การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังโดยใช้มูลสุกรหมักของลุงสมนึก ศรีสงคราม


ไปเยี่ยมเยียนปราชญ์ชาวบ้านชื่อคุณลุงสมนึก ศรีสงคราม อยู่บ้านเลขที่81/1 หมู่9 บ้านวังเพชร ตำบลเพชรชมภูอำเภอโกสัมพีนคร

เพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังโดยใช้มูลสุกรหมักที่บ้านวังเพชร

 

เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 ผมและอ.สิงห์ป่าสัก มีโอกาสได้ไปเยี่ยมเยียน ปราชญ์ชาวบ้านชื่อ คุณลุงสมนึก ศรีสงคราม อยู่บ้านเลขที่ 81/1 หมู่ที่ 9 บ้านวังเพชร ตำบลเพชรชมพู อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร

  

             คุณลุงสมนึก ศรีสงคราม ได้เล่าให้ฟังว่า ตนเองและครอบครัว ประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยมีที่ดินทำกินอยู่ จำนวน 20 ไร่ แบ่งพื้นที่ปลูกไม้ผล และพืชไร่  ขุดสระเก็บน้ำและเลี้ยงปลาไปด้วย    แต่ได้ยึดหลักตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาโดยตลอด  จากสถานการณ์ปัจจุบันนี้ พื้นที่การเกษตรในชุมชนบ้านวังเพชรนี้ มีเกษตรกรเพื่อนบ้านได้ปรับเปลี่ยนจากพืชเดิมเช่นอ้อย ไปเป็นการปลูกมันสำปะหลังและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งตนเองก็ได้ทดลองแบ่งพื้นที่ของตนเอง จำนวน 2 ไร่ เพื่อทำการทดลองปลูกมันสำปะหลัง แต่ได้นำพันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ดี ได้แก่ พันธุ์ระยอง5  ระยอง 9  และระยอง11 มาจากเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านที่ชื่อคุณสุรินทร์ พิชัย ตำบลวังไทร อำเภอคลองขลุง มาทดลองปลูก  ซึ่งเคยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกันมา

  

                เนื่องจากมีพื้นที่จำกัด จึงสนใจที่จะเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง โดยวิธีการให้น้ำแบบระบบน้ำหยด เท่าที่ทราบมาและจากการที่ได้ไปศึกษาดูงานในแปลงปลูกของคุณสุรินทร์ พิชัย เคยได้ไม่ต่ำกว่า 10 ตันต่อไร่  ก็ได้มาปฏิบัติจริงในแปลงทดลองของตนเอง โดยเริ่มตั้งแต่ คัดพันธุ์ดี การตัดท่อนพันธุ์ด้วยมีดที่คม ทำการตัดตรง ความยาวของท่อนพันธุ์ 25-30 ซม.   โดยนำท่อนพันธุ์ไปจุ่มในน้ำหมักมูลสุกร เพื่อกระตุ้นในการเร่งการออกรากเร็ว  นำท่อนพันธุ์ไปปลูกลงในแปลงปลูกที่มีการยกร่องไว้แล้วโดยการปักตรงลงดินลึกประมาณ 4-5 นิ้ว  ระยะห่างระหว่างแถว 100 ซม. ระยะห่างระหว่างต้น 80 ซม. ใน 1 ไร่จะปลูกได้ประมาณ 1,600  ท่อน

  

                คุณลุงสมนึก ศรีสงคราม ยังได้เล่าต่อไปอีกว่า ตนเองได้ทดลองนำมูลสุกรที่เลี้ยงไว้ ไปหมักน้ำ โดยใช้มูลสุกรสดจำนวน 15 กก.ผสมกับน้ำสะอาด จำนวน 200 ลิตร โดยทำการหมักไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง แล้วนำไปกรองในบ่อกรอง จากนั้นก็ปล่อยน้ำที่กรองแล้วผ่านไปยังท่อระบบน้ำหยด ซึ่งต่อไปยังแถวต้นมันสำปะหลัง จากการสังเกตพบว่า ต้นมันสำปะหลังที่ได้รับน้ำหมักมูลสุกรนี้ เจริญเติบโตเร็วมาก     จึงจำเป็นที่ต้อง ติดตาม การสังเกต และบันทึกข้อมูลไว้โดยตลอด ขณะนี้มันฯที่ปลูก มีอายุ ประมาณ 3 เดือนเศษ แต่ก็จะต้องคอยดูผลผลิตหัวมันฯสดในช่วงระยะเวลาที่เก็บเกี่ยวหัวมันฯสดต่อไป  ซึ่งขณะนี้มีเพื่อนบ้านได้ให้ความสนใจ มาสอบถามอยู่อย่างต่อเนื่อง

         จากการที่ผมและอ.สิงห์ป่าสัก ได้พูดคุยกับคุณลุงสมนึก  นับได้ว่าคุณลุงได้นำหลักการของการวิจัยเชิงทดลอง โดยนักวิจัยชาวบ้าน คือมีการสังเกต มีการจดบันทึกข้อมูล ประจำแปลงไว้  จึงจำเป็นต้องไปเยี่ยยมเยียนคุณลุง อย่างต่อเนื่องเพื่อให้กำลังใจในการประกอบอาชีพด้านการเกษตรต่อไป   แต่คุณลุงก็พยายามที่จะใช้กิจกรรมการเกษตรของตนเองเป็นจุดเรียนรู้ระหว่างเกษตรกรด้วยกันเองในชุมชนอีกทางหนึ่งด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 192188เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2008 19:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีเจ้าค่ะ ลุงเขียวจ๋า

น้องจิแวะมาเยี่ยมเจ้าค่ะ สบายดีไหมเจ้าค่ะ ฝากความคิดถึง ถึงลุงสิงห์ด้วยนะเจ้าค่ะ คิคิ รักษาสุขภาพด้วยเจ้าค่ะ

เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ ---->น้องจิ ^_^

ขยันจริงๆ

ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูลดีๆ

<img src = http://www.bloggang.com/data/amornsri/picture/1214798470.gif>

สวัสดีพี่เขียว

  • หายไปนาน....มาที่ไรเอาความรู้ดีดีมาแบ่งปัน
  • สบายดี  นะครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • ขอบคุณน้องจิ
  • ที่มาแวะทักทายกัน
  • ขอบคุณท่านอ.ประจักษ์
  • ที่มาแวะเยี่ยมทักทายกัน
  • ขอให้อ.มีความสุขกับการทำงานนะครับ
  • ขอบคุณป้าตุ้ย
  • ที่มาแวะทักทายกัน
  • ยินดีครับ
  • ขอบคุณพี่ไมตรี
  • ที่มาแวะเยี่ยมกันเป็นประจำ
  • ผมไม่ได้บันทึกนานพอสมควร
  • แต่ตอนนี้ กลับมาแล้วครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท