การใช้สมุนไพรพื้นบ้านเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ( 1 )


พืชสมุนไพรพื้นบ้านหลายชนิดที่สามารถนำเอาส่วนต่างๆเช่นต้น ราก ใบ ดอก ผล มาสกัดเพื่อให้สารออกฤทธิ์ที่มีผลในการทำลายศัตรูพืชได้และเกิดผลดี รวมไม่ก่อให้เกิดสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม

การใช้สมุนไพรพื้นบ้านเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชตอนที่1

 

 

ในปัจจุบันนี้ เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า พืชสมุนไพรพื้นบ้านหลายชนิด ที่สามารถนำเอาส่วนต่างๆ เช่น ต้น ราก ใบ ดอก ผล มาสกัด เพื่อให้สารออกฤทธิ์ที่มีผลในการทำลายศัตรูพืชได้และเกิดผลดี  รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม

 

 

               พืชสมุนไพร  บางชนิดจะมีสารพวกอัลคาลอยด์  เทอร์ปินอยด์  ฟีนอลิค  ฯลฯ ซึ่งจะมีคุณสมบัติในการออกฤทธิ์  จะเป็นสารยับยั้งการกินอาหาร   ยับยั้งการวางไข่   ฮอร์โมนขัดขวางการเจริญเติบโต ทำให้แมลงเป็นหมัน   ตลอดจนเป็นพิษโดยตรง

 

 

 

              จากการศึกษาพบว่า สารธรรมชาติจากสะเดา  จัดว่าปลอดภัยมาก เนื่องจากผลการทดสอบความเป็นพิษ ของสะเดานั้น ไม่เป็นพิษต่อสัตว์เลือดอุ่น และไม่ทำลายศัตรูธรรมชาติด้วย นอกจากนี้ยังมีพืชอีกหลายชนิดที่มีแนวโน้มที่จะนำมาใช้ เป็นสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ได้เช่น พริกไทย  กะเพรา ยาสูบ  น้อยหน่า  กานพูล หนอนตายหยาก รักดอก  ยี่โถ เป็นต้น

 

 

 

               การสะสมของสารออกฤทธิ์ ในแต่ละพืช  นักส่งเสริมการเกษตร ที่ลงไปปฏิบัติงานกับกลุ่มอาชีพทางการเกษตร   ปราชญ์ชาวบ้าน และวิทยากรเกษตรกร  จะต้องทราบและมีความเข้าใจ เกี่ยวกับสารออกฤทธิ์ที่สะสมในพืชแต่ละชนิด ว่า สารออกฤทธิ์ต่อศัตรูพืชที่มีอยู่ในพืชต่างๆนั้น เป็นสารปรกอบเชิงซ้อน  ซึ่งเกิดจากขบวนการทางชีวเคมีในพืช  และไปสะสมในส่วนของพืชแตกต่างกัน เช่น  พวกน้ำมันหอมระเหย  มักจะพบในส่วนของใบ  ดอก  ลำต้น   สารธรรมชาติบางชนิดจะสะสมในส่วนของใบ เช่น ยาสูบ   บางชนิดสะสมในดอก เช่น  ยี่โถ  รักดอก  บางชนิดสะสมในผล เช่น  พริกไทย   ดีปลี  บางชนิดสะสมในเมล็ด เช่น สะเดา  น้อยหน่า  บางชนิดสะสมในราก เช่นหางไหล หนอนตายหยาก  และบางชนิดสะสมในส่วนของลำต้น เช่น ขมิ้นชัน ว่านน้ำ  เป็นต้น

                จากการที่ผมได้ลงไปในชุมชนบางชุมชน จะมีกลุ่มอาชีพทางการเกษตร ได้มีการนำเอาพืชสมุนไพรพื้นบ้านมาสกัดเพื่อผลิตเป็นสารสกัดสมุนไพรชีวภาพ เพื่อป้องและขับไล่แมลง ซึ่งมีวิธีการที่หลากหลายและแตกต่างกัน  โดยอยู่ระหว่างการเก็บรวบรวมเพื่อเป็นองค์ความรู้ของชุมชน ของท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร บางกลุ่มมีผลของการทดลองใช้แล้วว่าได้ผลดี บางกลุ่มก็อยู่ระหว่างการศึกษาทดลอง   แต่เท่าที่ทราบกลุ่มอาชีพทางการเกษตร ที่ได้ทำการผลิตสารสกัดจากสมุนไพรชีวภาพ ได้ยืนยัน ที่ตรงกันว่า เป็นการลดต้นทุนในการผลิตลงได้มาก และยังรักษาสภาพแวดล้อมให้ดีอีกด้วย และสำคัญที่สุดก็คือมีความปลอดภัยต่อสุขภาพของเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคก็เริ่มมีความมั่นใจว่าเกิดแหล่งผลิตอาหารที่มีความปลอดภัยอยู่ในชุมชน  แต่ก็ยังจะต้องช่วยกันรณรงค์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้จำหน่าย ได้เกิดความตระหนักถึงความปลอดภัยทางอาหารต่อไปนะครับ    (โปรดติดตามอ่านตอน2)

หมายเลขบันทึก: 171115เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2008 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 10:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • เป็นเรื่องที่น่าสนใจและมีประโยชน์ กับทุกคนทุกฝ่าย
  • ต้องช่วยกันรณรงค์ ครับ กระตุ้นให้เขาทำใช้อย่างต่อเนื่อง
  • ขอบคุณมากที่นำมา ลปรร

มาคารวะครับ  มาขออนุญาตนำไปรวมครับ ขอบคุณมากครับ

                                           รวมตะกอน

  • ขอบคุณพี่ไมตรี
  • ที่ได้มาแวะเยี่ยมเยียนกัน
  • ขอบคุณ สิทธิรักษ์
  • ที่ได้มาแวะเยี่ยมและทักทายกัน
  • ยินดีครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท