ค่ะ แต่ใคร อยากเล่าก่อน หลังได้หมด

คุณหมอทุกท่านก็ ค่อยเล่า ค่อยแลกเปลี่ยนกัน

ผู้ที่ถูกเลือก เป็นตัวอย่าง หลากหลาย ระดับนานาชาติ ระดับ ประเทศ มีทั้ง พระเจ้าอยู่หัวของเรา นักวิทยาศาสตร์ ประธานาธิบดี  นายก ประเทศต่าง ๆ

ดาราก็มีค่ะ(เกาหลี ซะด้วย)

ที่อยู่ รอบตัวเราส่วนมากเป็น พ่อแม่ มีอาจารย์ แพทย์ หลายคนที่ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็น ตัวอย่างที่ดี

ได้แก่ อาจารย์ ปรีชา อ ไพโรจน์ และ อ สุวิมล

 พี่นุช ยืน พิมพ์ ประเด็น คุณสมบัติที่คุณหมอทั้งหลายบอก ลงใน คอมโชว์ ให้ดู

 อันไหนมีการกล่าวถึงซ้ำ เธอก็ พิมพ์เป็นตัวอักษรแดง

เธอบอกว่า "ลักษณะที่ดี ที่เราชื่นชอบนั้นจะมีอยู่ในตัวเราแล้ว "  คุณหมอทั้งหลายฟังแล้วงง ใช่เหรอ ????

พี่นุชยืนยันว่า "จริงค่ะ เพราะสิ่งที่เราชอบ ชื่นชม เราจะทำในสิ่งนั้นๆ  เราเก็บสะสม และค่อยสร้างขึ้นในตัวเราค่ะ"

ช่วงที่สอง อาจารย์ พัชให้ คุณหมอแบ่งเป็น 3 กลุ่มเล็ก กลุ่มละ 4 คน ให้เวลา 15 นาทีในแต่ละกลุ่มผลัดกันเล่าว่า


 "เคยมีประสบการณ์ได้รับข่าวร้าย หรือเคยบอกข่าวร้าย อย่างไรบ้าง"

 ให้เล่าทีละคน ขณะเพื่อนเล่า เราจะฟังอย่างตั้งใจ จนครบวง

แต่ละกลุ่ม มีอาจารย์หนึ่งท่านนั่งฟังด้วย และช่วยจัดให้ได้เล่ากันอย่างทั่วถึง 

มีเรื่องน่าสนใจจากทุกคน ทั้งที่เคยบอกข่าวร้าย และทั้งที่ได้รับข่าวร้าย

จบกลุ่มเล็ก เรามานั่งรวมในห้องอีกครั้ง คัดเอาเรื่อง 1 เรื่องจากทุกกลุ่ม มาเล่ารวมหน้าห้อง อาจารย์ จับประเด็นให้ และอธิบายเพิ่มเติม ใช้ ประสบการณ์ และทฤษฎี ประกอบ

เรื่องผู้ป่วยที่เจ็บครรภ์และตกมอร์ เตอรไซลค์ แม่อาการหนัก ขณะที่แม่จะเสียชีวิต ทารกในครรภ์ ก็อาการแย่ไปด้วย คุณพ่อ ต้องรับข่าวร้ายมากที่สุด สองข่าวพร้อมๆกัน และต้องร่วมตัดสินใจในเวลาจำกัดด้วย

ได้ เรียนรู้ จากเรื่องจริง การให้ข่าวร้ายทีละน้อย ให้สม่ำเสมอ ด้วยความเห็นอกเห็นใจ

ทำให้ไม่เกิดความขัดแย้ง หงุดหงิดของญาติ

เพราะเมื่อมีการสื่อสารที่ดี ความไว้วางใจและเป็นมิตรเกิดขึ้น


อ พัชบอกว่า "เจอครั้งแรก แปลกหน้า แต่สักครู่ก็ เจอกันอีก

เจอกันบ่อยๆ

ทุก 3 ถึง 5 นาทีแต่เจอเรื่อยๆ ความแปลกหน้าก็จะค่อยหายไป ทั้งสองฝ่ายกลายเป็น รู้จัก คุ้นเคย"

สำคัญที่ต้องให้แต่ข่าวจริงเสมอ และให้ปริมาณข้อมูลให้เหมาะสม ตามที่ผู้ฟังข่าวจะรับได้

เราได้ฟัง  เรื่องการได้ข่าวจาก คนที่รักเรามาก แต่มีปัญหาในการสื่อสารทำให้ เกิดความไม่เข้าใจ และน้อยใจ บางทีถึง โมโห โกรธ ได้มากมาย

สรุปว่า

 ส่วนมาก เรา ต้องการทราบความจริง แม้จะเป็นข่าวร้ายที่สุด

ต้องการทราบตั้งแต่ต้น

เวลาให้ข้อมูลควร บอกเป็นตอนๆ สั้นๆ

คนที่ให้ข่าวน่าจะเป็นคนที่จะช่วยให้ผู้ป่วยและญาติผ่านเหตุการณ์ร้ายนี้ ไปได้ ดีที่สุด

 สรุป AAR หลังการประชุม วันครึ่ง

สิ่งที่เกินความคาดหวัง, ที่ดีอยู่แล้ว

-          ชอบชั่วโมง การบอกข่าวร้าย อยากให้มีต่อ

-          เอกสารประกอบการบรรยาย ชัดเจน เป็นประโยชน์

-          ความรู้ตรงกับงานที่ทำอยู่

-          ความรู้เรื่องยา, doseยา, ตัวอย่าง case ดีแล้ว

-                     แพทย์พี่เลี้ยงถึงแม้จะอยู่แยกแผนกที่รพ ชร ก็ยังเป็น GP การมาฟังได้ประโยชน์ได้ใช้ความรู้ โดยเฉพาะเวลาอยู่เวรใน ER

-                     วิชาการเหมาะสมดีแล้ว

 

 สิ่งที่อยากให้ทำต่อ สิ่งที่จะทำต่อไป

-          จัดอบรมหลังทำงานแล้วประมาณ 1 เดือนแบบนี้ ดีกว่าจัดทันทีขณะจบ intern เพราะได้ทำงานแล้ว จะเข้าใจงานที่ต้องทำต่อที่รพชดีกว่า

-          อยากให้ลงรายละเอียด ARV ในเด็กมากขึ้น

-                     ถ้าจัดปลายหรือต้นสัปดาห์ เช่น จัดพฤหัสบดี ศุกร์ หรือ จันทร์ อังคารได้จะดีมาก

-          อยากได้ปัญหา และการแก้ไข เช่น แพ้ยาทำอย่างไร

-          อยากได้ guideline ของ โรงพยาบาลเชียงราย ARV ในเด็กมาตรฐาน(อ รวิวรรณ จะจัดส่งเล่มที่กำลังจะจัดทำใหม่ในปีนี้ให้แพทย์ รพช ต่อไป)

-          อยากให้ลงรายละเอียด ARV และ การRefer ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่

 

 

หมายเลขบันทึก: 185648เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2008 06:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

-สวัสดีค่ะ คุณหมอรวิวรรณ

-ครูต้อยชอบวิธีการแบบนี้นะคะ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ นอกจากทำให้รู้จักคุณเคยกันมากขึ้นแล้ว ยังทำให้เหมือนมีแนวคิดใหม่ขึ้นมา ประทับใจประโยคนี้นะคะ

" เจอกันบ่อยๆ ทุก 3 ถึง 5 นาทีแต่เจอเรื่อยๆ ความแปลกหน้าก็จะค่อยหายไป ทั้งสองฝ่ายกลายเป็น รู้จัก คุ้นเคย

สำคัญที่ต้องให้แต่ข่าวจริงเสมอ และให้ปริมาณข้อมูลให้เหมาะสม ตามที่ผู้ฟังข่าวจะรับได้"

-เจอกันแบบนี้ ทำให้ญาติผูป่วยและผู้ป่วยเองได้รับรู้ความก้าวหน้าของการรักษา และหากเป็นไปในทางลบ ญาตินอกจากรับรูยังทำไจไปเลยๆ จนรับได้ ส่วนผู้ป่วยเป็นหน้าที่ของคุณหมอแล้ว ว่าจะทำอย่างไรให้อยู่หรือไปแบบมีความสุข เอ๊ ความเห็นของครูต้อยเอาเปรียบคุณหมอมากไปไหมคะ

ไม่เลยค่ะ ครูต้อยที่รัก

ไม่มีการเอาเปรียบกัน เลย มีแต่ช่วยกัน สร้างมิตรภาพ มาเป็นเพื่อนกัน

ยืนให้ อยู่ข้างเดียวกัน ต่อสู้ความทุกข์ ความเจ็บป่วย อย่าให้ มาทะเลาะกัน

เพราะยิ่งทำให้มีเวลา จิดใจ และพลังงานไปดูแลกัน น้อยลง

เพราะเราเกิดมาเป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น จริงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท