บทเรียนหนึ่งจากประสบการณ์ของครูชิตแห่งบ้านโฮ่งลำพูน


ประสบการณ์ของครูชิตเกี่ยวกับการผลิตทางการเกษตรในยุคปัจจุบัน

บทเรียนหนึ่งจากประสบการณ์ของครูชิต แห่งชุมชนบ้านเหล่ามะเหยือง หมู่ที่ 5 ตำบลเหล่ายาว อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน 

 

         จากประสบการณ์หนึ่งของครูชิต ความจริงแล้วคำว่าครูชิต เป็นคำเรียกของลูกศิษย์และชาวบ้านที่อยู่ในชุมชนบ้านเหล่ามะเหยือง  หมู่ 5  ตำบลเหล่ายาว อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน และชุมชนที่ครูชิตเคยสอนหนังสืออยู่  ในชุมชนต่างๆที่เคารพนับถือครูชิต  ก่อนอื่นผมได้ขออนุญาตนำเอาประวัติและองค์ความรู้ ที่มาจากประสบการณ์ขอครูชิตเกี่ยวกับการผลิตทางการเกษตรในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้านอย่างรวดเร็ว  มาเล่าสู่เครือข่าย G2K  ครับ

 

 ประวัติของครูชิต

 

          ครูชิต ชื่อจริงของท่านคืออาจารย์วิชิต จอมทัน ตำแหน่งของท่านเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอยแดน ตำบลเหล่ายาว อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ท่านเป็นผู้บริหารสถานศึกษาที่มีความมุ่งมั่น ควบคู่กับการพัฒนาสังคม โดยเฉพาะท่านเป็นนักพัฒนาชุมชนและนักพัฒนาการเกษตร  เท่าที่ผมได้มีโอกาสพูดคุยและอยู่ใกล้ท่าน ทำให้มีความสุขมีพลังใจที่จะต้องพัฒนาตนเองและพัฒนางาน รวมทั้งการพัฒนาองค์กร  แม้กระทั่งการพัฒนาด้านการเกษตรได้แก่ การทำสวนลำไย มะม่วง และการเลี้ยงผึ้งเป็นต้น นับว่าล้วนเป็นประสบการณ์ที่อาจารย์วิชิตได้ทำมาแล้วทั้งสิ้น รวมทั้งการปฏิบัติธรรมและการทำบุญ ซึ่งท่านเคยบวชเป็นพระจำพรรษามาแล้ว ขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษามาแล้วเช่นกัน  สมกับท่านใช้หลักครองตน ครองคน ครองงาน นั่นเองครับ

 

  

             อาจารย์วิชิต ได้ทำสวนลำไย สวนมะม่วงและเลี้ยงผึ้ง รวมประมาณ 40 ไร่เศษ ตั้งอยู่ที่บ้านเหล่ายาว ตำบลเหล่ายาว อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ซึ่งได้ตั้งชื่อสวนว่า สวนคูชิต นั่นเอง  โดยผลไม้ที่ปลูกมาหลายปีก็ออกดอกออกผลมาโดยตลอด หลักคิดในการคาดคะเนสถานการณ์การตลาดที่อาจารย์วิชิตได้ใช้เป็นข้อมูลประกอบในการตัดสินใจ ซึ่งจะประสบผลสำเร็จติดต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง  และอาจารย์ได้เล่าให้ฟังว่า

 

           ขั้นที่ 1. ก่อนที่เราจะลงทุนในการผลิตผลไม้ โดยเฉพาะลำไย เพราะเป็นพืชรายได้หลักของฟาร์ม (สวนคูชิต )โดยตนเองได้ไปสอบถามข้อมูลของผู้จำหน่ายปัจจัยการผลิตในท้องถิ่นและท้องถิ่นใกล้เคียง โดยเฉพาะสารที่ใช้ในการผลิตลำไยให้ออกนอกฤดูกาล ว่ามีเกษตรกรชาวสวนลำไยมาซื้อในช่วงไหน เดือนไหน ในปริมาณมากที่สุดหรือไม่อย่างไร หากช่วงไหนที่มีการจำหน่ายสารเร่งการผลิตมาก ตนเองก็จะยังไม่ตัดสินใจผลิตต้องชะลอการผลิตออกไปก่อน  หากช่วงไหนเกษตรกรไปซื้อสารเร่งฯในปริมาณน้อย ตนเองก็จะตัดสินใจผลิตทันที เพราะว่าอาศัยช่วงจังหวะที่เหมาะสม

 

 

        ขั้นที่ 2. สังเกตการผลิตน้ำผึ้งของเกษตรกรชาวสวนลำไย หากปีไหนเกษตรกรผลิตน้ำผึ้งได้ในปริมาณมาก ก็ตัดสินใจได้ว่าในปีนั้นลำไยติดดอกออกผลมาก ก็จะส่งผลให้ผลผลิตลำไยในปีนั้นมีปริมาณที่มาก จึงส่งผลให้ราคาลำไยตกต่ำ เราก็ไม่ควรจะผลิตลำไยออกในช่วงระยะนี้

 

 

       ขั้นที่ 3. การเตรียมความพร้อมของต้นลำไย ที่เราจะทำการผลิตให้ออกผลนอกฤดูกาลจะต้องมีความสมบูรณ์เต็มที่ พร้อมที่จะทำการใช้สารเร่งผลผลิตออกนอกฤดูกาล แต่จะต้องมีการสลับต้นในรอบ 1 ปี ลำไยจะออกผลผลิตสองช่วง ทั้งนี้จะต้องดูแลอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ผลผลิตอย่างเต็มที่และมีคุณภาพตามหลัก GAP พร้อมกับการค้ำยันกิ่งโดยใช้ไม้ไผ่ในการค้ำยัน

         ขั้น 4. การเก็บผลผลิตลำไยในปี2551นี้ ได้เก็บผลผิตลำไยที่สุกแล้ว คาดว่าจะได้ไม่ต่ำกว่า 20,000  กก. ราคาที่ขายได้ เฉลี่ยกก.ละ 24-25 บาท และนอกจากจะเก็บรุ่นที่ 1 ไปแล้ว สำหรับรุ่นที่ 2. กำลังอยู่ในระยะเริ่มติดผล คาดว่าจะเก็บผลผลิตได้ ประมาณเดือน มีนาคม 2552 จากประสบการณ์ ของอาจารย์วิชิต ยังคาดการณ์ได้ว่า ราคาผลผลิตลำไยจะไม่ต่ำกว่าที่ขายได้ในรุ่นที่ 1

                                                                                  การใช้ไม้ไผ่ค้ำยัน

  

     ขั้นที่ 5. การเก็บผลผลิตลำไย ในปัจจุบันนี้ จะมีผู้รับซื้อผลผลิตลำไย มาติดต่อขอซื้อลำไย พร้อมมีการตกลงราคาซื้อขายกันที่สวน เมื่อตกลงราคากันแล้ว การจัดเก็บ การคัดเกรด การบรรจุตะกร้าพลาสติก  ซึ่งจุได้น้ำหนักจำนวน 12 กก.เท่ากันทุกตะกร้า สำหรับคนงานรวมทั้งแรงงานขึ้นเก็บลำไยจากต้น การคัดเกรด การบรรจุลงตะกร้า จะเป็นความรับผิดชอบของผู้มารับซื้อ โดยเจ้าของสวนไม่ต้องรับผิดชอบค่าจ้างแรงงานใดๆ มีเพรียงช่วงเย็นหลังจากเลิกงานของการเก็บลำไยเจ้าของสวนก็จะมาเช็คหรือทำการตรวจสอบว่ามีวันนี้เก็บผลผลิตได้จำนวนเท่าไรได้กี่ตะกร้าและเป็นเงินจำนวนเท่าใด

 

 

     ขั้นที่ 6. ลองมาดูว่า เขาเก็บผลผลิตลำไยกันอย่างไร ตั้งแต่เก็บ จนถึงการบรรจุลงตะกร้าเพื่อการจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ

             สรุปการถอดบทเรียน จากประสบการณ์ของอาจารย์วิชิต จะเห็นได้ว่า จากการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตทางเกษตรกรรมเดิมของชุมชนในตำบลเหล่ายาว เมื่อ 20 ปีก่อนระบบการผลิตหลักจะเป็นการทำนาข้าว ปลูกหอมแดง กระเทียม และพืชผัก ณ.ปัจจุบันนี้ จะหาดูระบบการผลิตดังกล่าวแทบจะไม่มีให้เห็นเลย  โดยระบบการการผลิตในชุมชน ได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นการปลูกลำไย มะม่วง และการเลี้ยงผึ้ง หากเกษตรกรชาวสวนต้องการจะยกระดับการผลิต มาเป็นการผลิตตามหลัก GAP ก็จะต้องมีความเข้าใจในกระบวนการผลิต การวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับการตลาด รวมทั้งการใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ มีการสังเกต และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประสบการณ์ควบคู่กันไป ถึงจะประสบผลสำเร็จอย่างสวนครูชิตที่บ้านเหล่ายาว ตำบลเหล่ายาว อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูนนั่นเองครับ  อาจารย์ยังได้สรุปฝากไว้ตอนท้ายว่า ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันแหล่งการผลิตเกษตรกรรมในชุมชนนี้จะเป็นการผลิตเพื่อการแข่งขัน เพราะฉะนั้นเกษตรกรชาวสวนจะต้องทำการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประสบการณ์มาประกอบการวางแผนฟาร์มและการตัดสินใจ  หากเกษตรกรรายใดขาดข้อมูล หรือมีข้อมูลไม่พอ จะอาศัยเพียงผลิตตามเพื่อนเกษตรกรด้วยกัน บางรายก็ประสบกับการขาดทุนเป็นหนี้เป็นสินมากมายก็มีเช่นกัน  แต่ก็จะมีเกษตรกรส่วนหนึ่งได้มาปรึกษาหารือตนในยามว่างก็มีเช่นกัน ก็ได้ให้ทั้งแนวคิดและวิธีการผลิตจะทำอย่างไรผลผลิตจึงจะได้คุณภาพและสอดคล้องกับการตลาดเช่นกันทั้งนี้อาจารย์ยังปลูกสร้างเรือนไทยโบราณหลังเล็กๆไว้พักผ่อนในสวนยามเหงาและรับแขกผู้มาเยือนสวนคูชิตอีกด้วยครับ....................

แหล่งข้อมูล ; อาจารย์วิชิต จอมทัน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอยแดน ต.เหล่ายาว อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

 

 

หมายเลขบันทึก: 221435เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2008 19:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

-มาทีเดียวได้ความรู้คุ้ม

-ครูชิต/อาจารย์วิชิต จอมทัน ตำแหน่งของท่านเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอยแดน คนดีค่ะ

-สอนให้ปลูกลำใยด้วย

-แต่อย่าใส่สารเคมีนะ ครูต้อยกลัว  อิอิ

-ขอบคุณค่ะ

*-* แวะมาเยี่ยม

*-* พรุ่งนี้วันลอยกระทงขอให้พี่มีสุขภาพแข็งแรงค่ะ

พอจะมีเบอร์ติดต่ออาจาย์มั๊ยค่ะ อยากเข้าไปเรียนรู้ด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท